Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18576
Title: การออกแบบระบบที่ใช้สำหรับจัดตารางการผลิตในขั้นตอนการเย็บสำหรับโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่ม
Other Titles: Sewing scheduling system design for a garment factory
Authors: ชนกพร เกษรา
Advisors: เหรียญ บุญดีสกุลโชค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อุตสาหกรรมเสื้อผ้า
การวางแผนการผลิต
การกำหนดลำดับงาน
การกำหนดงานการผลิต
Clothing trade
Production planning
Scheduling
Production scheduling
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การจัดตารางการผลิตในขั้นตอนการเย็บสำหรับโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่ม แบ่งรูปแบบการเย็บเป็น 2 ขั้นตอนต่อเนื่องกันคือ ขั้นตอนเย็บชิ้นส่วนและขั้นตอนเย็บประกอบ ซึ่งงานทุกงานต้องผ่านการเย็บชิ้นส่วนก่อนจึงเริ่มการเย็บประกอบได้ เนื่องจากการจัดตารางการผลิตต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่หลากหลาย เช่น รูปแบบผลิตภัณฑ์ เวลารับเข้าวัตถุดิบและกำหนดเย็บเสร็จ เวลาเย็บของงานในแต่ละทีม นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเวลาติดตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้การจัดตารางการผลิตมีความซับซ้อนและขาดประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบสำหรับจัดตารางการผลิตในขั้นตอนการเย็บ สำหรับโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่ม เพื่อลดจำนวนงานสายและเวลาติดตั้งเครื่องจักร กระบวนการจัดตารางการผลิตในขั้นตอนการเย็บที่พัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การจัดลำดับงานเบื้องต้นเพื่อลดขอบเขตจำนวนงานที่ต้องนำมาพิจารณา โดยประยุกต์ใช้กฎความสำคัญในการจัดลำดับงาน ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของการผลิต เช่น ลักษณะของผลิตภัณฑ์รูปแบบเดียวกันควรผลิตต่อเนื่องกัน 2) การมอบหมายและจัดตารางการผลิตซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จำนวนงานสายมีต่าน้อย โดยใช้วิธีการหาคำตอบแบบฮิวริสติกในการแบ่งย่อยงาน และการแทรกงานไปยังลำดับงานที่เหมาะสมของทีมผลิตอื่น เพื่อให้ภาระงานของทีมแต่ละทีมมีความสมดุลกัน และ 3) การตรวจสอบและปรับปรุงตารางการผลิต ซึ่งเป็นการปรับปรุงคำตอบจากขั้นตอนที่ 2) เพื่อลดจำนวนงานสายให้เหลือน้อยที่สุด โดยการแบ่งงานและเพิ่มชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา ผลลัพธ์ของงานวิจัยคือระบบสารสนเทศสำหรับจัดตารางการผลิตที่สามารถบอกได้ว่า ทีมผลิตผลิตงานอะไรบ้าง และแต่ละงานมีเวลาเริ่มและเสร็จเมื่อใด ซึ่งแสดงด้วยแผนภาพกระแสข้อมูลขั้นตอนการจัดตารางผลิต หน้าจอการใช้งาน และรายงานตารางผลิตระดับปฏิบัติงาน ผลจากการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจ ระบบสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดตารางการผลิตระดับปฏิบัติการ
Other Abstract: In operation scheduling of sewing process for a garment factory, it can be classified into two consecutive stages: part preparation and assembly. As for the efficient operation scheduling, there are many factors to be considered e.g. product style, material available date, due date and team processing time. In addition, the appropriate machine set-up time should also be taken into account. These factors lead to the complexity and inefficiency of operation scheduling. This research aims to develop sewing scheduling system for a garment factory to reduce tardy jobs and machine set-up time. The developed process of sewing scheduling can be divided into three main steps 1) Preliminary selection to reduce combinatorial cases by applying priority rule for acquiring proper job sequence compatible to production constraints: products with identical style should be serially produced. 2) Job assignment and operation scheduling to minimize the number of tardy jobs by applying heuristic approach in job splitting and job pre-emption to be in the proper job sequence of other production team in order to balance every production team workload. 3) Operation schedule improvement to reduce emerging tardy jobs by splitting jobs or increase over time. The result of this research is information system with the capability on assigning jobs to each production team including start-end time of each assigned job through Data Flow Diagram (DFD), Graphic User Interface (GUI) and reports. The evaluation result shows that the developed system is highly satisfactory for it is demand responsive leading to the increase in efficiency in operation scheduling of sewing process
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18576
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1503
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1503
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanokporn_ka.pdf34.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.