Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16840
Title: ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ ต่อพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของพนักงานบริการชายรักชาย
Other Titles: The effect of information-motivation-behavioral skills for AIDS prevention program on condom use behaviors of male sex workers
Authors: อาริยา ชัยยศ
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: รักร่วมเพศชาย
บุรุษ -- พฤติกรรมทางเพศ
โรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุม
ถุงยางอนามัย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ ต่อพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของพนักงานบริการชายรักชาย โดยใช้แนวคิด Information-motivation-behavioral skills model of AIDS preventive behavior ของ Fisher, Fisher, and Harman (2003) เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของพนักงานบริการชายรักชาย กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริการชายรักชายที่ปฏิบัติงานในสถานบริการบาร์เกย์ 2 แห่ง ที่มีลักษณะการให้บริการใกล้เคียงกัน คัดเลือกสถานบริการโดยการเลือกตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน (1 สถานบริการ) และกลุ่มควบคุม 20 คน (1 สถานบริการ) รวมทั้งหมด 40 คน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 70 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ ที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การให้ข้อมูลในการป้องกันโรคเอดส์ 2) การสร้างแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมป้องกันเอดส์ 3) การพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ และ 4) การสรุปสาระสำคัญ โดยมีแผนการสอน ภาพสไลด์ และคู่มือพระจันทร์สีรุ้งมุ่งรักษาสุขภาพ ที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสื่อในการดำเนินกิจกรรม เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบวัดความรู้เรื่องโรคเอดส์ แบบวัดแรงจูงใจในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย แบบประเมินทักษะการใช้ถุงยางอนามัย และแบบประเมินทักษะการเจรจาต่อรองเพื่อใช้ถุงยางอนามัย และทักษะการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งแบบวัดความรู้มีค่า KR-20 เท่ากับ .85 แบบวัดแรงจูงใจในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มีค่าความเที่ยง .75 และแบบประเมินทักษะการใช้ถุงยางอนามัยและทักษะการเจรจาต่อรอง/ปฏิเสธ มีค่าความสอดคล้องของการสังเกต เท่ากับ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย มีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของพนักงานบริการชายรักชายหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2. พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของพนักงานบริการชายรักชายกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of information-motivation-behavioral skills for AIDS prevention program on condom use behaviors of male sex workers. Information-motivation-behavioral skills model of AIDS preventive behavior (Fisher, Fisher, and Harman, 2003) were used as a conceptual framework to develop the program. A sample of this study was male sex workers who work in gay bars. Two comparable gay bars were selected to participate in the study, 20 subjects from each resulting in a total sample of 40 persons. One gay bar served as an experimental group, the other gay bar served as a control group. The control group received usual knowledge while the experimental group received the information-motivation-behavioral skills for AIDS prevention program. The intervention, developed by a researcher, consisted of 4 steps: 1) providing information on AIDS prevention, 2) building motivation to prevent AIDS, 3) building skills for AIDS prevention, and 4) conclusion. Lesson plans, slides, and a rainbow handbook for male sex workers were used in the program. The intervention was reviewed for content validity by a panel of experts. AIDS Knowledge, motivation, condom use skills, negotiation and denial skills were measured to monitor the intervention effect. The AIDS knowledge has KR-20 at .85. Motivation questionnaire has Cronbach’s alpha at .75 and the inter-rater reliability of the condom use, negotiation and denial skills was at 1.00. Condom use behaviors were assessed using a questionnaire. Its content validity index (CVI) was at 1.00 and Cronbach’s alpha coefficient was at .84. Data were analyzed using descriptive and t-test statistics Major finding of this study were as follows: 1. Condom use behaviors of the experimental group after receiving the information-motivation-behavioral skills for AIDS prevention program was significantly higher than before receiving the program (p < .01). 2. Condom use behaviors of the experimental group after receiving the information-motivation-behavioral skills for AIDS prevention program was significantly higher than those of the control group (p < .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16840
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1077
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1077
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ariya_Ch.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.