Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17049
Title: | การศึกษาการจัดการโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา |
Other Titles: | The study of the management of an agricultural development project of Nong-Wa village, amphoe Phanom Sarakham, Chachoengsao province |
Authors: | ถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ |
Advisors: | พิเชษฐ์ เหล่าเกษม จินตนา บุญบงการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Subjects: | การจัดการธุรกิจ โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาการจัดการโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า คือ เพื่อศึกษาความเป็นมาของการจัดตั้งโครงการ ความช่วยเหลือที่ธุรกิจเอกชน ธนาคารพาณิชย์และรัฐบาลให้แก้โครงการ ศึกษาการจัดการ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ศึกษาปัญหาในการดำเนินงาน วิเคราะห์ลักษณะพื้นฐาน และทัศนคติของเกษตรกรโครงการสุกรพันธุ์ ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อสถาบันที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาและค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร รายงาน และจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ เกษตรกรและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผลที่ได้รับจากการศึกษามีดังนี้ โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอพนมสารคาม ธนาคารกรุงเทพ จำกัด และบริษัทฟาร์มกรุงเทพ จำกัด เพื่อพัฒนาการเกษตรแบบเก่ามาสู่แบบใหม่ ด้วยการวางแผนด้านการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดระบบหมุนเวียนด้วยการปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ และนำผลิตผลที่ได้มาใช้เลี้ยงสุกร โดยผสมกับหัวอาหาร มูลสุกรที่ได้จากการเลี้ยงสุกรนำมาใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน คณะผู้ดำเนินงานหวังว่าการจัดตั้งโครงการลักษณะเช่นโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าจะช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานของเกษตรกร เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และช่วยให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ดีขึ้นและเป็นการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสุกรแบบอุตสาหกรรมที่มั่นคง ด้านความรับผิดชอบของคณะดำเนินงานที่มีต่อโครงการ นายอำเภอพนมสารคามเป็นผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวก ช่วยจัดหาที่ดินที่เหมาะสมในการจัดทำโครงการ จัดระบบสาธารณูปโภค อันได้แก่ ถนน ประปา ไฟฟ้า การจัดการป้องกันโจรภัย คอยเอาใจใส่และควบคุมดูแลการดำเนินงานในหมู่บ้านให้เป็นไปอย่างยุติธรรม ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สนับสนุนด้านสินเชื่อ โดยอนุมัติวงเงินกู้ 15,200,000 บาท และเงินเบิกเกินบัญชี 11,400,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,600,000 บาท โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัดคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ระยะปลอดหนี้ 18 เดือน และผ่อนชำระคืนทุก 6 เดือน บริษัทฟาร์มกรุงเทพ จำกัด มีความรับผิดชอบการจัดรูปที่ดิน สร้างถนน อ่างน้ำ บ้านพักเกษตรกร โรงเรือนเลี้ยงสุกร สำนักงาน และสโมสร บ้านพักผู้จัดการฟาร์ม บ้านพักสัตวบาล และอาคาร โรงงานผสมอาหารสัตว์ รับผิดชอบการผลิต โดยจัดหาพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ยารักษาโรคสัตว์และอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ ให้คำแนะนำด้านการผลิต การจัดการฟาร์ม รับผิดชอบการตลาด ประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรโครงการสุกรพันธุ์ เฉลี่ยตลอดปีไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2,000 บาท และเกษตรกรโครงการสุกรขุน เดือนละ 1,500 บาท เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และรับผิดชอบการชำระหนี้คืนธนาคารแทนเกษตรกรด้านผลผลิตสุกร โครงการสุกรพันธุ์ให้ผลผลิตจากการดำเนินงานในปี 2521 และ 2522 ดังนี้ ปี 2521 ปี 2522 จำนวนสุกรแม่พันธุ์ 1,020 1,140 จำนวนลูกสุกรหย่านม 8,122 18,959 จำนวน ลูก/ครอก/ปี ของแม่สุกร - 15.73 จำนวนลูกหย่านม/แม่ 8.44 8.57 ด้านเกษตรกร เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าได้รับสินเชื่อจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด รายละ 