Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19066
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความรู้ เจตคติ และทักษะอาชีพของกลุ่มสตรีชมรมแม่บ้านทหารอากาศ จังหวัดลพบุรี
Other Titles: Effects of organizing non-formal education activities on vocational knowledge, attitude and skills of members of the air force wives club in Lopburi province
Authors: มัทนียา ค้อมทอง
Advisors: วรรัตน์ อภินันท์กูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
สตรี -- ไทย -- ลพบุรี
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติสำหรับกลุ่มสตรีชมรมแม่บ้านทหารอากาศ จังหวัดลพบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ และเจตคติเกี่ยวกับอาชีพก่อนและหลังการทดลองกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความรู้ เจตคติและทักษะอาชีพของกลุ่มสตรีแม่บ้านทหารอากาศ จังหวัดลพบุรี ที่เป็นกลุ่มทดลอง 3) เพื่อศึกษาทักษะเกี่ยวกับอาชีพหลังการทดลองกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความรู้ เจตคติและทักษะอาชีพของกลุ่มสตรีแม่บ้านทหารอากาศ จังหวัดลพบุรี ที่เป็นกลุ่มทดลอง 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความรู้ เจตคติและทักษะอาชีพของกลุ่มสตรีแม่บ้านทหารอากาศ จังหวัดลพบุรี ที่เป็นกลุ่มทดลอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น โดยประชากรในวิจัย คือ กลุ่มสตรีในชมรมแม่บ้านทหารอากาศกองบิน 2 กองพลบินที่ 1 จ.ลพบุรี เป็นสตรีอายุตั้งแต่ 30 – 50 ปี จำนวน 550 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 23 คน เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 23 คน โดยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นเวลา 50 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความรู้ เจตคติและทักษะอาชีพของกลุ่มสตรีชมรมแม่บ้านทหารอากาศ จังหวัดลพบุรี แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาชีพ แบบวัดเจตคติเกี่ยวกับอาชีพ แบบสังเกตทักษะเกี่ยวกับอาชีพ แบบวัดความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการของกิจกรรม ได้แก่ (1) สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ร่วมกัน และกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้การฝึกทักษะอาชีพ (2) จัดกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5-7 คน (3) ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผน วินิจฉัย สร้างเป้าหมาย และกำหนดประเด็นที่จะต้องเรียนรู้และปฏิบัติ (4) ดำเนินการฝึกทักษะอาชีพตามความต้องการของผู้เรียนโดยหากมีปัญหาอาจจัดการเรียนเป็นกลุ่มย่อยศึกษาเฉพาะกรณีขึ้นได้ (5) ประเมินความก้าวหน้าและวางแผนการเรียนรู้ในขั้นต่อไป (6) ดำเนินการฝึกทักษะอาชีพซ้ำตามกระบวนการเดิม (7) จัดทำเอกสารเพื่อสรุปกระบวนการเรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป 2. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ และเจตคติเกี่ยวกับอาชีพหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยทักษะเกี่ยวกับอาชีพในด้านรวมทั้ง 6 อาชีพหลังการทดลองอยู่ในระดับมาก 4. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความรู้ เจตคติและทักษะเกี่ยวกับอาชีพของกลุ่มสตรีชมรมแม่บ้านทหารอากาศ จังหวัดลพบุรี อยู่ในระดับมาก
Other Abstract: The purposes of this study were to 1) to create non-formal education activities based on action learning for the air force wives club members in Lopburi province; 2) compare the results of non-formal education activities in vocational knowledge, attitude, and skills of the air force wives club members in Lopburi province between before and after the experiment; 3) study vocational skills of the air force wives club members in Lopburi province after the experiment; and 4) study participants’ satisfaction towards non – formal education activities. This research was pre-experimental research. Forty samples were selected from 550 air forces wives between the ages of 30 to 50. They were divided into two groups: 23 were in the experimental group and another 23 were in the controlled group. They involved in the activities for 50 hours. The research instruments were the activity plan, the vocational knowledge test, the vocational attitude test, the vocational skill observation form and the satisfaction form. The data were analyzed by using Means ( ), Standard Deviation (S.D.), and dependent-samples t (t-test) at .05 level of significance. The results of this study were as follows : 1. The program’s processes comprised of 1) to create nice learning environment/good atmosphere and to set learning objectives; 2) to divide participants into group of 5- 7; 3) to have a meeting for planning, examining, setting a goal, and issuing what to learn and practice; (4) practicing vocational skill and if there are any problems, the group members can be less than 5-7 persons; (5) assessing and evaluating the learning progress and plan for the next step; (6) repeating vocational skill implementation; and (7) making summary of a learning process report. 2. The results of activities experiment shown that the experimental group had means scores of vocational knowledge and attitude after experiment higher than before experiment at .05 level of significance. 3. The results of activities experiment shown that the experimental group had means scores of vocational skill after experiment at the high level. 4. The results of activities experiment shown that the experimental group had satisfaction towards non – formal education activities at the high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19066
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1368
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1368
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mathaneeya_ko.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.