Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17407
Title: แม่ในตำนานเทพที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง โคะจิกิ และ นิฮน โฌะกิ
Other Titles: The mother in the myths in Kojiki and Nihonshoki
Authors: ภัทร์อร พิพัฒนกุล
Advisors: อรรถยา สุวรรณระดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: วรรณกรรมญี่ปุ่น
ตำนาน
มารดา
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาภาพลักษณ์ บทบาท และอารมณ์ความรู้สึกของแม่ในตำนานเทพจากวรรณกรรมสองเรื่องคือ โคะจิกิ ซึ่งเป็นวรรณกรรมประเภทเรื่องเล่าที่เชื่อกันว่าเป็นงานประพันธ์ลายลักษณ์อักษรเล่มแรกของญี่ปุ่น และ นิฮนโฌะกิ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น โดยนำตำนานของเทพหญิงสี่องค์ที่มีบทโดดเด่นและมีความสำคัญในฐานะแม่ที่ปรากฏในยุคแห่งเทพ ได้แก่ เทพอิสะนะมิ เทพอะมะเตะระซุ โคะโนะฮะนะโนะซะกุยะบิเมะ และโทะโยะตะมะบิเมะ เป็นตัวอย่างประเด็นศึกษา สรุปผลได้ดังนี้ 1. เทพผู้เป็นแม่ในตำนานเทพที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องโคะจิกิ และ นิฮนโฌะกิ มีภาพลักษณ์ของความเป็นหญิง มีการบรรยายถึงความเป็นแม่ที่เป็นรูปธรรมและสมจริง และยังสื่อให้เห็นถึงความพิเศษและอภินิหารเหนือธรรมชาติของเทพหญิง 2. ตำนานเทพในโคะจิกิ และ นิฮนโฌะกิ แสดงให้เห็นว่าการคลอดผ่านอวัยวะเพศหญิงเป็นบทบาทสำคัญของแม่ (ในตำนาน เทพชายบางองค์สามารถให้กำเนิดบุตรได้) เทพหญิงทั้งสี่มีบทบาทเป็นแม่ของทายาทเทพสวรรค์ซึ่งมีฐานะเป็นต้นตระกูลจักรพรรดิ และตำนานที่เกี่ยวกับเทพผู้เป็นแม่ยังแสดงให้เห็นถึงการแผ่ขยายอำนาจของจักรพรรดิในการรวบรวมโลกให้เป็นหนึ่งเดียว 3. การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกของเทพผู้เป็นแม่ที่มีต่อลูกที่สะท้อนผ่านวรรณกรรม เรื่องโคะจิกิ และ นิฮนโฌะกิ มีน้อยมาก มีเพียงความอาลัยที่ต้องพรากจากลูกปรากฏในตำนานของโทะโยะตะมะบิเมะช่วงท้ายของยุคแห่งเทพเท่านั้น ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงของลักษณะนิสัยจากเทพไปสู่ความเป็นมนุษย์ โคะจิกิ และ นิฮนโฌะกิ แม้จะมีรายละเอียดปลีกย่อยในการเล่าตำนานเทพต่างกัน เนื่องจากมีวิธีการและวัตถุประสงค์การเรียบเรียงต่างกัน แต่ทั้งสองให้ความสำคัญกับแม่คล้ายคลึงกัน นับเป็นวรรณกรรมทรงคุณค่าที่สะท้อนวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของชาวญี่ปุ่นอันผูกพันกับธรรมชาติและความศรัทธาต่อเทพ ตำนานของเทพผู้เป็นแม่ยังถ่ายทอดแนวคิดของชาวญี่ปุ่นโบราณและเจตนาของผู้เรียบเรียงที่ต้องการสื่อถึงความเชื่อมโยงระหว่างจักรพรรดิกับตำนานให้เห็นอย่างชัดเจน
Other Abstract: This thesis is a study of the images, roles and emotional expressions of the mothers in two literary works : Kojiki (The Records of Ancient Matters), a chronicle believed to be Japan’s oldest written work, and Nihonshoki (The Chronicles of Japan) Japan’s national historical record. Four goddesses who appear in the Kamiyo (the age of the gods) section of the two chronicles and play significant roles as mothers, Izanami, Amaterasu, Konohana no Sakuyabime, and Toyotamabime are taken as case studies. The results of the study are as follows : 1. The four goddesses have feminine images. Their motherhood is described concretely and realistically. They possess special and supernatural powers. 2. The two chronicles portray giving birth through the vagina as an important role of mothers. (In the myths, some male divinities can also give birth) The four goddesses play the role of the mothers of the divinities who are the Japanese imperial line’s ancestors. The myths surrounding these mothers also relate how the emperors extend their power to unify the whole world. 3. The four goddesses rarely express their maternal feelings. Toyotamabime, who grieves at having to leave her child behind, is the only exception. This goddess appear around the end of the Kamiyo. Her emotional expressions reflect a shift from divine to mortal characteristics. Even though there are differences in details between the two chronicles, due to their different methods and purposes of compilation, they are similar in giving significance to the mother. They are valuable literary works that reflect the Japanese people’s way of life which is closely tied to nature and faith in divinities. The myths of the divine mothers also represent the way of thinking of the ancient Japanese people, and the compliers’ clear intention in connecting the Imperial house to the myths
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาญี่ปุ่น
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17407
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1464
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1464
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pat-on_ph.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.