Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16417
Title: | การวิจัยเชิงเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์งานอีเว้นท์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคชายและหญิง กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดิ่มแอลกอฮอล์ |
Other Titles: | The comparative study of event graphic design for male and female consumers : a case study on alcoholic beverages |
Authors: | วิวัฒน์ พิทักษ์พงศ์สนิท |
Advisors: | อารยะ ศรีกัลยาณบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การออกแบบกราฟิก เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ วิจัยแบบผสมผสาน งานแสดงสินค้า |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์งานอีเว้นท์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคชายและหญิง กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการศึกษาวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed-method research) ซึ่งเป็นลักษณะการวิจัยที่วิเคราะห์ข้อมูลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitaive analysis) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative analysis) ร่วมกัน โดยข้อมูลปฐมภูมิที่ได้เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากนั้นจึงนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์ และใช้วิธีการหาข้อมูลเชิงปริมาณมาตรวจหาข้อมูลซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อหารูปแบบของเแนวทางการใช้สื่อ การใช้องค์ประกอบสำหรับการออกแบบและการนำเสนอ ในการจัดงานอีเว้นท์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคชายและกลุ่มผู้บริโภคหญิง กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของการออกแบบเรขศิลป์งานอีเว้นท์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคชายและหญิง กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากนั้นวิเคราะห์และคัดเลือกข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำไปสร้างแบบสอบถามให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและแก้ไข จากนั้นจึงให้กลุ่มผู้บริโภคชายและหญิงจำนวน 400 คน สรวจสอบและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล โดยแสดงรูปแบบตามลำดับจำนวนคะแนนสูงต่ำ และค่าเฉลี่ยตามลำดับที่มีการเลือกจากมากไปหาน้อย เมื่อสรุปผลการวิจัย การออกแบบเรขศิลป์งานอีเว้นท์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคชายและหญิง กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว สามารถนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบได้ดังนี้ 1. ในการใช้องค์ประกอบ สื่อ และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์งานอีเว้นท์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคชายและหญิง กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อสามารถระบุ องค์ประกอบ สื่อ และนวทางการออกแบบได้แล้ว และเปรียบเทียบผลการวิจัยที่ได้ จะสามารถทราบทันทีว่า การออกแบบนั้น ควรใช้ องค์ประกอบ สื่อ และแนวทางการออกแบบใดเป็นหลักเกณฑ์ การกำหนดตัวแปรเหล่านี้ทำให้กระบวนการทางการออกแบบ สามารถดำเนินการในขั้นตอนการสร้างสรรค์ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการออกแบบเพื่อใช้ในการสื่อสารมากยิ่งขึ้น 2. การวิจัยเชิงเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์งานอีเว้นท์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคชายและหญิง กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อวิจัยและนำผลของการวิจัยมาเปรียบเทียบความแตกต่างในการใช้องค์ประกอบ สื่อ และแนวทางการออกแบบแล้ว จะสามารถทราบได้ว่า พฤติกรรมต่างๆ ของกลุ่มผู้บริโภคในบางส่วนมีความเหมือนกัน มีความใกล้เคียงกันและอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และรูปแบบของความชอบของผลิตภัณฑ์หรือการใช้งานนั้นๆ การวิจัยนี้สามารถช่วยให้การกำหนดแนวทางการออกแบบ และเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกันเฉพาะกลุ่มได้ง่ายขึ้น |
Other Abstract: | The comparative study of event graphic design for male and female consumers: a case study on alcoholic beverages is a mixed method research that use quantitative analysis and qualitative analysis together by using the primary information that get from qualitative and use that information to analysis. Then, using the way of quantitative to find the information again to get real information that correct with this research for find the way of study and using the elements for design and present how to organize event for male and female consumers. 1. It should to use media and which principle to be a way of design, to control these variable that make the design process can perform in the step of creative design more quickly and efficiency for media. 2. The comparative study of event graphic design for male and female consumers, the case study of the alcohol beverage. When make a research and take the research result to compare the different between media elements and design way, it can be know that some part of the consumer behavior are the same, similar or different depends on the situation and how they like or use that products. This research can help to specific the design way and go to directly with the different in each consumer group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นฤมิตศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16417 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.838 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.838 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wiwat_pi.pdf | 5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.