Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17876
Title: | การนำของเสียประเภทฉลากพลาสติกมาใช้ประโยชน์ในการทำคอนกรีตเบา |
Other Titles: | Utilization of plastic label waste for making light weight concrete |
Authors: | ศิชน คูณทอง |
Advisors: | เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ วิเชียร ชาลี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | คอนกรีต ปูนซีเมนต์ ฉลาก การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์ ของเสีย โลหะหนัก |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงการนำของเสียประเภทฉลากพลาสติกมาใช้ประโยชน์ในการทำคอนกรีตเบาชนิดรับน้ำหนัก ซึ่งฉลากพลาสติกได้มาจากกระบวนการรีไซเคิลแก้ว โดยได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการผสมคอนกรีตด้วยฉลากพลาสติกในมวลรวม ร้อยละ10, 20 และ 30 โดยปริมาตรของคอนกรีต เพื่อลดความหนาแน่นของคอนกรีตและกำจัดของเสีย โดยผ่านการย่อยให้ได้ขนาดไม่เกิน 2.36, 4.75 และ 9.4 มิลลิเมตร ใช้โฟมเป็นสารใส่เพิ่มเพื่อลดความหนาแน่น โดยมีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.30, 0.35 และ 0.40 โดยน้ำหนัก การทดสอบกำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และการดูดซึมน้ำ หลังจากการบ่มในอากาศเป็นเวลา 7, 14 และ 28 วัน โดยหล่อตัวอย่างคอนกรีตเบาขนาด 5×5×5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลการทดลองพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะนำของเสียประเภทฉลากพลาสติกมาใช้ในการผลิตคอนกรีตเบา โดยผลการทดสอบพบว่าขนาดของเสียประเภทฉลากพลาสติกสามารถแทนที่ลงในคอนกรีตเบาได้ร้อยละ 20 โดยปริมาตร ขนาดที่เหมาะสม คือ ขนาดระหว่าง 4.75 ถึง 9.4 มิลลิเมตร ผสมเข้าไปนั้นยังคงส่งผลทำให้กำลังรับแรงอัดสูงกว่า 110 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งเป็นค่ากำลังรับแรงอัดของผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก(มอก.57-2533) นอกจากนี้พบว่าอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 0.35 จึงมีความเป็นไปได้ในการใช้ของเสียประเภทฉลากพลาสติกมาใช้เป็นส่วนผสมในคอนกรีตเบา เพื่อใช้ในงานวัสดุก่อสร้างได้ |
Other Abstract: | The objective of this research was to find the possibility of using plastic label waste as aggregate in light weight concrete product process. The plastic label waste used in this study was collected from the glass recycling process. The samples were produced from plastic label waste and foam mixture at 10, 20 and 30 % by volume of concrete to reduce the density and dispose the wastes. The plastic label were cut to obtain the difference size of 2.36, 4.75 and 9.4 mm., Foam was used as the admixture to reduce density in concrete process. The concrete was produced by mixing water with binder (W/B) ratios of 0.30, 0.35, and 0.40 by weight of concrete. Concrete specimens of 50 x 50 x 50 mm³ were cast for compressive strength, density and water absorption tests at 7, 14 and 28 curing days. The results showed that the increases of plastic label reduce the compressive strength and density of concrete masonry blocks. However, the compressive strength of all concrete blocks, contained 20 percentage of plastic label by volume of concrete and the suitable size of plastic label waste was between 4.75 to 9.4 mm. was higher than 110 ksc which was suggested by TIS 57-2533 for hollow load bearing concrete masonry block. The result showed that the plastic label waste can apply to be an aggregate of light weight concrete in construction material |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17876 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.860 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.860 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sichon_ko.pdf | 14.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.