Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1859
Title: การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน
Other Titles: Role performance of professional nurse in community hospital
Authors: อุษนันท์ อินทมาศน์
Advisors: สุชาดา รัชชุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: พยาบาล--การปฏิบัติงาน
โรงพยาบาลชุมชน
บทบาทที่คาดหวัง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ และศึกษาเงื่อนไขหรือปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน โดยศึกษาในโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 1 แห่ง ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth interview) จากพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 16 คน แล้ววิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่ได้ ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนมีการปฏิบัติบทบาทด้านการบริการสุขภาพประกอบด้วยบทบาทด้านการปฏิบัติการพยาบาล บทบาทด้านการบริหารจัดการ และบทบาทด้านวิชาการ ซึ่ง พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขตในเรื่องการรักษาโรค โดยพยาบาลวิชาชีพได้ให้บริการรักษานอกเวลาราชการแก่ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยเล็กน้อยถึงรุนแรง การปฏิบัติบทบาทเกินขอบเขตทำให้พยาบาลวิชาชีพมีความคับข้องใจและไม่มั่นใจในการทำงานพยาบาลวิชาชีพรับรู้บทบาทหน้าที่ของตนและต้องการให้งานการพยาบาลเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนด แต่ด้วยความจำเป็นด้านบุคลากร ทำให้พยาบาลวิชาชีพต้องปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาต่อไป ในการปฏิบัติบทบาทด้านการบริหารงานพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีบทบาทเป็นผู้นำในการบริหารงาน มีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ประสานงานด้านการบริหาร และการบริหารงานในโครงการเฉพาะกิจ ภาระงานที่มีปริมาณมากเกินขีดความสามารถ ประกอบกับเวลาที่จำกัดทำให้พยาบาลวิชาชีพรู้สึกไม่มีเวลาในการพักผ่อน อีกทั้งการได้รับมอบหมายงานที่ไม่มีความสนใจ ทำให้ไม่มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน การทำงานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และขาดประสิทธิภาพ อนึ่งภาระงานที่เหมาะสมจะเป็นการท้าทายความสามารถและก่อให้เกิดการพัฒนาความสามารถได้ ทางด้านการปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการพบว่า พยาบาลวิชาชีพรับรู้ว่าตนปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการแก่ผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการให้ความรู้เป็นรายบุคคลแก่ผู้รับบริการในแผนกที่ตนปฏิบัติงานอยู่ แต่การปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการในหน่วยงานมีน้อย เนื่องจากนโยบายด้านวิชาการของหน่วยงานไม่ชัดเจน ขาดการสนับสนุนให้มีการพัฒนาตนเอง ซึ่งพยาบาลวิชาชีพมีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่เสมอและพยายามที่จะแสวงหาโอกาสการพัฒนาด้วยตนเอง แม้ว่าพยาบาลวิชาชีพจะมีความคับข้องใจที่ต้องปฏิบัติบทบาทเกินขอบเขตหน้าที่ แต่ก็จำเป็นต้องปฏิบัติ โดยมีมุมมองในเชิงบวกว่าเป็นเพราะหน่วยงานขาดแคลนบุคลากร อีกทั้งต้องการให้หน่วยงานเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ พยาบาลวิชาชีพต้องการพัฒนาศักยภาพของตน เกี่ยวกับความรู้และทักษะด้านเวชปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการรักษา นอกจากนี้ได้เสนอแนะว่าการปฏิบัติงานด้านการรักษาโรค ควรมีการมอบหมายงานและกำหนดขอบเขตเป็นลายลักษณ์อักษร มีการควบคุมดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
Other Abstract: The objectives of this qualitative research were; to study the working experiences of registered nurses in working life, and to study the conditions or factors affecting the role and performance of registered nurses in a community hospital (30 bed size) in the Northern of Thailand. Data collecting was in-depth interview with tape recorded. Sixteen registered nurses with at least 3 years of experience were the key informants in the study. The findings, shown that the registered nurses in the community hospital performed 3 important roles, including practice role, administrative role, and academic role. These registered nurses performed their work beyond the duty because of lacking of medical personnel. They had performed the task of providing treatment to patients. They felt frustrating, and uncertain in their work. For the administrative role, they acted as a leader, participating in administrative work, and sometimes were assigned to administrate a special project. These work loaded limited their time, including working time and free time. Moreover, it affected the quality of the work. However, they thought, the appropriated workload will be challenged for the competency development. In the academic role, the registered nurses acknowledged the roles, and regularly performed the roles as an educator. Hence, there were not many academic performances in their work, because of lacking of vivid policy and support for personal development. These registered nurses had the intention to improve their competency and seeked. Although, the registered nurses felt frustrating with their performance beyond the duty, they had to accept the circumstances due to the lack of medical personnel and the needs of medical healthcare in the community. Therefore, these registered nurses would like to develop their ability in medical practice. In their opinion, the performance should be assigned and clearly specified in written, and they needed close supervision from physicians in order to prevent mulpractice.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1859
ISBN: 9741757603
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usanun.pdf973.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.