Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15834
Title: การใช้ออร์กาโนเคลย์ดูดซับสารอินทรีย์ในน้ำดิบเพื่อลดโอกาสการเกิดไตรฮาโลมีเทน
Other Titles: Using organoclays to adsorb organic matter in raw water for reducing trihalomethanes formation potential
Authors: ฐากร เสนีย์มโนมัย
Advisors: สุธา ขาวเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: แร่ดิน
น้ำประปา
ประปา
ไตรฮาโลมีเทน
สารประกอบอินทรีย์ -- การดูดซึมและการดูดซับ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ออร์กาโนเคลย์เตรียมจากแร่ดินโซเดียมเบนโนไนต์และสารควอเทอร์นารีแอมโมเนียมแคตไอออนที่ความเข้มข้น 0.5 1.0 และ 1.5 เท่าของค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนประจุบวกของแร่ดิน สารควอเทอร์นารีแอมโมเนียมแคตไอออนที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือโดเดซิลไตรเมททิลแอมโมเนียมโบรไมด์และโดเดซิลไพริดิเนียมคลอไรด์ซึ่งเป็นสารที่มีจำนวนคาร์บอนส่วนหางแอลคิลเท่ากันแต่มีโครงสร้างโมเลกุลที่ไม่เหมือนกัน น้ำดิบเก็บจากโรงผลิตน้ำประปาสามแห่งซึ่งแจกจ่ายน้ำครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้ศึกษาการดูดซับสารอินทรีย์ธรรมชาติออกจากน้ำดิบและศึกษาการดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนออกจากน้ำดิบที่ผ่านการเติมคลอรีนด้วยกระบวนการทดลองการดูดซับแบบทีละเท และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ตัวแทนสารอินทรีย์ธรรมชาติกับโอกาสการเกิดไตรฮาโลมีเทน ผลการศึกษาการดูดซับแบบทีละเทพบว่า ออร์กาโนเคลย์ที่ใช้ในงานวิจยนี้ไม่เหมาะสมต่อการดูดซับสารอินทรีย์ธรรมชาติแต่มีประสิทธิภาพในการดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนออกจากน้ำได้ เนื่องจากสารไตรฮาโลมีเทนมีมวลโมเลกุลขนาดเล็กและมีความเป็นขั้วสูงกว่าทำให้เหมาะสมต่อการพาร์ติชั่นเข้าไปในออร์กาโนเคลย์ การดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนด้วยออร์กาโนเคลย์ชนิดโดเดซิลไพริดิเนียมคลอไรด์มีโมเดลที่เหมาะสมกับไอโซเทอมแบบแลงมัวร์ และออร์กาโนเคลย์ชนิดโดเดซิลไตรเมททิลแอมโมเนียมโบรไมด์ มีความเหมาะกับความสัมพันธ์แบบเชิงเส้น ส่วนความสัมพันธ์ของพารามิเตอร์ตัวแทนสารอินทรีย์ธรรมชาติ พบว่าสารอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดและสารอินรีย์คาร์บอนละลายน้ำมีความสัมพันธ์สูงกับโอกาสการเกิดไตรฮาโลมีเทน
Other Abstract: Organoclays were prepared from sodium-rich bentonite and quaternary ammonium cations (QACs) at loading levels of 0.5, 1.0 and 1.5 times the bentonite}s cation exchange capacity (CEC). In this study, two QACs with similar number of carbon in molecules but different molecular structure, Dodecyl pyridinium chloride (DPC) and Dodecyltrimethylammonium bromide (DTAB) were chosen. The raw water used was collected from three main water treatment plants in Bangkok Metropolitan Areas (BMA). Natural organic matters (NOM) removal from raw waters and trihalomethanes (THMs) removal from chlorinated raw waters were studied in batch adsorption experiments. The correlation between NOM surrogates with trihalomethanes formation potential (THMFP) were also investigated. From batch adsorption studies, organoclays were unable to remove NOM but could effectively adsorbed THMs from water. The lower molecular weight and higher polarity of THMs made them more suitable for partitioning into organoclays. Adsorption of THMs by DPC-bentonite was well fitted with Langmuir isotherm and Adsorption of THMs by DTAB-bentonite was well characterized by linear adsorption model. TOC and DOC were well correlated with THMFP.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15834
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.845
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.845
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thakorn_sa.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.