Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17031
Title: การศึกษาการดำเนินงานของบริษัทค้าแป้งมันสำปะหลังที่มีโรงงาน และไม่มีโรงงานในประเทศไทย
Other Titles: A study on operation of tapioca flour trading companies with factory and without factory in Thailand
Authors: ตรีรัตน์ ฐิตาภิวัฒนกุล
Advisors: พิทักษ์ บุญพจนสุนทร
สุมน มาลาสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: มันสำปะหลัง -- แง่เศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
แป้งมันสำปะหลัง
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงโครงสร้างและการดำเนินงานตลอดจนถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของบริษัทค้าแป้งมันสำปะหลังที่มีโรงงานและไม่มีโรงงาน โดยมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะบริษัทที่ส่งออกแป้งมันสำปะหลังเท่านั้น และในส่วนการดำเนินงานศึกษาเฉพาะการดำเนินงานด้านที่สำคัญ ๆ กล่าวคือ ด้านการผลิต ด้านการซื้อหัวมันสำปะหลังสดและแป้งมันสำปะหลังเพื่อส่งออก ด้านการส่งออก และด้านการควบคุมคุณภาพแป้งมันสำปะหลัง พร้อมทั้งได้ตั้งข้อสมมุติฐานไว้ว่า บริษัทค้าแป้งมันสำปะหลังที่มีโรงงาน จะมีการดำเนินงานที่เป็นระบบและสามารถควบคุมคุณภาพแป้งได้ดีกว่า ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานในด้านการผลิต ด้านการจัดซื้อหัวมันสำปะหลังสดและแป้งมันสำปะหลังเพื่อส่งออก ด้านการส่งออก ของบริษัทส่งออกแป้งมันสำปะหลังที่มีโรงงานและไม่มีโรงงานนั้นต่างก็มีระบบการดำเนินงาน ซึ่งไม่แตกต่างกันมาก แต่ผลจากการที่ได้ศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ปรากฏว่าบริษัทส่งออกแป้งมันสำปะหลังที่มีโรงงาน จะมีการดำเนินงานที่เป็นระบบ และสามารถควบคุมคุณภาพแป้งได้ดีกว่า ดังนี้คือ การดำเนินงานที่เป็นระบบกว่า หมายความว่า ในแง่ที่ว่าขยายการดำเนินงานออกไปในแนวตั้ง (Vertical Integration) ครบวงจรของการดำเนินงานภาคอุตสาหกรรมเกษตรแป้งมันสำปะหลัง โดยเริ่มตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายเองทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งการดำเนินงานในลักษณะนี้จะส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการส่งมอบแป้งมันสำปะหลังได้ตามกำหนด สามารถควบคุมคุณภาพแป้งได้ดีกว่า คือ ทราบคุณภาพแป้งมันสำปะหลัง เพราะเป็นผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังเอง ทำให้เกิดความมั่นใจมากกว่า จากการวิจัยได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ กล่าวคือ ปัญหาการจัดซื้อหัวมันสำปะหลังสด ในด้านการแย่งซื้อหัวมันสำปะหลังสดกับโรงงานผลิตมันสำปะหลังอัดเม็ดและมันสำปะหลังเส้นในบางจังหวัด ค่าผิดพลาดเนื่องจากวิธีวัดปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังสด และปัญหาการส่งออกแป้งมันสำปะหลัง ในด้านขาดแคลนข้อมูลที่ใช้ประกอบการค้า การขนส่ง อุปสรรคการดำเนินงานจากนโยบายรัฐบาลและระเบียบพิธีการส่งออก ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานโดยราบรื่นได้ นอกจากนั้นโครงสร้างตลาดต่างประเทศแป้งมันสำปะหลังไม่กระจายเท่าที่ควรจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ประเทศ ทำให้ภาวการณ์ส่งออกแป้งมันสำปะหลังขาดเสถียรภาพ ประกอบกับต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าและยังต้องแข่งขันกับแป้งชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ทดแทนแป้งมันสำปะหลังได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้โดยขอเสนอแนะให้พัฒนาการแปรรูปแป้งมันสำปะหลังให้กว้างขวางขึ้น พยายามเพิ่มมูลค่าแป้งมันสำปะหลังให้สูงขึ้นก่อนส่งออกกล่าวคือ ส่งเสริมการผลิตแป้งมันสำปะหลังแปรรูป (Modified Starch) ให้มากขึ้น และลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศโดยนำแป้งมันสำปะหลังไปใช้ในอุตสาหกรรมทำกาวเดกซตริน (Dextrin) และทำแป้งขนมปัง ซึ่งมีลู่ทางที่จะลงทุนในเชิงการค้าขนาดใหญ่ได้และทำให้ช่วยเพิ่มการจ้างงานภายในประเทศและช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศอีกด้วย
Other Abstract: This thesis aims to study the structure, operation, together with the issues and problems in such operation of tapioca flour trading companies with and without factory. The study emphasized only the tapioca flour exporting company and focused on the major operation of production, purchasing of raw material, the exporting and the quality control of tapioca flour, in addition to test the hypothesis that tapioca flour trading company with, factory has a systematic operation and a better quality control of its products. The result of this study revealed that among the operations in production, purchasing of cassava root and tapioca flour exporting, both of the trading companies with and without factory have a systematic operation with slight difference. However, the result has shown that trading company with factory has a more systematic operation and a better quality control. The more systematic operation was due to the company has vertically integrated in the tapioca industry so that the operation started from production and marketing in both domestic and foreign market. Therefore, the operation ensures the delivery of orders in time. For better quality control comes from the fact that the product is produced by the company itself. The study has indicated that the purchasing of cassava root in some provinces, the tapioca flour factory faced with problems in competing with the local tapioca pellet and chip factories and problems in inaccurate starch content measuring. The tapioca flour exporting has problems in lack of business information, transportation and government policy and trade regulations which created delay in the operation. In addition, export market of tapioca flour was concentrated in only a few countries which caused instability of tapioca flour exports. Furthermore, flour export faced with trade restriction and barrier in some markets and also has to compets with other starch. Therefore, it is recommended that the development of tapioca flour processing should aim at increasing its usages and value added. To this end, local modified starch processing should be promoted and domestic tapioca flour utilization should be encouraged in industrial application such as dextrin and food preparation like bakery. All these have a good commercial prospect which will increase domestic employments and saving of foreign exchanges.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17031
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerad_Ti_front.pdf507.28 kBAdobe PDFView/Open
Teerad_Ti_ch1.pdf612.68 kBAdobe PDFView/Open
Teerad_Ti_ch2.pdf660.5 kBAdobe PDFView/Open
Teerad_Ti_ch3.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Teerad_Ti_ch4.pdf894.92 kBAdobe PDFView/Open
Teerad_Ti_ch5.pdf673.96 kBAdobe PDFView/Open
Teerad_Ti_back.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.