Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสริชย์ โชติพานิช-
dc.contributor.authorปิยะพันธ์ มั่นคง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-01-19T14:30:14Z-
dc.date.available2012-01-19T14:30:14Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16529-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractในระยะเวลาที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีทั้งการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารเพื่อรองรับการเรียนการสอน และจำนวนคนที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ในระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีโครงการปรับปรุงทางกายภาพเป็นจำนวนมาก และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ยังขาดการเก็บรวบรวมและทบทวนข้อมูลรูปแบบการปรับปรุงอาคารอย่างเป็นระบบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงการการปรับปรุงอาคารของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551 รวมถึงความสัมพันธ์ของอายุอาคารและรูปแบบการปรับปรุง โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นรวบรวมข้อมูลโครงการปรับปรุงอาคารในพื้นที่เขตการศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ 2542-2551 จากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ แล้วจึงนำมาจำแนกอายุของอาคารที่ทำการปรับปรุงตามกรอบทฤษฎีที่กำหนด เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลในการปรับปรุงอาคารและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่าใน 10 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การก่อสร้างอาคารใหม่ และการปรับปรุงพื้นที่และอาคารเดิม พบว่ามีอาคารที่ทำการปรับปรุงทั้งหมด 61% จากอาคารทั้งหมดในมหาวิทยาลัย โดยในแต่ละปีมีจำนวนอาคารที่ปรับปรุงคิดเป็นสัดส่วน 15% จำนวนโครงการและเงินลงทุนรวมในการปรับปรุงอาคารที่มีจำนวนสูงสุดพบในอาคารช่วงอายุ 0-20 ปี เมื่อวิเคราะห์เป็นอัตราส่วนร้อยละเปรียบเทียบระหว่างอาคารที่ได้รับการปรับปรุง กับอาคารทั้งหมดในแต่ละช่วงอายุพบว่า อาคารในช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนของอาคารที่ได้รับการปรับปรุงเป็นสัดส่วนสูงที่สุด วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงจำแนกได้เป็น 3 เป้าหมาย ได้แก่ 1) เพื่อการปรับปรุงสภาพทางกายภาพ 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ปัญหาการใช้งานของอาคาร 3) เพื่อจัดการการใช้งานพื้นที่ การปรับปรุงจำแนกตามขอบเขตพื้นที่ดำเนินการออกเป็น การปรับปรุงทั้งอาคารซึ่งพบมากในอาคารช่วงอายุ 41-50 ปีและการปรับปรุงบางส่วนซึ่งยังแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ 1) การปรับปรุงโครงสร้างอาคาร พบมากในอาคารช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไป 2) การปรับปรุงผิวเปลือกอาคารพบส่วนใหญ่ใน 2 ช่วงอายุอาคาร คือ 31-40 ปี และ 41-50 ปี 3) การปรับปรุงการใช้งานของอาคารพบมากในอาคารช่วงอายุ 0-20 ปี และ 4) การปรับปรุงระบบประกอบอาคารพบมากในอาคารช่วงอายุ 21-30 ปี และ 31-40 ปี จากการศึกษามีข้อสรุปว่า อายุของอาคารมีผลต่อรูปแบบการปรับปรุงอาคารของมหาวิทยาลัย โดยแต่ละช่วงอายุอาคารมีความต้องการรูปแบบการปรับปรุงที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการปรับปรุงทั้งอาคารและการปรับปรุงโครงสร้างอาคารพบว่า จะมีจำนวนโครงการและเงินลงทุนสูงขึ้นตามอายุอาคารที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนในการปรับปรุงผิวเปลือกอาคาร การปรับปรุงการใช้งานของอาคาร และการปรับปรุงระบบประกอบอาคารพบว่า มีจำนวนแตกต่างกันตามความต้องการในการปรับปรุงอาคารนั้นๆ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงควรมีการจัดทำฐานข้อมูลในการปรับปรุงทางกายภาพให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้ควรมีการวางแผนในการปรับปรุงทางกายภาพให้เหมาะสม เพื่อให้อาคารมีประสิทธิภาพสูงสุดen
dc.description.abstractalternativeChulalongkorn University (CU) has undergone continuous development and expansion, resulting in an increase of construction of new buildings and renovations of existing ones for courses offered and students enrolled. For the last ten years, the university has undergone numerous renovation projects. However, there have been no data collected system regarding the projects. This research aims to examine the facility renovation projects at CU during the last ten years since 1999-2008 C.E. including the relationship between the age of buildings and pattern of renovations. Related theories were explored so as to establish a theoretical framework. After that, data were collected on the university’s renovation projects between 1999-2008 C.E. The aged of building in renovation projects were then categorized based on the previously established theoretical framework. Finally, the data were analyzed to identify the factors affecting renovations. The results are as follows. First, the development of CU’s physical conditions in the past decade could be classified into two types: construction of new buildings and renovations of existing ones. At the time of research, 61% of the buildings had been renovated. Renovations were made on 15% of the buildings each year. The largest number of projects and amount of investment went to buildings aged 0-20 years. Nevertheless, when all the buildings having been renovated were considered, the majority of renovations were made on those aged 51 years or more. Second, the objectives of renovations could be categorized into three types: renovations of the physical condition, renovations for increasing effectiveness and solving problems associated with the buildings, and renovations for improving the space functionality. Finally, there were two types of renovation scopes: renovations of the whole building, that were mostly made on buildings aged 41-50 years and partial renovations, that could be further divided into four types. Renovations of the structures were mostly made on buildings aged 51 years or more, whereas those aged 31-40 years and 41-50 years mostly underwent renovations of their appearance. In contrast, renovations of building functionality were found the most for those aged 0-20 years, while renovations made on the building systems were found the most for those aged 21-30 years and 31-40 years. It concluded that the age of buildings correlate with pattern of renovations, Buildings in different ages required different type of renovation. The numbers renovation of a whole building and structure tended to increase with older building. The renovations of building appearance, function and systems were varied by specific needs of the occupants. To effectively manage renovation projects, the university needs to establish building database and improvement standard and take these factors into long term plan so that its future renovation projects will be effectiveen
dc.format.extent5819364 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.923-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาคารen
dc.subjectการบริหารทรัพยากรกายภาพen
dc.subjectอาคาร -- การบูรณะและการสร้างใหม่en
dc.titleการปรับปรุงทางกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551en
dc.title.alternativeFacility renovation in Chulalongkorn University : 1999-2008en
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.923-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyapun_mu.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.