Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15672
Title: การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การประเมินตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Other Titles: Development of electronic portfolio model using self-assessment to enhance student teacher's critical thinking
Authors: ประกอบ กรณีกิจ
Advisors: วิชุดา รัตนเพียร
อารี พันธ์มณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แฟ้มผลงานทางการศึกษา
ครู -- การฝึกอบรมในงาน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศึกษาผล และนำเสนอรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้การประเมินตนเอง เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ 2) การศึกษาผลของการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ 3) การนำเสนอรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคือ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ Cornell Critical Thinking Test Level Z กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าที, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) จุดมุ่งหมายของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 2) เนื้อหาของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 3) การพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 4) การประเมินตนเอง 5) ระบบการจัดการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 6) การประเมินผลแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 2. ขั้นตอนการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมเครื่องมือและเตรียมผู้เกี่ยวข้อง 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 3) การเก็บรวบรวมผลงานหรือหลักฐานในแฟ้มสะสมงานชั่วคราว และการสะท้อนความคิดในด้านการจัดการเรียนรู้ 4) การประเมินตนเอง 5) การคัดเลือกผลงานหรือหลักฐานเพื่อจัดทำแฟ้มสะสมงานดีเด่น 6) การนำเสนอแฟ้มสะสมงานดีเด่น 7) การประเมินแฟ้มสะสมงานดีเด่น 3. นิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ากระบวนการจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Other Abstract: The purposes of this research were to develop, try out, and propose electronic portfolio with self-assessment for enhancing the critical thinking of student teachers. The research methods comprised of three steps: Step 1: develop electronic portfolio model; Step 2: try out electronic portfolio model; Step 3: propose electronic portfolio model. The instruments used to assess student teachers critical thinking was Cornell Critical Thinking Test Level Z. The samples in this study consisted of eighteen student teachers. These samples had basic computer and internet skills. Data were analyzed using mean, standard deviation and t-test dependent. The research results indicated that: 1. The six components of electronic portfolio model were : 1) electronic portfolio goal; 2) electronic portfolio content; 3) electronic portfolio development; 4) self-assessment; 5) electronic portfolio management system; 6) electronic portfolio assessment. 2. The seven steps of electronic portfolio model were : 1) prepare tools and related individuals; 2) identify electronic portfolio goals and content; 3) collect works or evidences in working portfolio and self-reflection on instruction; 4) self-assessment; 5) select works or evidences for final portfolio; 6) present final portfolio; 7) assess final portfolio. 3. There were significant differences between student teachers’ pretest and posttest in critical thinking score at the .05 level. The samples perceived that the electronic portfolio development process was appropriate in high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15672
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1339
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1339
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prakob_Ko.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.