Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16852
Title: ปัญหาทางกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายทางแพ่งและสัญญาซื้อขายทางพาณิชย์
Other Titles: Legal problems in civil contract of sale and commercial contract of sale
Authors: ธันยพร ชินรักษา
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ซื้อขาย
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายและความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายทางแพ่งและสัญญาซื้อขายทางพาณิชย์ของประเทศไทยซึ่งกฎหมายไทยที่นำมาใช้บังคับคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องซื้อขาย หนี้ และสัญญา โดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายไทยกับ UCC ของประเทศสหรัฐอเมริกาและหลักกฎหมายว่าด้วยซื้อขายในประมวลกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์ของประเทศญี่ปุ่น ว่า สัญญาซื้อขายทางแพ่งและสัญญาซื้อขายทางพาณิชย์ให้ความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร กฎหมายซื้อขายของไทยบัญญัติไว้มีเพียงพอหรือไม่ ในประเด็นเรื่องการเกิดสัญญา วิธีการทำสัญญา ผลของสัญญา การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัย การระงับของสัญญาและอายุความ จากการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักกฎหมายซื้อขายในประเด็นต่างๆแล้ว พบว่ากฎหมายของต่างประเทศ ได้แยกสัญญาซื้อขายทางแพ่งและสัญญาซื้อขายทางพาณิชย์ มีการแยกนิติสัมพันธ์หรือความรับผิดระหว่างพ่อค้ากับบุคคลที่ไม่ใช่พ่อค้าและผู้บริโภคไว้แตกต่างกัน ซึ่งการแยกความแตกต่างนี้ให้ความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายได้เหมาะสมกว่า แต่สำหรับกฎหมายไทยบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ไม่แตกต่างกัน ในทางปฏิบัติต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้กับสัญญาซื้อขายทางพาณิชย์ ทั้งที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ร่างขึ้นสำหรับสัญญาซื้อขายทางแพ่งเท่านั้น สัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งในยุคนั้นการค้าของไทยยังมีไม่มาก แต่ปัจจุบันสภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ได้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้กับสัญญาซื้อขายทางพาณิชย์จึงอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากยังขาดความชัดเจน นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยยังไม่ได้บัญญัติหรือรับรองประเพณีทางการค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งหลักดังกล่าวถือว่าเป็นหลักที่สำคัญที่สร้างความยืดหยุ่นในการปฏิบัติในทางการค้า จึงอาจทำให้คู่สัญญาไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ได้อย่างเพียงพอ ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาและการขยายตัวทางการค้า จึงเห็นควรต้องทบทวน เพราะการใช้หลักกฎหมายในปัจจุบันต่อไปอาจไม่เหมาะสม ดังนั้นประเทศไทยควรยกร่างพระราชบัญญัติซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ขึ้นมาใหม่โดยนำ UCC ของประเทศสหรัฐอเมริกามาเป็นต้นแบบ โดยเนื้อหาของพระราชบัญญัติซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์นี้จะต้องมีจุดมุ่งหมายตามหลักการพาณิชย์คือ เร็ว ง่าย และยืดหยุ่น หรือปรับปรุง แก้ไข เนื้อหาบางส่วนในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในหลักกฎหมายซื้อขาย โดยให้นำประเพณีทางการค้ามาบัญญัติหรือรับรองไว้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยให้นำมาใช้กับสัญญาระหว่างพ่อค้าด้วยกัน
Other Abstract: The primary purposes of this thesis are studying of the legal problems in civil contract of sale and commercial contact of sale in Thailand. The research concludes comparison between Civil and Commercial Code of Thailand, United State of America UCC and Civil Code and Commercial Code of Japan to show the differences of these acts govern civil contract of sale and commercial contract of sale, have effect individual differently. Weather or not the law of sale in Thailand has governed enough indications and have enough effectiveness between buyer and seller in extent of contract formation, term of contract, contract of performance and breach, documents of title and risk, termination of contract and statue of limitation. After carefully reviewed and compared sale articles in various ways, the foreign civil and commercial codes have separated sale transactions between commercial and consumer. The article applies to transactions in extent, simplify, and indicate the role, rights, there are more effectiveness than The Civil and Commercial Code of Thailand. In practicing, the adaptive is needed to bring The Civil and Commercial Code of Thailand using in commercial contract of sale, even though it only made to be used for civil contract of sale. The sale contracts of Civil and Commercial Code of Thailand is suitable for the past social environment which not so many business transaction occurred unlike in the present time environment over all has been changed, grown up in economic, political and social. So the adaptive of Civil and Commercial Code of Thailand using in commercial contract of sale doesn’t have enough indications. There were no official usage of trade had been written as well. Usage of trade is the principle of commercial law with important role in flexibility. So the party are not protected which created problems in and expanding of business. Especially, continue expansion of commercial practices now days, there is needed to review of our commercial sale of contract, applicability of supplemental principle of law. Therefore, Thailand should the construction of new commercial contract of sale Act is needed by using guideline from United States of America, UCC or amendments to The Civil and Commercial Code by giving the usage of trade for governing the provisions of sale contract, make the transaction fast, easy and flexible. This new commercial sale of Act should be used between merchants.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16852
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.857
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.857
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanyaporn_Ch.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.