Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17774
Title: | ผลของเวลาและการตรวจแบบฝึกหัดต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา |
Other Titles: | Effects of class schedule and exercise correction on mathematics achievement of certificate of education students |
Authors: | ไพฑูรย์ บุญวัฒนวิบูลย์ |
Advisors: | อุทุมพร ทองอุไทย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- แบบฝึกหัด คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
Issue Date: | 2518 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของเวลาและการตรวจแบบฝึกหัดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาและยังศึกษาถึงผลของเพศที่มีต่อผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย ในการทดลองทำการสุ่มเลือกนักศึกษาของวิทยาลัยครูนครปฐมมาจำนวน 72 คน แล้วสุ่มแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน โดยแต่ละกลุ่มถูกกำหนดให้เรียนในตอนเช้า หรือตอนบ่ายพร้อมทั้งได้รับการตรวจหรือไม่ได้รับการตรวจแบบฝึกหัดควบคู่กันไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการวิเคราะห์ข้อมูลความแปรปรวนร่วมแบบ 2x2 และแบบองค์ประกอบเดียว ได้ผลดังต่อไปนี้คือ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .10 ระหว่างการเรียนคณิตศาสตร์ในตอนเช้ากับตอนบ่าย การตรวจกับการไม่ตรวจแบบฝึกหัด และปฏิกิริยาร่วมระหว่างตัวแปรทั้งสองนี้ อย่างไรก็ตาม พบว่านักศึกษาชายมีผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ดีกว่านักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .10 |
Other Abstract: | The purposes of this experiment are to find the effects of class schedule and exercise correction on mathematics achievement of the Lower Certificate of Education students and of male versus female students. 72 Nakornpathom Teacher College students are randomly selected and divided into 4 groups, each receives a combination of morning or afternoon class schedule and exercise correction or not correction. The 2X2 and one-way analysis of covariance are used to analyse the data. The results are as follow: There is no significant difference at .10 Level between the two types of class schedules, between the exercise correction or not correction, and the interaction of the two variables. However, male students have better mathematics achievement than female students (p <.10). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17774 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paitoon_Bo_front.pdf | 370.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Bo_ch1.pdf | 454 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Bo_ch2.pdf | 718.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Bo_ch3.pdf | 405.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Bo_ch4.pdf | 291.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Bo_ch5.pdf | 379.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Bo_back.pdf | 546.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.