Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19026
Title: การศึกษาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักศึกษาวิทยาลัยครู ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
Other Titles: A study of assertive behavior of the sutdents in Bangkok metropolis and other provincial teachers' colleges
Authors: สุจิตรา พรมนุชาธิป
Advisors: พรรณราย ทรัพยะประภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: พฤติกรรมเด็ก
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักศึกษาวิทยาลัยครูว่ามีมากน้อยเพียงใด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครูชาย 200 คนและหญิง 240 คน รวม 440 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2521 สุ่มจากวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร 3 แห่งและต่างจังหวัด 3 แห่ง โดยมีสมมุติฐาน คือ (1) นักศึกษาวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักศึกษาวิทยาลัยครูในต่างจังหวัด (2) นักศึกษาวิทยาลัยครูชายมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักศึกษาวิทยาลัยครูหญิง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสำรวจพฤติกรรมกล้าแสดงออกซึ่งดัดแปลงมาจาก The Assertion Inventory ของอิลลีน ดี. แกมบริล และเชอรีล เอ. ริชเช (Eileen D. Gambrill and Cheryl A. Richey) จากการใช้ t-test เปรียบเทียบความแตกต่างและหาค่าร้อยละของความถี่ของผู้ที่กล้าแสดงออกและไม่กล้าแสดงออก ปรากฏว่า (1) นักศึกษาวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักศึกษาวิทยาลัยครูในต่างจังหวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ (2) นักศึกษาวิทยาลัยครูชายมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกไม่แตกต่างจากนักศึกษาวิทยาลัยครูหญิง (3) นักศึกษาวิทยาลัยครูที่มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกมีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น นอกจากนั้นมีพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก (4) นักศึกษาวิทยาลัยครูเลือกพฤติกรรมที่ต้องการมีความกล้าในการแสดงออกมาขึ้น 3 อันดับแรกคือ การขอร้องให้บุคคลหยุดกระทำการอันเป็นที่รบกวนในที่สาธารณะ การปฏิเสธคำขอยืมของมีค่า และการเริ่มสนทนากับคนแปลกหน้า
Other Abstract: The purpose of this research was to study the assertive behavior of the student-teachers. The subjects were 200 male and 240 female students who were studying in the last year of the certificate of high education level in 1978, and randomly selected from 3 Bangkok metropolis and 3 other provincial teachers’ colleges. Assertive behavior was assessed by the Assertion Inventory. It was hypothesized that (1) the students in Bangkok metropolis were more assertive than the students in other provinces; (2) male students were more assertive than female students. Statistical methods used for data analyses were t-test and percentage. The results indicated that (1) the students in Bangkok Metropolis were significantly more assertive than the students in other provinces, which supported the hypothesis; (2) male and female students were not significantly different in assertiveness; (3) assertive students were only 25 per cent, the rest were nonassertive; and (4) situations which the students would like to be more assertive in the first 3 choices were: to ask the person who annoying them in a public situation to stop, to turn down a request to borrow valuables, and to initiate a conversation with a stranger.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19026
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujitra_Po_front.pdf448.66 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Po_ch1.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Po_ch2.pdf366.96 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Po_ch3.pdf763.28 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Po_ch4.pdf511.87 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Po_ch5.pdf342.32 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Po_back.pdf550.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.