Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17063
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการ "คิดเป็น" ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมพฤธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships among "Khit-Pen", science creative thinking, and physics learning achievement of mathayom suksa six students in Bangkok Metropolis
Authors: ตรองพจน์ รุกขวิบูลย์
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความคิดและการคิด
ความคิดสร้างสรรค์
ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. หาความสัมพันธ์ระหว่างการ “คิดเป็น” กับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตกรุงเทพมหานคร 2. หาความสัมพันธ์ระหว่างการ “คิดเป็น” กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตกรุงเทพมหานคร 3. หาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2526 จำนวน 355 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นจากโรงเรียนมัธยมศึกษาชาย หญิง และสหศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการ “คิดเป็น” แบบสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และทดสอสบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. การ “คิดเป็น” กับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. การ “คิดเป็น” กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The objectives of this research were as follows: 1. To study the relationship between “khit-pen” and science creative thinking of mathayom suksa six students in Bangkok metropolis. 2. To study the relationship between “Khit-pen” and physics learning achievement of mathayom suksa six students in Bangkok metropolis. 3. To study the relationship between science creative thinking and physics learning achievement of mathayom suksa six students in Bangkok metropolis. The samples of this study were 355 mathayom suksa six students in the academics year of 1983. They were stratified random sampled from boy, girl, and co-education secondary schools in Bangkok metropolis. The research instruments were “khit-pen” inventory, science creative thinking test, and science learning achievement test. The obtained data were analyzed by using pearson’s product mement correlation and t-test. The finding of this study were as follows: 1. There were no significant correlation between “khit-pen” and science creative thinking of mathayom siksa six students at the .01 level. 2. There were no significant correlation between “khit-pen” and physics learning achievement of mathayom suksa six students at the .01 level. 3. There were significant positive correlation between science creative thinking and physics learning achievement of mathayom suksa six students at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17063
ISBN: 9745641111
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Trongphojana_Ru_front.pdf381.46 kBAdobe PDFView/Open
Trongphojana_Ru_ch1.pdf386.82 kBAdobe PDFView/Open
Trongphojana_Ru_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Trongphojana_Ru_ch3.pdf501.95 kBAdobe PDFView/Open
Trongphojana_Ru_ch4.pdf242.16 kBAdobe PDFView/Open
Trongphojana_Ru_ch5.pdf453.76 kBAdobe PDFView/Open
Trongphojana_Ru_back.pdf968.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.