Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16243
Title: | สิทธิและผลประโยชน์ของชุมชนในสังคมไทย : กรณีศึกษากรรมสิทธิ์ที่ดินหลังสึนามิของชาวมอแกลนหมู่บ้านทุ่งหว้า ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา |
Other Titles: | Community rights and interests in Thai society : a case study of Moklen land ownership after Tsunami in Ban Tungwah KhuKhak Sub-District, Takaupa District, Phang-Nga |
Authors: | เกศินี ทองทวีวิวัฒน์ |
Advisors: | อิศรา ศานติศาสน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ที่ดิน -- นโยบายของรัฐ ชนกลุ่มน้อย -- สิทธิของพลเมือง กฎหมายที่ดิน |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้อำนาจรัฐในทางนโยบายและการบริหารที่เกี่ยวกับการจัดการสิทธิ ผลประโยชน์ของชุมชน และการจัดการที่ดินของรัฐหลังเกิดภัยพิบัติสึนามิ กรณีการอยู่อาศัยในที่ดินรัฐเป็นเวลานานกว่า 20 ปี ของชาวมอแกลน หมู่บ้านทุ่งหว้า ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของรัฐในการเข้าแทรกแซงกระบวนการพิจารณาและแก้ไขปัญหาสิทธิในถิ่นที่อยู่ของชาวมอแกลนบ้านทุ่งหว้า โดยใช้กลไกการแต่งตั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พร้อมกำกับให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมติคณะรัฐมนตรี สามารถเรียกร้องและรับรองสิทธิเพื่อการอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐได้ แต่เป็นเพียงระยะสั้นและเฉพาะหน้า เนื่องจากบทบาทของรัฐท้องถิ่นที่ขัดกับอำนาจหน้าที่ มาตรา 284 แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ยิ่งไปกว่านั้นคนชายขอบชาวมอแกลนยังถูกกีดกันจากคนในท้องถิ่น ทั้งด้านอาชีพ การติดต่อกับหน่วยงานราชการและการไม่ยอมรับของคนในสังคม ทำให้ปัจจุบันชาวมอแกลนต้องอาศัยอยู่ในที่ดินรัฐในฐานะผู้บุกรุกเช่นเดียวกับก่อนเกิดภัยพิบัติสึนามิแม้จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐก็ตาม ดังนั้น แนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาวเพื่อให้ชาวมอแกลนอยู่อาศัยในที่ดินรัฐโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ให้องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้เป็นตัวแทนของทบวงการเมืองแสดงความจำนงขอใช้ที่ดินรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัยของชาวมอแกลนบ้านทุ่งหว้า โดยที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของรัฐเช่นเดิม แม้สิทธิ์ของชาวมอแกลนจะมีเพียงเพื่อการอยู่อาศัย แต่ตรงกับความต้องการของชาวมอแกลน ที่จะอยู่เพื่อสืบทอดอัตลักษณ์และเผ่าพันธุ์ชาว มอแกลนเท่านั้น ดังนั้น ความมั่นคงในที่อยู่อาศัยที่ชาวมอแกลนไม่เคยได้รับมาตลอดเวลากว่า 20 ปี ยังคงอยู่ในความใฝ่ฝันของชาวมอแกลน การเป็นคนไทย เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นคนไทยทั่วไป |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study government policies and administrations which are related to community benefits, land ownership and government's land asset management after Tsunami disaster. The research focused only Moklen Tribe in Ban Thungwha Khukkhak sub-district, Takauoa district, Changwat Phang-nga who lived in the government's land asset for more than 20 years. Results of this research indicate that intervention of government in the consideration of ownership rights in land asset process of Moklen in Thungwha by appointed government related's delegations and supervised according to The Land Act Code in 1954 and the ministry's resolutions, are able to request and approve the rights for living in the government areas only in the short term. Because of the minority, the government's role in providing land ownership is against the authority in the section 284 in the constitution of Thailand, 1997. Moreover, Moklen is a marginal group who has been excluded from local people, proper careers, rights to receive public services and from society in general. All of these reasons have made Moklen who still live in government land asset are trespassers, the same stutus as before Tsunami disaster even though the government has been trying to provide land ownership to them. Recommendation to support Moklen to have legal rights to live in government land is to assign the Local Administration Organization as a representative of government body to request for land use according to The Land Act Code on 1998. The purpose of this request is to provide living rights to Moklen in Thungwha, however, still retain land ownership rights of the government. Although the Moklen is eligible only rights for living there, however it precisely matches with their request. Moklen want to keep their identity and inherit theirs tribe. The hope to have a secured place to live is a hope that Moklen has never obtained for at least 20 years. This hope is still be in Moklen's ambitions, as a Thai citizen, with both nationality and race, they should be eligible to have the same rights as other Thai people. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16243 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.163 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.163 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kasinee_Th.pdf | 5.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.