Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16619
Title: ผลของตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถามในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Other Titles: Effects of question cues in computer-assisted instruction lessons on reading ability in Thai language the vocational education certificate students
Authors: อรัญญา สายหมี
Advisors: วชิราพร อัจฉริยโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ภาษาไทย -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การอ่านขั้นอุดมศึกษา
ตัวอักษรชี้นำ
ความเข้าใจในการอ่าน
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถาม 3 รูปแบบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2540 วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จำนวน 108 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 27 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ตัวชี้นำ 3 รูปแบบ คือ ตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถามปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดการนำเสนอเนื้อหาในแต่ละหน้าจอ ตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถามที่ปรากฏบนหน้าคอมพิวเตอร์เมื่อผู้เรียนต้องการอ่านคำถาม ตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถามปรากฏกระพริบบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดการนำเสนอเนื้อหาในแต่หน้าจอ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถามรูปแบบต่างกัน มีผลต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบบทเรียนที่มีตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถาม ทั้ง 3 รูปแบบ กับบทเรียนที่ไม่มีตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถาม พบว่า บทเรียนที่มีตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถามปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดการนำเสนอเนื้อหาในแต่ละหน้าจอ และบทเรียนที่มีตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถามปรากฏกระพริบบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดการนำเสนอเนื้อหาในแต่ละหน้าจอ มีผลต่อความสามารถในการอ่านดีกว่า บทเรียนที่ไม่มีตัวชี้นำการอ่านด้วยคำถามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The aims of this research are to study and compare the effects of 3 forms of question cues in computer assisted instruction on the Thai reading ability of Vocational Education Certificate students. The sample group was 108 first year students during the second semester of the 1997 academic year at Minburi Technical College. They were randomly divided into 3 experiment groups and 1 control group with 27 students in each group. There were 3 cue forms, namely, reading cues with questions on the computer screen throughout the presentation; reading cues with question on the computer screen when the learner required; and reading cues with questions blinking on the computer screen throughout the presentation. From the results of this research, it can be concluded that computer assisted lesson instruction using reading cues with questions in different forms had the same effects on the Thai reading ability of Vocational Education Certificate students at a statistical significance of 0.05. When compared with lessons using reading cues with 3 question forms and lessons without reading cues with questions. It was found that lessons using reading cues with questions on the computer screen throughout the presentation and lessons using reading cues with questions blinking on the computer screen throughout the presentation had a more positive effect on Thai reading ability than lessons without reading cues with questions and it had a statistical significance of 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16619
ISBN: 9746384244
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aranya_Sa_front.pdf783.64 kBAdobe PDFView/Open
Aranya_Sa_ch1.pdf787.39 kBAdobe PDFView/Open
Aranya_Sa_ch2.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_Sa_ch3.pdf775.47 kBAdobe PDFView/Open
Aranya_Sa_ch4.pdf790.42 kBAdobe PDFView/Open
Aranya_Sa_ch5.pdf796.71 kBAdobe PDFView/Open
Aranya_Sa_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.