Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18455
Title: การเลือกสร้างรังและระยะการเจริญของผึ้งมิ้ม Apis florea และผึ้งม้าน Apis andreniformis ในจังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Nest site selection and development time of Red Dwarf Honey Bee Apis florea and Back Dwarf Honey Bee Apis andreniformis in Kanchanaburi Province
Authors: สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ
Advisors: สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์
สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ผึ้งมิ้ม
ผึ้งม้าน
Nest site selection
Honey bee
Apis florea
Apis andreniformis
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการสร้างรังของผึ้งมิ้ม Apis florea และผึ้งม้าน Apis andreniformis ในจังหวัดกาญจนบุรี โดยทำการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 – เมษายน 2551 พบว่าในฤดูฝน ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางกิ่งไม้ที่สร้างรังคือ 1.23 ± 0.55 ซม. (n=51) ในผึ้งมิ้มและ 0.89 ± 0.31 ซม. (n=9) ในผึ้งม้าน โดยกิ่งไม้ที่สร้างรังในผึ้งมิ้มมีขนาดใหญ่กว่าในผึ้งม้าน อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.035) ค่าระดับของสิ่งบดบังรังผึ้งมิ้ม คือ 3.91 ± 1.85 (n=57) ด้าน ในฤดูฝน และ 4.42 ± 1.5 (n=105 ) ด้าน ในฤดูแล้ง ส่วนระดับของสิ่งบดบังรังผึ้งม้านพบว่า มีค่า 5.1 ± 0.87 ด้าน (n=10) ในฤดูฝน และ 3.81 ± 1.6 ด้าน (n=11) ในฤดูแล้ง โดยสิ่งบดบังดังกล่าวในผึ้งม้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างฤดูฝนและฤดูแล้ง (p=0.035) ในขณะที่ระดับสิ่งบดบังในผึ้งมิ้มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.074) ในทั้งสองฤดู ในฤดูแล้ง ระยะทางเฉลี่ยระหว่างรังกับแหล่งน้ำในผึ้งมิ้ม คือ 48.24 ± 41.79 ม. (n=105) ซึ่งสั้นกว่าอย่างมีนัยสำคัญกับในระยะทางระหว่างรังและแหล่งน้ำในผึ้งม้านซึ่งมีระยะทางเฉลี่ย 81.81 ± 65.45 ม. (n=11) (p=0.019) การวิเคราะห์ลักษณะที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คือ พื้นที่ปกคลุมทรงพุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงของต้นไม้ที่สร้างรัง ในผึ้งทั้งสองชนิดพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในทั้งสองฤดู การศึกษาถิ่นอาศัยนี้บ่งชี้ว่าผึ้งมิ้มและผึ้งม้านมีความซ้อนทับกันของปัจจัยในการสร้างรังบางประการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแก่งแย่งแข่งขันกันในพื้นที่ที่มีทรัพยากรการสร้างรังอย่างจำกัด จากการศึกษาระยะการเจริญของผึ้งมิ้มและผึ้งม้านในจังหวัดกาญจนบุรี ช่วงเดือนมีนาคม 2552 – เดือนกรกฏาคม 2552 โดยศึกษาตั้งแต่ระยะไข่ หนอน และดักแด้ ของผึ้งงาน ผึ้งนางพญา และผึ้งตัวผู้พบว่าระยะไข่ หนอน และดักแด้ของผึ้งงานของผึ้งมิ้มมีระยะเวลาเท่ากับ 3.02 ± 0.57, 4.07 ± 0.64 และ9.57 ± 0.5 วัน (n=100) ตามลำดับ และผึ้งม้านมีระยะเวลาเท่ากับ 2.82 ± 0.38, 3.9 ± 0.3 และ7.27 ± 0.83 วัน (n=100) ตามลำดับ สำหรับผึ้งนางพญาผึ้งมิ้มมีระยะไข่ หนอน และดักแด้ เท่ากับ 3.06 ± 0.76, 5 ± 0.67 และ7.19 ± 0.59 วัน (n=32) ตามลำดับ และผึ้งม้านเท่ากับ 2.85 ± 0.54, 4.61 ± 0.5 และ 7.38 ± 0.5 วัน (n=21) ตามลำดับ ส่วนระยะการเจริญตั้งแต่ระยะไข่ หนอน และดักแด้ของผึ้งมิ้มและผึ้งม้าน มีค่าเท่ากับ 2.99 ± 0.39,6.72 ± 0.45 และ12.73 ± 1.03 วัน (n=100) และ2.99 ± 0.5, 6.63 ± 0.49 และ12.13 ± 0.97 วัน (n=100) ตามลำดับ และพบว่าผลรวมระยะการเจริญของผึ้งตั้งแต่ระยะไข่จนถึงดักแด้ของผึ้งงานและผึ้งตัวผู้ ของผึ้งมิ้มมากกว่าผึ้งม้าน โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นรายงานครั้งแรกในประเทศไทย
Other Abstract: The research aims to investigate the nesting factors of the red dwarf honeybees, Apis florea and the black dwarf honeybees, Apis andreniformis in Kanchanaburi province from May 2007 to April 2008. In rainy season, the mean of diameter of nesting branch were 1.23 ± 0.55 cm (n=51) and 0.89 ± 0.31 cm (n=9) in A. florea and A. andreniformis respectively which was significantly differences (p=0.035) between both species. The degree of nest shelter of A. florea was 3.91 ± 1.85 in rainy season and 4.42 ± 1.5 (n=105) in dry season. The degree of nest shelter of A. andreniformis was 5.1 ± 0.87 (n=10) in rainy season and 3.81 ± 1.6 (n=11) in dry season. The comparison of degree of nest shelter in rainy and dry season showed the significantly different in A. andreniformis (p=0.035) whereas in A. florea was not significantly different (p=0.074). In dry season, the mean of distance from nest to water sources from A. florea (48.24 ± 41.79 m, n=105) was significant shorter than A. andreniformis (81.81 ± 65.45 m, n=11) (p=0.019). The related characteristics, canopy area, diameter of host tree and the height of the host tree, were not significant difference between rainy and dry season in both bees species (p>0.05). The results indicate that A. florea and A. andreniformis have some overlap of nesting factors. These reflect that the competition of both species possibly occur when the resources of nesting are limited. The development time of two dwarf honeybees, A. florea and A. andreniformis were studied in Kanchanaburi province during March 2008 to July 2008. A. florea and A. andreniformis were used to observed development time of egg, larval and pupal stages of worker, queen and drone. The egg, larval and pupal stages of worker were 3.02 ± 0.57, 4.07 ± 0.64 and 9.57 ± 0.5 day (n=100), respectively in A. florea and 2.82 ± 0.38, 3.9 ± 0.3 and 7.27 ± 0.83 day (n=100), respectively in A. andreniformis. Queen developmental stages of egg, lava and pupa of A. florea were 3.06 ± 0.76, 5 ± 0.67 and 7.19 ± 0.59 day (n=32), respectively and in A. andreniformis were 2.85 ± 0.54, 4.61 ± 0.5 and 7.38 ± 0.5 days (n=21), respectively. The development time of egg, laval and pupal stage of A. florea and A. andreniformis drones were 2.99 ± 0.39,6.72 ± 0.45 and 12.73 ± 1.03 day (100) and 2.99 ± 0.5, 6.63 ± 0.49 and 12.13 ± 0.97 days (n=100), respectively. The total development period from egg to adult of worker, queen, and drone of A. florea were longer than A. andreniformis. The development time of A. andreniformis from this study is the first report in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18455
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.344
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.344
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sitthipong_wo.pdf32.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.