Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16998
Title: การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
Other Titles: Efficiency improvement in hard disk drive components manufacturing
Authors: พีระพงษ์ ตั้งวันเจริญ
Advisors: มานพ เรี่ยวเดชะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การควบคุมคุณภาพ
การควบคุมกระบวนการผลิต
ฮาร์ดดิสก์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานผลิตชิ้นส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญ นั่นคือ การฉีดยาง TPE seal ลงบนชิ้นส่วนฝาครอบ ที่อาศัยเครื่องฉีดในการผลิตเป็นหลัก โดยมีวัตถุประสงค์ทำให้อัตราการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อลดอัตราการส่งมอบสินค้าล่าช้า ในโรงงานที่ศึกษาจำเป็นต้องอาศัยเครื่องฉีดที่มีจำนวนจำกัด มีราคาแพง และยังมีการผลิตในแต่ละรุ่นของผลิตภัณฑ์ที่ต้องอาศัยแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่น โดยแม่พิมพ์รุ่นที่ใช้ในการผลิตมากจะมีจำนวนแม่พิมพ์มากกว่า 1 ชุด ซึ่งปัจจุบันโรงงานมีเครื่องฉีดที่เหมือนกัน จำนวน 43 เครื่อง และมีจำนวนรุ่นที่ต้องการผลิต 60 รุ่น จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการจำแนกงานที่ต้องผลิต จะสามารถแบ่งงานได้ 2 กลุ่ม คือ งานที่ผลิตสม่ำเสมอ และงานที่มีการสลับเปลี่ยนแม่พิมพ์ตามคำสั่งซื้อ โดยจำนวนงานที่ต้องสลับเปลี่ยนแม่พิมพ์จะมีจำนวนรุ่นทั้งหมด 57 รุ่น และแม่พิมพ์ในแต่ละรุ่น จะมีวิธีการและเวลาในการปรับเปลี่ยนแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันน้อยมาก ซึ่งพบว่าจะเกิดปัญหาในการปรับตั้งเครื่องจักรบ่อยครั้ง โดยเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรแต่ละครั้งจะใช้เวลาเฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อครั้ง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ และส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาการส่งมอบงานล่าช้า จากการวิเคราะห์พบสาเหตุหลักของการสูญเสียคือ การปรับตั้งเครื่องจักร ดังนั้น การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต จึงมุ่งเน้นที่การปรับปรุงการปรับตั้งเครื่องจักรเป็นสำคัญ เพื่อลดเวลาการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอย่างรวดเร็วตามแนวคิด SMED (Single-Minute Exchange of Dies) ที่พัฒนาโดย Shingo โดยใช้ร่วมกับเทคนิคการศึกษาการทำงาน เพื่อวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการตลอดจนเครื่องมือเสริมการปรับตั้งเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อนำผลที่ได้จากการปรับปรุงดังกล่าวไปใช้จริง ทำให้มีอัตรางานส่งมอบล่าช้าลดลงจาก 12% เหลือเพียง 2% และลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรลงจาก 30.2% ของเวลาการทำงานเครื่องจักรในการผลิตเหลือ 12%
Other Abstract: To improve production efficiency in a hard disk drive factory. It focuses on TPE seal injection on drive covers by using injection machines. The purposes are to increase production rate and reduce late deliveries. The factory has limited amount of expensive machines that require various molds for production. At present, there are 43 identical injection machines for 60 product models. For some molds for large-quantity production, there may be more than one set. Production is divided into two groups; one for continual production, the other for made to order production, which need mold changes. This group covers 57 models. They cause a problem of frequent machine setup, which takes about 5 hours each time. This results in low production efficiency and late deliveries. An analysis showed that the main cause of efficiency waste was the machine setup times. Therefore, the production efficiency improvement was emphasized on reducing machine setup time using the concept of SMED (Single-Minute Exchange of Dies) developed by Shingo in conjunction with the work study technique to analyze and design a process and additional tools to enhance the efficiency of machine setups. When the results were implemented, late deliveries decreased from 12% to 2% while the time spent for machine setup times was reduced from 30.2% to 12% of machine availability time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16998
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.786
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.786
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerapong_Ta.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.