Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15975
Title: คอขวดจราจรจากแถวคอยที่ออกจากทางด่วน
Other Titles: Traffic bottleneck from off-ramp queue at freeway diverge
Authors: สรรพัชญ์ ธีระบุตร
Advisors: จิตติชัย รุจนกนกนาฏ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: จราจรหนาแน่น
จราจร
ทางด่วน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการนาเสนอพฤติกรรมของคอขวดจราจรชนิดที่เกิดจากแถวคอยของยานพาหนะที่เลี้ยวออกจากทางด่วน โดยยานพาหนะบางส่วนที่ต้องการจะวิ่งออกจากทางด่วนมีการเบียดเข้าแถวคอยสาหรับวิ่งออกและกีดขวางรถที่ต้องการวิ่งตรงไปทาให้เกิดคอขวดขึ้น และนาเสนอวิธีการจัดการจราจรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการศึกษานี้ได้ทาการเก็บข้อมูลจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วนเย็นจากบริเวณคอขวดที่บริเวณถนนพหลโยธินโดยใช้กล้องวิดีทัศน์เป็นเวลา 4 วัน และทาการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการสร้างกราฟแถวคอยแกนเอียงของปริมาณจราจร การเปลี่ยนช่องทาง และกราฟเฉลี่ยเคลื่อนที่ของความเร็ว กราฟทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ความจุของคอขวดแบ่งออกเป็น 3 สถานะ คือ 1) สถานะความจุสูง ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รถในช่องทางตรงที่ติดกับแถวคอยของรถที่วิ่งออกสามารถเปลี่ยนช่องทางเพื่อเข้าแถวคอยได้โดยสะดวก จึงไม่กีดขวางต่อรถที่ต้องการวิ่งตรงไป 2) สถานะความจุปานกลาง เกิดจากการที่รถที่แทรกออกไม่สามารถเข้าแถวคอยได้สะดวก กีดขวางรถทางตรงที่วิ่งตามมาและบางส่วนต้องเปลี่ยนช่องทาง ส่งผลให้ทุกช่องทางความเร็วลดลง ซึ่งเกิดจากการที่แถวคอยของรถออกเป็นแบบหยุดนิ่งสลับกับเคลื่อนตัว และ 3) สถานะความจุต่า เกิดจากรถไม่สามารถแทรกเข้าแถวคอยได้ และเกิดแถวคอยหยุดนิ่งบนช่องทางตรง กีดขวางรถตรงที่ตามมาโดยสมบูรณ์ ท้ายที่สุดนี้ งานวิจัยได้นาเสนอวิธีการจัดการจราจรบริเวณคอขวดเพื่อรักษาความจุของคอขวด โดยการปรับสถานะคอขวดขณะที่มีความจุต่าให้กลับมาเป็นความจุสูงอีก
Other Abstract: This research illustrates the mechanism of freeway diverge bottleneck, caused by off-ramp queue and vehicles changing their lane in the last minute and block through vehicles and recommends the strategy to maximum outflows from the bottlenecks. Video data during four afternoon rushes from a freeway diverge on Phaholyothin Expressway were manually extracted and analyzed by queueing diagrams and lane-changing counts plotted on oblique coordinate axis, as well as moving average of vehicle speeds. The data show that traffic states in each day during bottleneck activation were separated into three distinct ones. The first one was a high-capacity state. During this state, off-ramp bound vehicles on the adjacent through lane could smoothly cut through off-ramp queue; therefore, upstream through vehicles could still proceed without being blocked. Secondly, the mediumcapacity state was caused by obstructed vehicles on the through lane due to offramp bound vehicles. The off-ramp queue was in a stop-and-go pattern with difficult lane-changes into the queue. This induced lane-changes to faster lanes and reduced overall speeds. Thirdly, there was a low-capacity state caused by exiting vehicles forming the stopping queue on the through lane and completely blocking upstream through vehicles. Lastly, the findings points out strategies to manage traffic bottleneck to maintain high capacity by reversing this capacity drop phenomenon.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15975
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.985
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.985
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sanpash_dh.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.