Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17585
Title: | การศึกษาสภาพและการดำเนินงานของห้องสมุดสถาบันการศึกษาวิชาการทหารสูงสุดของประเทศ |
Other Titles: | A Study of conditions and operation of high military training institute libraries in Thailand |
Authors: | กรรณิการ์ หาญนุสสรณ์ |
Advisors: | ทองหยด ประทุมวงศ์ เยาวดี รางชัยกุล |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ห้องสมุดทหาร -- ไทย |
Issue Date: | 2520 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพและการดำเนินงานของห้องสมุดสถาบันการศึกษาวิชาการทหารชั้นสูงของประเทศไทย 7 แห่ง ในด้านการจัดและบริหารงานห้องสมุดโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมถึงอาคาร สถานที่ ครุภัณฑ์ บุคลากร งบประมาณ หนังสือ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ งานเทคนิคของห้องสมุด รวมทั้งงานบริการ ตลอดจนความคิดเห็นของผู้ใช้ห้องสมุดสถาบันดังกล่าว แล้วนำผลที่ได้ไปสรุปเทียบกับมาตรฐานมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะตามที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้กำหนด เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาห้องสมุดให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นโดยลำดับ วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การค้นคว้าจากหนังสือ วารสารและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติและวิวัฒนาการของสถาบันการศึกษาวิชาการทหารชั้นสูงทั้ง 8 สถาบัน สัมภาษณ์หัวหน้าบรรณารักษ์และใช้วิธีสังเกตการณ์ ส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้าบรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุดของสถาบันฯ จำนวน 127 คน ได้รับแบบสอบถามคืนครบถ้วน 127 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิจัยพบว่า ไม่มีห้องสมุดสถาบันใดที่มีอาคารเป็นเอกเทศ ห้องสมุดอำนวยความสะดวกและสนองความต้องการให้ด้านการจัดหาหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆรวมทั้งอุปกรณ์โสตทัศนวัสดุให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุดอย่างพอเพียง ห้องสมุดส่วนใหญ่มีจำนวนบุคลากรพอเพียงแก่การปฏิบัติงานของห้องสมุด ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.43 ได้รับงบประมาณห้องสมุด มีการจัดหมวดหมู่หนังสือและทำบัตรรายการด้วยระบบทศนิยมดิวอี้ และระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน นอกจากนี้ยังได้คิดระบบขึ้นใช้เองเพื่อจัดหมวดหมู่สิ่งพิมพ์ประเภทงานภาคนิพนธ์ และตำราราเรียนของสถาบัน ตลอดจนมีบริการอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ในด้านความคิดเห็นของผู้ใช้ห้องสมุดนั้น ปรากฏว่าผู้ใช้ห้องสมุดมีความเห็นว่าเจ้าหน้าที่ห้องสมุด มีความกระตือรือร้นในด้านการให้บริการต่อผู้ใช้ห้องสมุดมาก ส่วนความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดและสิ่งพิมพ์ต่างๆมีเพียงพอแก่ความต้องการของผู้ใช้ในระดับปานกลาง ผู้ใช้ห้องสมุดมีความเห็นว่าตนมีส่วนร่วมในการเสนอจัดซื้อหนังสือน้อย เมื่อเทียบกับมาตรฐานห้องสมุดเฉาะ ปรากฏว่าห้องสมุดสถาบันการศึกษาวิชาการทหารชั้นสูงของประเทศไทยส่วนใหญ่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด นอกจากในด้านคุณวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ของบรรณารักษ์ห้องสมุดบางสถาบัน ห้องสมุดบางแห่งไม่มีสถานภาพเป็นหน่วยงานทางวิชาการ และไม่ได้รับงบประมาณในส่วนของห้องสมุด จำนวนวารสารยังต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ข้อเสนอแนะเพื่อให้ห้องสมุดสถาบันการศึกษาวิชาการทหารชั้นสูงของประเทศ เป็นห้องสมุดที่ได้มาตรฐานขั้นต่ำโดยสมบูรณ์ จึงควรแก้ไขปัญหาในส่วนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน คือ คุณวุฒิของบรรณารักษ์ งบประมาณ สถานภาพของห้องสมุด และจำนวนวารสาร นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงห้องสมุดโดยส่วนรวมอีกด้วย ดังนี้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 1.ในส่วนที่เกี่ยวกับการปรับปรุงห้องสมุด มีดังนี้ 1.1ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานที่ให้เป็นที่น่าสนใจและดึงดูดผู้ใช้ห้องสมุดยิ่งขึ้น 1.2ควรจัดให้มีนิทรรศการเกี่ยวกับสถาบันโอกาสที่เหมาะสม เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ห้องสมุดทั้งต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใช้ห้องสมุด 1.3ควรจัดแยกสิ่งพิมพ์ที่ผู้ใช้ห้องสมุดมีความต้องการใช้และจำเป็นต้องใช้อยู่เสมอต่างหากจาก สิ่งพิมพ์อื่นๆ 1.4จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดแจกจ่ายแก่ผู้ใช้ห้องสมุด 1.5ควรจัดหาครุภัณฑ์ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานห้องสมุดไว้ให้ พร้อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่ 1.6ควรมีการสำรวจการให้บริการของห้องสมุด 1.7ควรจัดทำแผนงานของหัวหน้าบรรณารักษ์ เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจในด้านการ บริหารงานห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพ และช่วยในการประเมินคุณค่าของห้องสมุด 1.8การจัดเก็บเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มิใช่หนังสือและวารสาร ควรจัดเก็บในรูปของเอกสาร โดยจัดทำ หัวเรื่องทางวิชาการทหารให้ละเอียดเท่าที่จำเป็น และคิดว่าจะสะดวกและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้มากที่สุด 2.ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้บริหาร (หรือผู้บังคับบัญชา) ของห้องสมุด 2.1ควรมีการพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดของสถาบันการศึกษาวิชาการทหาร ชั้นสูงของประเทศไทยขึ้น 2.2จัดตั้งคณะกรรมการห้องสมุดของแต่ละสถาบัน เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในด้านต่างๆ 2.3ควรส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในทุกๆด้าน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17585 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kannika_Ha_front.pdf | 642.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kannika_Ha_ch1.pdf | 424.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kannika_Ha_ch2.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kannika_Ha_ch3.pdf | 314.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kannika_Ha_ch4.pdf | 3.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kannika_Ha_ch5.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kannika_Ha_back.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.