Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15514
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนแบบทางไกล |
Other Titles: | The development of a non-formal education activity organization model to develop distance non-formal education students' self-empowerment |
Authors: | พุดกรอง พิพัฒรัตนะ |
Advisors: | เกียรติวรรณ อมาตยกุล วรรัตน์ อภินันท์กูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Subjects: | กิจกรรมการเรียนการสอน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาทางไกล ความสำเร็จ สัจจการแห่งตน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนแบบทางไกล (2) เปรียบเทียบผลการพัฒนาศักยภาพตนเองในด้านความรู้ทักษะ และเจตคติของกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเอง กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม (3) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขในการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเองไปใช้ ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมและคู่มือ การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนแบบทางไกล โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนแบบทางไกล จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเอง ของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนแบบทางไกล และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ดำเนินกิจกรรม ตามการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง กลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวนี้ใน 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 การเข้าร่วม โปรแกรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเวลา 40 ชั่วโมง ส่วนที่ 2 เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเรียนจากคู่มือเป็นเวลา 10 ชั่วโมง และส่วนที่ 3 เป็นการติดตามผลหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมและเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเวลา 1 เดือน ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. กระบวนการของรูปแบบ ได้แก่ (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษา (2) การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (4) การประเมินผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า กลุ่มทดลองมีการพัฒนาศักยภาพตนเองหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขในการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเองไปใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ค่านิยม ครอบครัว ภาระหน้าที่และเวลา (2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ องค์กรส่งเสริม และนโยบายและแผนการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเองไปใช ้ได้แก่ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ความสามารถของผู้จัดกิจกรรม ความสอดคล้องของรูปแบบกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างแรงจูงใจและทีมผู้ช่วยจัดกิจกรรม. |
Other Abstract: | To (1) the development of a non-formal education activity organization model to develop distance non-formal education students’ self-empowerment, (2) compare the result of self-empowerment in knowledge, skill, and attitude between the experimental group and the control group, (3) study conditioning factors of activity organization model to develop distance non-formal education students’ self-empowerment to use. The program and handbook of a non-formal education activity organization model to develop distance non-formal education students’ self-empowerment and were used with 40 students from Distance Non-Formal Education as a sample group. The subjects were divided into 2 groups. Both groups were then divided into the experimental group and the control group with 20 people in each. The experimental group had been participated in this activity which consisted of 3 parts; part 1 : workshop program for 40 hours, part 2 : do activities by self-study in handbook for 10 hours, and part 3 : take follow all results of activities for 1 month. The research results were as follow : 1. process of model such as (1) choose educational Objectives (2) select learning experience (3) organize learning experience (4) evaluate learning outcomes 2. Summary of model for experimental group was that the posttest learning about developing self-empowerment of the experimental group was higher than that of the control group significantly at the .05 level 3. Conditioning factors of activity organization model to develop distance non-formal education students’ self-empowerment to use. In this research factors compose of (1) internal factor were popularity, family, duty, and the time (2) external factor were environment, economy, the organization encourages, and the policies of the conspiracy develop way education quality. And then, the condition part in non-formal education activity model to use were building atmosphere for learning, the ability of head activity team, the accordance of the model with the target group, building motivation, and assistant activity team. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15514 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.900 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.900 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phudkrong_Ph.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.