700,000 บาท โดยแบ่งเป็นเงินกู้ 400,000 บาท และเงินเบิกเกินบัญชี 300,000 บาท เกษตรกรได้รับสุกรแม่พันธุ์ครอบครัวละ 30 ตัว และสุกรพ่อพันธุ์ครอบครัวละ 2 ตัว และจากการสอบถามเกษตรกรโครงการสุกรพันธุ์ 34 ครอบครัว พบว่าเกษตรกร 88.24% มีสภาพครอบครัวดีขึ้นกว่าก่อนเข้ามาอยู่ในโครงการและฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น กล่าวคือ เกษตรกรมีรายได้ และการออมทรัพย์เพิ่มขึ้น และมีจำนวนหนี้สินลดลง ดังแสดงต่อไปนี้ ปี 2520 (บาท) ปี 2521 (บาท) ปี 2522 (บาท) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,494.00; 2,282.00; 2,929.00 การออมทรัพย์เฉลี่ยต่อเดือน 360.29; 610.20; 1]736.43 หนี้สินเฉลี่ยต่อเดือน 524.02; 247.18; 113.97 เมื่อครบกำหนดโครงการ 7 ปี ซึ่งโครงการชำระหนี้สินคืนธนาคารหมดแล้ว เกษตรกรจะได้รับที่ดินจำนวน 25 ไร่ พร้อมบ้านและโรงเรือนเลี้ยงสุกรเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง จากการศึกษาพบว่า ปัญหาของโครงการได้แก่ ปัญหาด้านการศึกษาของเกษตรกร ซึ่งมีเกษตรกรถึงร้อยละ 91.17 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หรือต่ำกว่า ทำให้เกษตรกรอาจจะไม่สามารถเรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าเป็นโครงการแรกที่เริ่มดำเนินการในระบบเบ็ดเสร็จ ดังนั้นวิธีการปฏิบัติในระยะต้นจึงอาจเข้มงวดไปบ้าง ทำให้เกษตรกรรู้สึกถูกจำกัดสิทธิ บางครั้งเกษตรกรมีปัญหาด้านความปลอดภัยจากการถูกพายุพัด ทำให้บ้านและเล้าสุกรซึ่งโครงการได้ทำการประกันวาตภัยไว้แล้วเสียหาย ในปีแรกโครงการพืชไร่ ประสบความล้มเหลว การปรับปรุงสภาพดิน ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ผลผลิตที่ได้ต่ำ และควรมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น จากการดำเนินโครงการนี้ คณะผู้ดำเนินงานซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันโครงการต่างได้รับผลประโยชน์มากกว่าเสีย เช่น ธนาคารได้รับความมั่นใจในการได้รับชำระหนี้สิน บริษัทได้รายได้จากการขายพันธุ์สัตว์ อาหาร ยา และอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แหล่งผลิตที่มีคุณภาพ และสม่ำเสมอ ประชาชนได้บริโภคเนื้อสุกรที่มีราคาถูก ดังนั้นโครงการควรเป็นเศรษฐกิจรูปหนึ่งที่อาจเผยแพร่ให้รัฐบาล และภาคธุรกิจเอกชนอื่น ๆ นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการประกอบการได้ทั่วประเทศ อนึ่ง หากมีการพัฒนาการผลิตแผนใหม่ แต่มิได้รับการสนับสนุนด้านการส่งออกเช่น ตลาดต่างประเทศไม่ยอมรับคุณภาพของสุกรส่งออก และไม่รับรองโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย ดังนั้นอาจมีปัญหาสุกรล้นตลาด รัฐบาลจึงควรสนับสนุนให้มีการเปิดโรงฆ่าสัตว์เสรี |
Other Abstract: | The objective of the study of the management of an agricultural development project of Nong-wa village, amphoe Phanom Sarakham, Chachoengsao province is to study the management of the project, assistance from the private sectors, commercial banks and the government, valuation of the operation, administration problems, analysis of the fundamental ideals of pig breeding farmers, changes in economy and ideals of the farmers, all are from studies, brouchers, other related publications, reports and interviews from officials, farmers, related persons. The results are as follows: An agricultural development project of Nong-wa village has been set up with the cooperation of a group of persons comprised of Phanom Sarakham district officer, Bangkok Bank Ltd., and Bangkok farm Co., Ltd., to modernize agriculture with planning and efficient management, through crop rotation for animal feed together with concentrated feedstuffs. The excretion from pigs will fertilize the soil. The management team hopes that project such as this one will improve the fundamental problems of the farmers, and increase income to ensure their well-being, it guarantees repayment of loans to financial institutions, as well as increase export revenues from this promoted pig raising industry. The district officer is responsible for cooperations, regarding suitable lands with infrastructures i.e. roads, water, electricity and security. He determines to take good care