Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16506
Title: | การประกอบสร้างความจริงในข่าวเกี่ยวกับเทพยดาและผีของหนังสือพิมพ์ไทย |
Other Titles: | The construction of reality about gods and ghosts by Thai newspapers |
Authors: | เอกพล เธียรถาวร |
Advisors: | ดวงกมล ชาติประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การสื่อข่าวและการเขียนข่าว หนังสือพิมพ์ไทย พระเจ้า -- แง่สังคม -- ไทย ผี -- แง่สังคม -- ไทย |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเทพยดาและผีของหนังสือพิมพ์ไทย อันนำมาซึ่งอำนาจในการสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบความเชื่อให้กับคนในสังคม โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 วิธีคือ วิเคราะห์เนื้อหาจากหนังสือพิมพ์รายวัน 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ คมชัดลึก และข่าวสด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 2 ปี จำนวนทั้งสิ้น 2920 ฉบับ และสัมภาษณ์เชิงลึกบรรณาธิการข่าวของหนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ชื่อฉบับ ฉบับละ 1 คน ผลการวิจัยพบว่า แม้หนังสือพิมพ์ไทยจะมีปริมาณและความถี่ในการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเทพยดาและผีไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีการนำเสนออยู่เสมอ ดังนั้นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับผีของหนังสือพิมพ์ไทย จึงอาจมีผลกระทบต่อการรับรู้ และสามารถสร้างความหมายในด้านระบบความเชื่อให้กับคนในสังคมได้ โดยความหมายของ “เทพยดาและผี” ในข่าวเกี่ยวกับผีของหนังสือพิมพ์ไทยนั้น เป็นการผลิตซ้ำความเชื่อของคนในสังคมที่ยังคงยอมรับตามความเชื่อดั่งเดิมว่า การมีอยู่ของเทพยดาและผีเป็นเรื่องปกติ แต่มีทัศนคติต่อการปรากฏตัวตน หรือการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของเทพยดาและผีว่า เป็นเรื่องประหลาดผิดธรรมดา ประเด็นของข่าวเกี่ยวกับผีที่พบในหนังสือพิมพ์ไทยได้เป็น 5 ประเด็นหลักคือ การบวงสรวงหรืออ้อนวอนเทพยดาและผี การปรากฏตัวของเทพยดาและผี อาชญากรรมที่เกี่ยวกับเทพยดาและผี อุบัติเหตุที่เกี่ยวกับเทพยดาและผี และการควบคุมเทพยดาและผี ซึ่งพบว่าหนังสือพิมพ์ไทยทั้ง 4 ชื่อฉบับมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีแต่ละประเด็นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเทพยดาและผี พบว่ามีทั้งจากปัจจัยภายนอก นโยบายองค์กร ทัศนคติส่วนตัวของบรรณาธิการ และองค์ประกอบคุณค่าข่าว โดยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ชื่อฉบับ มีความเห็นตรงกันว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือ กระแสความสนใจของผู้คนในสังคม |
Other Abstract: | To study the construction of reality about gods and ghosts in Thai newspapers. Research methods included content analysis of four daily newspapers and in-depth interview of four news editors. For the analysis part, 2920 pieces of four major daily newspapers - Thairath, Dailynews, Komchadluek, and Khaosod - from January 1, 2008 to December 31, 2009 were analyzed. Research has found that news about gods and ghosts is presented in Thai daily newspapers occasionally. Accordingly, the news report about gods and ghosts may have influences over the construction of spiritual belief of Thai people. The meaning of “gods and ghosts” is implied in newspapers as the reproduction of the former belief of Thai people that gods and ghosts normally exist but their appearance or their supernatural power is extraordinary. Five major aspects of “gods and ghost” portrayed in Thai newspapers are people worshipping or begging gods and ghosts, gods and ghost appearance, crimes and accidents with gods and ghost, and gods and ghosts being controlled. Factors which influence the publication of news about gods and ghosts are the newspaper’s policy, News Editor’s attitude toward this kind of story, news value principles, and outer factors. The News Editors of the four newspapers unanimously agree that the most important factor is people’s interest |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16506 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.733 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.733 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ekapon_th.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.