Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18877
Title: | การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Other Titles: | A proposed instructional web-based model with resource-based learning process for developing analytical thinking and information utilization for problem solving of undergraduate students, Walailak University |
Authors: | อรรจน์ บัณฑิตย์ |
Advisors: | บุญเรือง เนียมหอม ประจักษ์ พุ่มวิเศษ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การเรียนการสอนผ่านเว็บ ความคิดและการคิด การแก้ปัญหา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐาน เพื่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเพื่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานที่มีผลต่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยการเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเพื่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย เว็บไซต์และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐาน เพื่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์ และการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประชากรในการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเพื่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหา คือนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสังคมสารสนเทศและความรู้ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเพื่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาพบว่านักศึกษามีพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานสูงขึ้นก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาของนักศึกษา มีการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาของนักศึกษาสูงขึ้นก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) การรับรองรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐาน เพื่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์ และการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 9 ท่านให้การรับรอง คิดเป็นร้อยละ 100 |
Other Abstract: | The research was conducted on undergraduates at Walailak University. The study focuses on web-based instruction that applies resource-based learning (RBL). The purposes were to 1) explore the development of analytical thinking skills and the ability to use information-based for problem solving through web-based instruction and RBL. 2) observe the learning phenomena occurred with the undergraduates at Walailak University. 3) study the results of using web-based instruction and RBL on the students' thinking, and problem-solving skills. 4) present the model of web-based instruction that incorporates RBL to develop analytical thinking skills, and to enhance information-based problem solving for the undergraduate students at Walailak University. The research methodology consisted of four steps. 1) A questionnaire survey of students' attitude at Walailak University on opinions, problems and needs for Information Technology and Communication in learning. 2) The development of web-based instruction model that made use of resource-based instruction and learning process to enhance students' analytical thinking and skills to use information for problem-solving. 3) The trial of the model on 342 students taking the same course in trimester 1/2007, which lasted for 10 weeks; then through questionnaire at the end of the course, students were asked for opinions. 4) Verification of the model by nine experts. Data were analysed through frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research results suggested that with the design used in the study, students showed high level of ability to apply analytical thinking skills and information-based problem solving skills, as well as to integrate new information and prior knowledge. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18877 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1114 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1114 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.