Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18740
Title: การเตรียมพอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/ไฮโดรโฟบิกไคโตซาน
Other Titles: Prepartion of poly(lactic acid)/hydrophobic chitosan blends
Authors: เพียงรวี นกน้อย
Advisors: กาวี ศรีกูลกิจ
กฤษณา ศิรเลิศมุกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: พอลิแล็กทิกแอซิด
ไฮโดรโฟบิกไคโตซาน
โพลิเมอไรเซชัน
ไคโตแซน
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมไฮโดรโฟบิกไคโตซานสำหรับเป็นสารตัวเติมให้กับพอลิแล็กทิกแอซิดไฮโดรโฟบิกไคโตซานเตรียมขึ้นโดยเทคนิคคอมเพล็กซ์เชชันระหว่างไคโตซานและไดออกทิลซัลโฟซักซิเนต โดย ใช้อัตราส่วนผสมไดออกทิลซัลโฟซักซิเนตต่อไคโตซานที่ 3 : 1 และ 5 : 1 (โดยน้ำหนัก) หลังจากนั้นจึงนำ ไฮโดรโฟบิกไคโตซานที่ได้ไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดโดยเทคนิคการหลอมเหลวและการละลาย อัตราส่วนใน การผสมระหว่างพอลิแล็กทิกแอซิดและไฮโดรโฟบิกไคโตซาน 100:0, 95:5, 90:10, 85:15 และ 80:20 ตามลำดับ ทำการตรวจสอบโครงสร้างและสมบัติของไฮโดรโฟบิกไคโตซานประกอบด้วย หมู่ฟังก์ชัน สัณฐาน- วิทยา และเสถียรภาพทางความร้อนด้วยเทคนิค XRD, FTIR, SEM และ TGA การเป็นไฮโดรโฟบิกสามารถ ยืนยันด้วยผลการทดสอบการบวมตัวในไดคลอโรมีเทน ผลจาก ATR/FT-IR พบว่าที่ผิวของไฮโดรโฟบิกไคโตซาน มีหมู่ไฮดรอกซิลลดลงแสดงให้เห็นว่าไคโตซานดัดแปรมีความไม่ชอบน้ำเพิ่มขึ้นเป็นผลเนื่องจากการถูกห่อหุ้ม ด้วยไดออกทิลซัลโฟซักซิเนต ผลจาก XRD พบว่าความสามารถในการเกิดผลึกของไคโตซานลดลงเมื่อปริมาณ ของไดออกทิลซัลโฟซักซิเนตเพิ่มขึ้น เสถียรภาพทางความร้อนของ ไฮโดรโฟบิกไคโตซานลดลงประมาณ 20 ℃ เมื่อเติมไดออกทิลซัลโฟซักซิเนตปริมาณ 20 wt% ผล FTIR ของพอลิแล็กทิกแอซิด/ไฮโดรโฟบิกไคโตซาน พบพีก ที่ประมาณ 1640 cm⁻¹ ซึ่งเป็นพีกของหมู่เอมีนเกิดการเคลื่อนไปยังตำแหน่งเลขคลื่นที่ต่ำลงเนื่องจากการเกิด พันธะไฮโดรเจนระหว่างหมู่ N-H ของไคโตซานกับหมู่คาร์บอนิลของพอลิแล็กทิกแอซิด พันธะไฮโดรเจนที่เกิดขึ้น สามารถบ่งบอกการยึดติดกันที่ดีของไฮโดรโฟบิกไคโตซานกับพอลิแล็กทิกแอซิด เสถียรภาพทางความร้อนของ พอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/ไฮโดรโฟบิกไคโตซานลดลงกว่าพอลิแล็กทิกแอซิดเริ่มต้นเมื่อปริมาณของ ไฮโดรโฟบิกไคโตซานเพิ่มสูงขึ้น ผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลของ พลาสติไซเซอร์ของไดออกทิลซัลโฟซักซิเนตใน ไฮโดรโฟบิกไคโตซาน ซึ่งช่วยปรับปรุงความต้านทานต่อแรงกระแทกของพอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/ ไฮโดรโฟบิกไคโตซานให้ดีขึ้น โดยพอลิเมอร์ผสมที่ได้มีความแข็งลดลง และพบว่าพอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอ- ซิด/ไฮโดรโฟบิกไคโตซานสามารถต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียได้เนื่องจากผลของหมู่ NH₃⁺ ในไคโตซาน
Other Abstract: In this study, hydrophobic chitosan was prepared, aiming at applying this material as a filler for poly(lactic acid). Hydrophobic chitosan (dioctyl sulfosuccinate-chitosan complex) was prepared by a mechanical mixing of aqueous chitosan with sodium dioctyl sulfosuccinate using the dioctyl sulfosuccinate to chitosan ratios of 3:1 and 5:1 (by weight). The resultant hydrophobic chitosan was mixed with poly(lactic acid) using melt mixing and solution mixing. PLA to hydrophobic chitosan ratios of 100:0, 95:5, 90:10, 85:15 and 80:20 were prepared. The structure of hydrophobic chitosan and properties including functional group, morphology and thermal stability were characterized by XRD, FTIR, SEM and TGA techniques. The hydrophobic characteristic was also confirmed by swelling test (in dichloromethane). ATR/FTIR spectra of hydrophobic chitosan revealed that the hydroxyl group on the surface of hydrophobic chitosan markedly decreased, indicating an increase in hydrophobicity as a result of the coverage of dioctyl sulfosuccinate. The XRD results of hydrophobic chitosan showed that crystallinity of chitosan decreased with an increase in dioctyl sulfosuccinate content. The decomposition temperature of hydrophobic chitosan was decreased by 20 ℃ with the addition of 20 wt% dioctyl sulfosuccinate. FTIR spectra of PLA/hydrophobic chitosan samples indicated that the band at 1640 cm⁻¹ shifted to lower wave number due to occurrence of the hydrogen bonding between chitosan N-H group and PLA carbonyl group. This hydrogen bonding was indicative of good adhesion arising from the close proximity of hydrophobic chitosan to PLA. Thermal properties of PLA/hydrophobic chitosan blend was less stable than pristine PLA particularly that containing high hydrophobic chitosan content. This phenomenon was associated with the plasticizing effect of dioctyl sulfosuccinate moiety in hydrophobic chitosan. Fortunately, the impact strength of PLA/hydrophobic chitosan tended to be improved as a result of the decrease in the rigidity. In addition, antimicrobial activity of PLA/hydrophobic chitosan blend was observed due to the presence of active chitosan NH₃⁺ group
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18740
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1765
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1765
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phiangrawee_no.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.