Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18981
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมในพุทธปรัชญา และปรัชญาภควัทคีตา |
Other Titles: | A comparative study of ethical judgement in Buddhist philosophy and the philosophy of the Bhagavad-Gita |
Authors: | สุขสันต์ จันทะโชโต |
Advisors: | ปรีชา ช้างขวัญยืน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | จริยศาสตร์ พุทธปรัชญา ปรัชญาฮินดู ปรัชญาเปรียบเทียบ |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิเคราะห์เรื่องนี้ เพื่อเรียนรู้ทัศนะเกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมซึ่งเป็นคำสอนประการหนึ่งของพุทธปรัชญาและปรัชญาภควัทคีตา และเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความคล้ายคลึงกันหรือความแตกต่างกันของคำสอนดังกล่าวในปรัชญาทั้งสองระบบ เนื่องจากปรัชญาทั้งสองระบบมีแนวความคิดทางอภิปรัชญาที่แตกต่างกันจึงมีเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่แตกต่างกันในรายละเอียด ส่วนในทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของผู้ทำดีหรือชั่วนั้นมีความคล้ายคลึงกัน รวมทั้งปรัชญาทั้งสองระบบเห็นพ้องต้องกันว่า การพัฒนาด้านจิตใจของมนุษย์ด้วยการปฏิบัติตามคำสอนทางจริยธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างสูง คำสอนเรื่องแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมนี้เป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู แต่ทั้งพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูก็มีแนวความคิดในเรื่องเกณฑ์ตัดสินความดีและความชั่วของบุคคลที่แตกต่างกันโดยมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง วิทยานิพนธ์นี้ได้ศึกษาเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมดังกล่าวเพื่อให้เข้าใจคำสอนทางจริยธรรมในปรัชญาอินเดียทั้งสองระบบอย่างลึกซึ้ง พุทธปรัชญาและปรัชญาภควัทคีตา เน้นเรื่องการควบคุมจิตใจตนเองเป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะถือว่าเป็นสาเหตุของการกล่าววาจาและการกระทำซึ่งมีผลทำให้คนแต่ละคนเป็นคนดี รู้จักบังคับตนเองไม่ให้ทำชั่ว ซึ่งหากทำผิดไปโดยไม่ตั้งใจก็จะเต็มใจแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นด้วยตนเอง คำสอนทางจริยธรรมจึงมีคุณค่าแก่มนุษย์ในแง่ที่ว่าสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ด้วยการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน พุทธปรัชญาและปรัชญาภควัทคีตาสอนตรงกันว่า ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว แต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำว่า ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการทำดีและทำอย่างไรจึงเรียกว่าเป็นการทำชั่วนั้นมีทัศนะสอดคล้องกันบางส่วนและแตกต่างกันในบางส่วน เช่นในเรื่องการฆ่าโดยมีเจตนาหรือมีการไตร่ตรองล่วงหน้าซึ่งพุทธปรัชญาถือว่าเป็นบาปในทุกกรณี แต่ปรัชญาภควัทคีตาถือว่าถ้าเป็นการมุ่งกระทำเพื่อคนส่วนใหญ่โดยทำเพราะเป็นหน้าที่ มีเจตนาจำนงที่จะรักษาความยุติธรรมไว้ และทำด้วยความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าก็ไม่บาป ซึ่งในจุดนี้ภควัทคีตามีหลักการที่คล้ายคลึงกับพุทธปรัชญาอยู่บ้าง แต่แตกต่างกันในแง่ที่พุทธปรัชญาไม่ยอมรับความมีอยู่ของพระเจ้าพุทธปรัชญาสอนว่า กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่มีอยู่อย่างอิสระ ไม่ขึ้นอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า แต่ปรัชญาภควัทคีตาถือว่า กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่กำหนดขึ้นโดยองค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์จึงเป็นที่มาหรือต้นกำเนิดของกฎแห่งกรรม พระองค์มีอำนาจเหนือกฎแห่งกรรมซึ่งมีผลต่อมนุษย์และทรงเป็นผู้ควบคุมให้กฎนี้ส่งผลต่อมนุษย์ตามความปรารถนาของพระองค์ จักรวาลและมนุษย์เกิดจากพรหมันและอำนาจดลบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นมนุษย์นอกจากจะมีชะตากรรมที่ขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองแล้วยังขึ้นอยู่กับความปรารถนาของพระองค์อีกด้วย และเกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมแม้จะเน้นหลักเจตนาของผู้กระทำ เช่น เดียวกับพุทธปรัชญาแต่ในปรัชญาภควัทคีตา เกณฑ์ตัดสินนี้มีความเกี่ยวโยงกับพระผู้เป็นเจ้าอย่างใกล้ชิด |
Other Abstract: | The purpose of this analytical study is two fold, namely, to search for points of view concerning moral judgment in Buddhist philosophy and the philosophy of Bhagavad-Geta, and to compare the teachings of the two systems of philosophy. In this study, it is shown that, owing to the difference in their concepts of metaphysic, moral judgement in the two systems of philosophy differs in details, but their point of view on good-deeds and bad-deeds are similar. In both systems, it is agreed that, spiritual development of man effected by following ethical teachings, as prescribed in religious-texts, is highly valuable. While it is generally agreed that teaching on the right-ways of living and moral judgement are the core for both Buddhism and Hinduism, their concepts of moral judgement, one interest of this study is, therefore, to learn more about moral judgement pertaining to the two systems of philosophy, in order that more in-sights into their teachings may be gained. Both Buddhist philosophy and Bhagavad-Gita philosophy stress on self-control as their supreme teaching. Their common view is that, self-control affects all one’s good words and deeds. And also, by self-control, all bad deeds are avoided, or when committed even unintentionally, one whole-heartedly corrects one’s own fault. In this context, it is seen that, ethical teachings are highly valuable to man in the sense that by adopting them as one’s guiding principles in one’s daily-life, peaceful co-existence among man is achieved. The teachings of both systems of philosophy agree that good-doers will obtain good results while bad-doers will obtain bad results, but, on what good or bad deeds are, the teachings agree in some but differ in others. For instance, willful or preconceived killing, which is regarded as sin for all cases in Buddhist philosophy, is not regarded as such if committed dutifully in order to maintain justice or for bhakti in Bhagavad-Gita philosophy. Moreover, on the law of karma, Buddhism teaches that the law exists by itself, independently of any God, but in Bhaghavad-Gita the law is regarded as given by God. Thus, He, who is above the law which affects man in accordance to His wishes, is the source or the originator of the law. Bhagavad-Gita’s view holds that everything in this universe including man has its origin in Bhrahman and His divine inspiration. Hence, not only is man’s desting dependent on his own deeds, but also on God will. It, therefore, holds true also to moral judgement which is closely associated with God. In conclusion, it is found in the study that, Buddhist and Bhaghavad-Gita’s teachings do agree on some common principles, but are widely different in their details. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18981 |
ISBN: | 9745648582 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sookson_Ch_front.pdf | 407.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sookson_Ch_ch1.pdf | 254.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sookson_Ch_ch2.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sookson_Ch_ch3.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sookson_Ch_ch4.pdf | 907.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sookson_Ch_back.pdf | 258.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.