and run the village with justice. Bangkok Bank Ltd. Approved a loan of 15,200,000 Baht and overdraft of 11,400,000 Baht, both totaling 26,600,000 Baht with interest rate 12% per annum, a grace period of 18 months is granted, and half yearly installment. Bangkok farm co., ltd. Is responsible for the land reform, road construction, water tank, farmers’ houses, pig-houses, offices and clubs, housing for farm managers, animal husbandry staffs, feed mixing plants, pig-breeders, animal feeds, animal health products, and housing equipments. They will advise production, farm management and marketing, ensure breeder farmers with income of not less than the average of 2,000 baht per month, fattening pig farmers with 1,500 baht per month. They guarantee repayment of loans to the bank on behalf of farmers. Pig breeder production in B.E. 2521, 2522 as follows:- 2521; 2522 Breeder sown: 1,020 heads; 1,140 heads Piglets after lactation: 8,122 heads; 18,959 heads Litter size/year: - 15.73 heads Litter size: 8.44 heads; 8.57 heads Each farmer family has a credit line of 700,000 baht from Bangkok Bank Ltd. Divided into a loan of 400,000 baht and overdraft of 300,000 baht. Each family receives 30 breeder sows and 2 breeder boars. Enquiries to 34 families found that 88.24% are better off after joining this village. Their economy is better with more income and savings, their liabilities are reduced as follows:- 2520 (baht) : 2521 (baht) : 2522 (baht) Average Income/month: 1,494.00; 2,282.00; 2,929.00 Average Savings/month: 360.29; 610.20; 1,763.43 Average Liabillities/month: 524.02; 247.18; 113.97 After 7 years of the project when loans are repaid, the farmers will own their land of 25 rais with housing and pig houses. From studies, problems are found that 91.17% of farmers are with only 4 years or less education background, they may not learn the pig-raising techniques efficiently. Since this is the first project, farmers might feel much restricted. Security is poor, insured houses and insured pig houses are sometimes damaged by storms. Final year crops have failed, soil improvement has not been take care as targeted, yields are therefore very low and need more improvement. From this project the management team who guarantee the whole project has reaped more benefits than loss. Bank is ensured repayment of loans, the company earns revenued from sales of breeder pigs, animal feeds and health products, and equipment. Regular supply of live pigs becomes available, consumers can have moderately priced pork as their staple protein food. So it should be a model for both government and private sectors to implement throughout the country. With modern development and industrial raisings, but without hygienic slaughterhouse and export markets or processing industry, certainly supply will exceed demand, therefore infra-structure of market should be well planned. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 |
Degree Name: | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พาณิชยศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17049 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanomvong_Ta_front.pdf | 532.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thanomvong_Ta_ch1.pdf | 535.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thanomvong_Ta_ch2.pdf | 589.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thanomvong_Ta_ch3.pdf | 543.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thanomvong_Ta_ch4.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thanomvong_Ta_ch5.pdf | 825.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thanomvong_Ta_ch6.pdf | 889.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thanomvong_Ta_back.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.