Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16664
Title: | การสังเคราะห์ 1,2-โพรเพนไดออลจากกลีเซอรอลในภาวะกรดด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้า |
Other Titles: | Synthesis of 1,2-propanediol from glycerol in acid condition by electrochemical technique |
Authors: | โสภณ พวงพันธ์บุตร |
Advisors: | มะลิ หุ่นสม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | พลังงานทดแทน เชื้อเพลิงไบโอดีเซล กลีเซอรีน โพรเพนไดออล เคมีไฟฟ้า |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการสังเคราะห์ 1,2-โพรเพนไดออลจากกลีเซอรอลในภาวะกรด ด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้าในเครื่องปฏิกรณ์เคมีไฟฟ้าชนิดไม่มีแผ่นกั้นที่ความดันบรรยากาศ โดยตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ผลของชนิดขั้วไฟฟ้า ความเข้มกระแสไฟฟ้า (2.12-8.40 แอมแปร์) ความเข้มข้นของสารอิเล็กโทรไลต์ร่วม (0-3.5% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ความเป็น กรด-เบสเริ่มต้น (0.5-2) ความเข้มข้นของสารเติมแต่ง (0-2.5% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) และอุณหภูมิ (32-70℃) พบว่าการใช้ขั้วไทเทเนียมเคลือบรูทีเนียมออกไซด์ เป็นขั้วแอโนดและใช้ขั้วแพลทินัมเป็นขั้วแคโทดทำให้ร้อยละผลได้ของ 1,2-โพรเพนไดออล มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับขั้วไฟฟ้าชนิดอื่น โดยการเพิ่มความเข้มกระแสไฟฟ้าจะทำให้ ร้อยละผลได้ของ 1,2-โพรเพนไดออลเพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้ความเข้มข้นของสารอิเล็กโทรไลต์ร่วม มากกว่า 1.5% โดยน้ำหนักต่อปริมาตรมีผลเพียงเล็กน้อยต่อร้อยละผลได้ของ 1,2- โพรเพนไดออล ส่วนความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นที่ลดลงจะทำให้ร้อยละผลได้ของ 1,2-โพรเพนไดออล เพิ่มขึ้น และการใส่สารเติมแต่งในระบบไม่ทำให้ร้อยละผลได้ของ 1,2-โพรเพนไดออลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาจะทำให้ร้อยละผลได้ของ 1,2-โพรเพนไดออล เพิ่มขึ้น |
Other Abstract: | The feasibility of 1,2-propanediol synthesis from glycerol in acid condition by electrochemical technique was studied in an undivided electrochemical reactor at laboratory scale under ambient pressure. Effects of electrode types, current intensity (2.12-8.40 A), concentration of supporting electrolyte (0-3.5 %(w/v)), initial pH (0.5-2), concentration of additive (0-2.5 %(w/v)) and temperature (32-70℃) were explored. The preliminary results indicated that the use of Ti/RuO2 and Pt as anode and cathode, respectively, provided the higher yield of 1,2-propanediol compared with other electrodes. The increase of current intensity led to the increase of 1,2- propanediol yields while supporting electrolyte at the concentration greater than 1.5 %(w/v) provided the similar yields of 1,2-propanediol. Decreasing the initial pH of solution from pH 2 to pH 1 provided the increase of 1,2-propanediol. The presence of additive did not promote a higher yield of 1,2-propanediol compared with the condition in the absence of additive. The yield of 1,2-propanediol increased with the raising of temperature. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16664 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.482 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.482 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sophon_ph.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.