Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17418
Title: | การแพร่กระจายวัฒนธรรมการแสดงรำโทน จังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Cultural dissemination of Ram Tone dancing in Lopburi province |
Authors: | รวีทิวา ไวยนันท์ |
Advisors: | ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | รำโทน การรำ -- ไทย -- ลพบุรี การละเล่น -- ไทย -- ลพบุรี |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | รำโทนเป็นการละเล่นของชาวบ้านทั่วไป โดยเฉพาะในแถบภาคกลาง ที่มีมาแต่โบราณและได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม กลุ่มรำโทนทั้ง 6 ตำบล ในจังหวัดลพบุรี พบว่าการเล่นรำโทนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มไทยเบิ้ง ได้แก่ บ้านหนองยายโต๊ะ บ้านบัวชุม บ้านมหาโพธิ บ้านโคกสลุง และกลุ่มไทยภาคกลาง ได้แก่ บ้านยางดทน บ้านแหลมฟ้าผ่า ในการเล่นรำโทนของชาวบ้านนั้น พบว่ามีโอกาสในการเล่นอยู่ 2 โอกาส ไดแก่ เล่นในงานเทศกาล ตรุษ, สงกรานต์ งานประเพรีต่างๆ และเล่นในยามว่างงาน เพื่อเป็นการพักผ่อนพบปะกันของหนุ่มสาว การเล่นรำโทนนั้น จะไม่มีพิธีกรรม โดยมีลำดับในการเล่นคือ เวลาค่ำใครมีโทนก็ถือมารวมกันที่ลานบ้าน พวกคนตีโทน ตีจังหวะ คนร้องนั่งอยู่ขอบลาน เริ่มตีกลองเรียกคน เพื่อให้หนุ่มสาวมารวมกันที่ลานบ้านเมื่อคนมาพอสมควรแล้วก็เริ่มรำขณะรำคนร้องก็ร้องเพลงต่อกันไปเรื่อยๆ เมื่อดึกมากแล้ว ก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ในส่วนของการแพร่กระจาย วัฒนธรรมการแสดงรำโทน กลุ่มไทยเบิ้งจะได้รับอิทธิพลจากโทนโคราชและเพลงโคราช โดยได้รับอิทธิพลทางบทเพลง จากทหารที่ทำถนนไปจังหวัดเพชรบูรณ์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และแต่งขึ้นเองบ้าง สำหรับกลุ่มไทยภาคกลางได้รับอิทธิพลจากโทนชาตรี รำมะนา และเพลงพื้นบ้านภาคกลาง โดยได้รับอิทธิพลทางบทเพลงจากชาวพระนครที่อพยพหนีสงครามมาอยู่ตามชนบท และแต่งขึ้นเองเช่นกัน การอนุรักษ์ การสืบทอด และพัฒนาการเผยแพร่การแสดงรำโทน จ. ลพบุรี นั้นพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบล ช่วยสนับสนุนงบประมาณ จัดหาเครื่องดนตรี เครื่องแต่งกายพร้อมทั้งพาไปแสดงตามที่ต่างๆ และโรงเรียนระดับประถม ไดเชิญผู้เล่นรำโทนไปเป็นวิทยากร สอนให้กับนักเรียน สำหรับการพัฒนาการเผยแพร่ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรีได้รวบรวมเพลง และปรับปรุงท่ารำให้เป็นระเบียบแบบแผน เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาระดับต่างๆ ใช้เป็นตัวอย่างในการฝึกเพื่อการสืบทอดการเล่นรำโทนให้คงอยู่สืบไป |
Other Abstract: | Ram Thone is a kind of folk amusement particular to the central region of Thailand. It is an ancient dance form; however, it became most popular during World War II. Based on field data collection, the six Ram Thone groups in Lop Buri can be divided into two sub-groups, namely Thai Beng and Thai Pak Klang. The former consist of the Ram Thone groups at Baan Nong Yai To, Baan Bua Choom, Baan Maha Po, and Baan Kok Saloong. The letter is comprised of the Ram Thone groups at Baan Yang Tone and baan Laem Fa Pha. The research results show that this type of dance was done on two occasions: 1) during festivals and New Year celebrations and 2) during free time (so that young adults could gather together). Although there were no special rituals, some steps of the Ram Thone dance can be identified as follows. First, those who had a “thone”, a kind of Thai drum-like folk musical instrument, collected at a courtyard in the evening. After that, the people who hit the thone sat at the edge of the courtyard and started to hit it to attract young adults to join them. Then, when there were enough participants, the group began to sing and dance. These activities were done until late, when the participants parted and went home. As regarded the cultural dissemination of the Ram Thone dance, the Thai Beng group was influenced by the Korat thone and songs through the soldiers constructing the road to petchaburi during World War II. However, the members of the group also composed some songs themselves. In comparison, the Thai Pak Klang group received an influence from Thone Chatri, cymbals, and central Thai folk songs. The songs were made known to the group by Bangkokians who escaped from the war to the countryside. Similar to the Thai Beng group, the Thai Pak Klang group also composed their own songs. With respect to spreading an awareness of the Ram Thone dance in Lop Buri, it was found that the provincial council helped to support financially, provide the musical instruments and costumes, and take performers to shows at various places. Also, primary schools invited guest speakers to teach the dance to their students. Finally, the college of Dramatic Arts in Lop Buri gathered the songs for the Ram Thone dance and standardized the dancing postures in order to guide educational institutions of different levels in practicing and sustaining the dance |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17418 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.896 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.896 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
raweetiwa_wa.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.