Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16805
Title: | การพัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม |
Other Titles: | Development of a primary school administrative system to promote holistic health and hygiene |
Authors: | ณัฏฐนันท์ ปั้นลายนาค |
Advisors: | ปองสิน วิเศษศิริ ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต โรงเรียน -- การบริหาร โรงเรียน -- บริการส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม 3) พัฒนาระบบ การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีการดำเนินงานวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดกรอบความคิดในการวิจัย 2) ศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม 3) พัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 4) ศึกษาความเหมาะสมและปรับปรุงระบบการบริหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่มีความเป็นเลิศด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย จำนวน 8 แห่ง กระจายอยู่ใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดย 1) การสัมภาษณ์ระดับลึก 2) การสนทนากลุ่ม 3) การศึกษา เอกสารที่เกี่ยวข้อง 4) การสังเกตและจดบันทึก ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ชุมชน การวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัยทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Contents Analysis) และบรรยายสรุป ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพและปัญหาการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่โรงเรียนเคยประสบและกำลังประสบได้แก่ 1) ขาดครูที่มี ความรู้เฉพาะทางทั้งด้านอนามัย และวิชาสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2) ครูมีงานสอนและงานอื่นมากทำให้ไม่มี เวลาดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ 3) ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจน้อย 4) ขาดการ ประสานงานกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานอื่น 5) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูขาดขวัญ กำลังใจในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้บริหารต้นสังกัดไม่เห็นความสำคัญของการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ 6) ขาดงบประมาณการ ดำเนินงานและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากท้องถิ่นน้อย 2. แนวทางการบริหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม พบว่าโรงเรียนทั้ง 8 แห่งมีการบริหารตามแนว ทางการบริหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพตามองค์ประกอบและเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของกรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข โดยให้ความสำคัญในเรื่องการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและการจัดบริการด้านสุขภาพ สำหรับทั้ง นักเรียนและครู และจัดโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมหลากหลายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 3. ระบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวมที่พัฒนาได้คือ ระบบ “HAPPYKIDS System” ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1.1) บุคลากร 1.2) งบประมาณ และ1.3) วัสดุอุปกรณ์ 2) กระบวนการ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ 2.1) นโยบายด้านสุขภาพ 2.2) การมีส่วนร่วมของครอบครัวและ ชุมชน 2.3) การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน 2.4) การบริการสุขภาพของโรงเรียน 2.5) การจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา 2.6) การโภชนาการของโรงเรียน 2.7) การออกกำลังกาย กีฬา และ นันทนาการ 2.8) การให้คำปรึกษาแนะนำสุขภาพทางกาย ใจ อารมณ์ และสังคม 2.9) การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร 3) ปัจจัยส่งออก ประกอบด้วย 3.1) การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3.2) นักเรียนที่มีสุขภาวะดี ทั้ง 4 ด้าน 4) ข้อมูลย้อนกลับ และ5) สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 5.1) การเมือง 5.2) เศรษฐกิจ 5.3) สังคม 5.4) เทคโนโลยี 4. ระบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวมที่พัฒนามีความเหมาะสม ใช้ได้จริงตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและเห็นควรมีการสนับสนุนให้เกิดการใช้จริงจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
Other Abstract: | This research had the following objectives: 1) to study and analyze the situations and problems in promoting a health and hygiene in primary schools under the Ministry of Education. 2) to study an administrative system in order to promote a holistic health and hygiene in primary schools. 3) to formulate and develop an administrative system that promotes a holistic health and hygiene. This was a descriptive research; it had four important steps. The four steps were: 1) to set up a conceptual framework and research scope for the study; 2) to study and analyze the problems and develop a policy recommendation on the promotion of a holistic health and hygiene; 3) to develop an administrative system for the promotion of health and hygiene; and 4) to study and analyze the appropriate administrative system in managing and promoting holistic health and hygiene. Data samples included 8 primary schools under the Ministry of Education, all of which had achieved excellence in health promotion and were located across all four regions of Thailand. Data collection was done through 1) in-depth interviews; 2) group interviews; 3) study of the relevant papers; 4) ken observations and careful logs. Givers of information include school administrators, teachers, students, the local communities. An analysis and conclusion of the results were based on the Contents Analysis and Descriptive summary. The research had found the following results: 1. Conditions and problems of promoting health and hygiene in schools include: 1) There was still a lack in the number of qualified, specialized teachers who had basic knowledge on health and hygiene education as well as on physical education. 2) Teachers were overloaded and overwhelmed with other teaching jobs, and therefore did not have time to promote health-related curriculum. 3) Parents and community played little role in the planning and decision-making process 4) There was a lack in the coordination between government agencies and related departments. 5) School administrators and teachers had low morale in implementing health and hygiene work 6) There was an inadequate funding in implementing health and hygiene work and very little contribution from the local community. 2. Under the holistic approach to promoting a systemic health and hygiene, it had been found that all eight schools under the study had a tendency to promote health and hygiene in all aspects laid out by the Department of Health. These schools placed emphasis on participation by relevant stakeholders in administrating health and hygiene, both by teachers and students. The schools continually set up projects and various activities relevant in the promotion of health and hygiene. 3. A school administrative system in primary schools that promoted a holistic health and hygiene was called a “HAPPYKIDS System”. This system was comprised of the following 9 factors: 1) health promotion policies; 2) participation by stakeholders; 3) management of the school’s physical environment; 4) managing health services; 5) managing health and physical education; 6) teaching nutritional aspects; 7) providing exercises and recreational activities; 8) counseling services on physical, emotional, psychological and social aspects to students; 9) promoting staff and personnel health. All of the aspects must work in parallel, each one enhancing their other in both directions, all of which must concern input, output, feedback. 4. A school administrative system that promoted holistic health and hygiene was found to be an appropriate system. Experts had agreed that there should be a concrete implementation of this system in all relevant agencies |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16805 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.645 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.645 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nattanan_pa.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.