Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16190
Title: | การเปลี่ยนแปลงทางน้ำที่ส่งผลต่อรูปแบบเมืองกรุงเทพฯ |
Other Titles: | The transformation of waterways and its impacts on urban pattern of Bangkok |
Authors: | ศิริวัฒน์ สาระเขตต์ |
Advisors: | เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | คมนาคมทางน้ำ การขนส่งทางน้ำ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต การขนส่งในเมือง ลุ่มน้ำ ทางน้ำ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในอดีตกรุงเทพฯมีทางน้ำมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำ ลำคลอง คู ลำกระโดง ร่องสวน ฯลฯ มีการใช้ประโยชน์ทางน้ำในด้านต่างๆ เช่น การเพาะปลูก การระบายน้ำ การป้องกันเมือง การคมนาคม และการพัฒนาที่ดิน ฯลฯ อย่างไรก็ดีทางน้ำมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำที่มีเฉพาะ คลอง คู ลำกระโดงและขนัดสวน เท่านั้น ต่อมามีการขุดคลองคูเมืองในช่วง การสถาปนากรุงเทพฯ การขุดทางน้ำจำนวนมากเพื่อนำกรุงเทพฯเข้าสู่สมัยใหม่ในช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 มาจนถึงการถมทางน้ำจำนวนมากเมื่อการสัญจรทางน้ำลดบทบาทลง การเปลี่ยนแปลงของทางน้ำแต่ละช่วงเวลาจึงส่งผลต่อรูปแบบของเมืองกรุงเทพฯไม่มากก็น้อย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทางน้ำที่ส่งผลต่อรูปแบบเมืองกรุงเทพฯ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทางน้ำในกรุงเทพฯจากแผนที่ประวัติศาสตร์ ด้วยการแยกวิเคราะห์ชั้นข้อมูล องค์ประกอบทางน้ำ ถนนและอาคาร ในระดับมหภาคเลือกพื้นที่ศึกษาบริเวณเขตปทุมวัน และเขตบางรัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พัฒนาจากพื้นที่ชุมชนซึ่งเป็นเรือกสวนในอดีต มีทางน้ำจำนวนมากและหลากหลาย ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในระดับอนุภาคเลือกพื้นที่ย่อย 10 พื้นที่ในพื้นที่เขตปทุมวันและเขตบางรัก ซึ่งมีรูปแบบทางน้ำแตกต่างกันออกไป คือ ตรอกฉลองกรุง วัดหัวลำโพง ลุมพินี ไปรษณีย์กลาง วัดสวนพลู สถานีช่องนนทรี วัดบรมนิวาส เจริญผล วัดดวงแข และ สยามสแควร์ จากการศึกษาพบว่า (1) ทางน้ำในพื้นที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลง (2) รูปแบบเมืองในพื้นที่ศึกษาเกิดจากแนวทางน้ำ 2 ช่วงเวลา คือ ทางน้ำเดิม และ ทางน้ำใหม่ ทางน้ำเดิม หมายถึงทางน้ำที่เกิดก่อนการทำสนธิสัญญาบาวริง ( พ.ศ. 2398 ) ได้แก่ คลองช่องนนทรี คลองแสนแสบ คลองผดุงกรุงเกษม คลองนางหงส์ คลองส้มป่อย รวมไปถึงลำกระโดงและร่องสวนต่างๆ ทางน้ำใหม่ หมายถึงทางน้ำที่เกิดหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง ได้แก่ คลองถนนตรง คลองสาทร คลองสีลม คลองอรชร คลองสวนหลวง เป็นต้น (3) ทางน้ำในพื้นที่ศึกษาเปลี่ยนแปลงโดยลดลงไปอย่างมาก (4) ทางน้ำใหม่ ส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไปเป็นถนนหลัก ในขณะที่ ทางน้ำเดิมและแนวคันดินริมร่องสวน ซึ่งเป็นตัวกำหนดแนวขนัดสวน ส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไปเป็นถนนรอง โดยทั้งถนนหลักและถนนรองเป็นสิ่งกำหนดแนวแปลงที่ดิน และแนวแปลงที่ดินก็เป็นสิ่งกำหนดแนวอาคาร และทั้งแนวถนนหลัก แนวถนนรอง แนวแปลงที่ดิน แนวอาคารล้วนเป็นองค์ประกอบเมืองที่เกิดจากทางน้ำทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของทางน้ำส่งผลต่อรูปแบบเมือง โดยทางน้ำเป็นสิ่งกำหนดรูปแบบเมืองกรุงเทพฯ ในปัจจุบันแม้ทางน้ำจะหลงเหลืออยู่น้อยมาก แต่ทางน้ำก็ส่งผลต่อรูปแบบเมืองและเป็นสิ่งที่กำหนดให้รูปแบบเมืองกรุงเทพฯมีลักษณะเช่นที่เห็นในปัจจุบัน |
Other Abstract: | In the past Bangkok had a number of waterways such as river, klong, ku, lam kradong, rongsuan, etc. Waterways were used for agriculture, drainage, defense, transportation and land development. Nevertheless, waterways had continuously changed. Settlements along the Chao Phraya river initially occurred on klong, ku, lam kradong and kanad suan. As time went by, moats had been excavated during the early Rattanakosin period. During modernization period in the reigns of kings Rama 4 and 5, many modern waterways had been excavated; yet, many old waterways were filled up as water transportation grew less popular. The transformation of waterways in each period more or less had an impact on the urban pattern of Bangkok. The objective of this dissertation is to study the transformation of waterways and its impact on the urban pattern of Bangkok. Using three layers of historical maps, waterways, roads, and buildings are analyzed. In the macro scale, the research focuses on two adjacent areas : Pathumwan and Bangrak districts. Originated from the orchard system, both districts contain plentifully and variety of waterways, and have continuously changed through history. In the micro scale, the research focuses on ten areas with different patterns of waterway transformation in Pathumwan and Bangrak districts: Trok Chalong Krung, Wat hua lampong, Lumpini, Praisani klang, Wat Suan Phlu, Chong nonsi BTS station, Wat Baromniwat, Charoenphon, Wat Duang Khae, and Siam square. The study reveals that firstly, there are changes of waterways in the study area. Secondly, urban pattern in the study area had been based on two periods of waterways : the Old Waterways, and the New Waterways. Old waterways include waterways that had been excavated before the signing of the Bowring Treaty in 1855 : Klong Chong Nonsi, Klong Saensab, Klong Phadung Krung Kasem, Klong Nang Hong, Klong Som Poy, and the miscellaneous Lam kradong and Rongsuan. New waterways include waterways that had been excavated after the Bowring Treaty : Klong Thanon Trong, Klong Sathorn, Klong Si Lom, Klong Orachorn and Klong Suan Laung. Thirdly, the study reveals that waterways in the study area have become almost extinct. Finally, most of the new waterways had been transformed into major roads, while the old waterways and Rong suan ridges had turned into minor roads. These major roads and minor roads controlled the shapes of land parcel, which in turn defined building forms. Accordingly, waterways and their transformation had a great impact on the urban pattern of Bangkok. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16190 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.949 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.949 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siriwat_sa.pdf | 9.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.