Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18595
Title: | ความถดถอยของประชาธิปไตยภายใต้รัฐบาลทักษิณและปูติน : ความท้าทายต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย |
Other Titles: | The democratic rollback under Thaksin and Putin's regimes : challenges to democratization process |
Authors: | ชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์ |
Advisors: | สิริพรรณ นกสวน รมย์ ภิรมนตรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ทักษิณ ชินวัตร, พ.ต.ท., 2492- ปูติน, วลาดิเมียร์ วลาดิมิโรวิช, ค.ศ. 1952- ประชาธิปไตย -- ไทย ประชาธิปไตย -- รัสเซีย รัฐบาล -- ไทย -- สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร, 2544-2549 รัฐบาล -- รัสเซีย -- สมัย วลาดิเมียร์ วลาดิมิโรวิช ปูติน, 1991- ไทย -- การเมืองและการปกครอง รัสเซีย -- การเมืองและการปกครอง Thaksin Chinnawat, 1949- Putin, Vladimir Vladimirovich, 1952- Democracy -- Thailand Democracy -- Russia (Federation) Cabinet system -- Thailand Cabinet system -- Russia (Federation) Thailand -- Politics and government Russia (Federation) -- Politics and government |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งตอบคำถาม 3 ประเด็นหลักคือ ประการแรก รัฐบาลทักษิณและปูตินเข้าสู่ตำแหน่งและบริหารประเทศภายใต้เงื่อนไขทางโครงสร้างและสถาบันทางการเมืองแบบใด อีกทั้งมีกระบวนการอธิบายอำนาจและความชอบธรรมอย่างไร ประการที่สอง รัฐบาลทักษิณและปูตินดำเนินนโยบายอย่างไรจึงทำให้เกิดรัฐที่เป็นผู้ล่า และประการที่สาม ผลจากการสร้างรัฐที่เป็นผู้ล่าส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร จากผลการศึกษาอาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลทักษิณและปูตินเข้าสู่ตำแหน่งและบริหารประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่มีกลไกเอื้อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยอยู่มาก อีกทั้งมีความชอบธรรมจากภูมิหลังในแง่อำนาจบารมี และอำนาจตามกฎหมายและเหตุผลรองรับ แต่ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาลทักษิณและปูติน กลับไม่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ รัฐบาลทั้งสองได้ใช้รัฐธรรมนูญ อำนาจความชอบธรรม และความนิยมจากประชาชนสร้างรัฐที่เป็นผู้ล่า ซึ่งเป็นพฤติการณ์ของประชาธิปไตยแบบสัมปทานผูกขาด (Delegative democracy) อีกทั้งเป็นเงื่อนไขให้เกิดความถดถอยทางประชาธิปไตย (Democratic rollback) |
Other Abstract: | To answer 3 main questions. First, under what kinds of structural and institutional conditions that the Thaksin’s and the Putin’s governments came to power? and how have the two governments explain their authority and legitimacy?; Second, how have the Thaksin’s and the Putin’s governments implemented their policies and administered the countries that led to “the predatory state”?; And third, what are the effects of the predatory state on the democratic development? The study finds that the Thaksin’s and the Putin’s governments came to power under the constitutional mechanism that favored democratic developments. Moreover, both leaders not only possessed legal/rational power, but also endowed with considerable charismatic authority. However, the Thaksin’s and the Putin’s governments were found unsuccessful in promoting democratization processes. The reasons for such failures came from the fact that the Thaksin’s and the Putin’s governments, instead of exercising the power to enhance democratic establishment, exploited various democratic constitutions, legal authorities and personal popularities to create a predatory state. Such a predatory state was witnessed in a form of “delegative democracy,” and hence bred a condition for democratic rollback. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18595 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.356 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.356 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chumphol_au.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.