Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15748
Title: | การวิเคราะห์สถานการณ์ความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา : ความเข้าใจ เจตคติของเภสัชกรโรงพยาบาล |
Other Titles: | Situation analysis of medication reconciliation : hospital pharmacists' understanding, attitude |
Authors: | อังคณา คำวงศ์ |
Advisors: | พรรณทิพา ศักดิ์ทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความคลาดเคลื่อนทางยา -- การป้องกัน เภสัชกรรมของโรงพยาบาล |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความคลาดเคลื่อนทางยาทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย 1.5 ล้านคนต่อปีหรือคิดเป็นความสูญเสีย 3.5 พันล้านบาทต่อปี 50% สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาที่สมบูรณ์ เภสัชกรเป็นบุคลากรโรงพยาบาลที่สำคัญเนื่องจากมีความรู้เรื่องยาดี ซึ่งหากเป็นผู้รับผิดชอบหลัก มีแนวโน้มที่จะทำให้การดำเนินงานสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยามีความสมบูรณ์ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาถึงสถานการณ์ความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาในปัจจุบัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาโดยการสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์ความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา โดยมุ่งศึกษาในประเด็นของความเข้าใจและเจตคติของเภสัชกรโรงพยาบาลเป็นหลัก รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งโดยทำการสำรวจความคิดเห็นเภสัชกรโรงพยาบาลทั่วประเทศ 1,376 โรงพยาบาล ได้รับการตอบกลับ 576 แห่งคิดเป็น 42.12% โดยใช้แบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ควบคู่กับการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกเภสัชกรโรงพยาบาล ที่มีการดำเนินงานความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาจำนวน 7 โรงพยาบาล ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2551 ถึง กุมภาพันธ์ 2552 ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การดำเนินงานความสอดคล้องต่อเนื่องทางยามีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 51.30±2.5% การมีส่วนร่วมของเภสัชกรโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 57.89±3.11% เมื่อสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกร เภสัชกรเห็นด้วยต่อการที่มีเภสัชกร (ที่รับผิดชอบงานเภสัชกรรมคลินิกในโรงพยาบาล) เข้าไปมีส่วนร่วม 80.99±2.02% เภสัชกรมีความรู้ความเข้าใจอยู่ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 75.75±2.04% มีความตั้งใจและเจตคติต่อการดำเนินงานความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาในระดับที่เห็นด้วยมาก แต่มีอุปสรรคในเรื่องของปัจจัยภายในเช่นการสนับสนุนของโรงพยาบาล และอัตรากำลังเป็นต้นซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพในเรื่องของความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อการทำงาน และข้อจำกัดในการทำงาน โดยสรุป การศึกษานี้แสดงถึงสถานการณ์ปัจจุบันการดำเนินงานความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา และมุ่งเน้นการสำรวจความคิดเห็นเภสัชกรโรงพยาบาล พบว่าเภสัชกรมีความเข้าใจเรื่องความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาอยู่ในระดับที่ดี มีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของตนเองในการทำงาน มีเจตคติที่ดีในการที่จะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องในโรงพยาบาล แต่อาจมีข้อจำกัดในการดำเนินงานหลายด้าน เช่น ในเรื่องของการสนับสนุนของโรงพยาบาลและอัตรากำลังเภสัชกร เป็นต้น |
Other Abstract: | Medication errors during hospitalization can lead to adverse drug events, harming at least 1.5 million people every year and extra medical costs about $3.5 billion a year. Accurately and completely reconcile medication could reduce medication errors and complete medication reconciliation can develop by hospital pharmacist. The purpose of this study was to survey and analyses situation of medication reconciliation in Thailand especially attitude and understanding of hospital pharmacist. This is a mixed quantitative and qualitative evaluation study. In the quantitative evaluation was cross-sectional survey by using mail questionnaires. The sample consisted of 1,376 hospitals. The response rate was 42.12% (567 Hospitals). In the qualitative evaluation were in-depth interview and observation. The sample consisted of 7 hospital pharmacists. Data were collected during November 2008- February 2009 This study found that situation medication reconciliation process score mean±SD= 51.30±2.5%, pharmacists’ participation score mean±SD= 57.89±3.11%. Attitude of hospital pharmacist, pharmacist should participate in medication reconciliation process. The relative importance barriers encountered during the implementation of the medication reconciliation program were, Lack of team work among disciplines, extra burden and workload. Hospital pharmacists have a good understanding in medication reconciliation. Believe in medication reconciliation can reduce medication error and good attitude on medication reconciliation. The success factors were teamwork among disciplines and support from hospital. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15748 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1152 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1152 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Angkhana_kh.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.