Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19161
Title: | การเปรียบเทียบคุณสมบัติของทางสถิติของดัชนีตรวจจับการลอกข้อสอบ |
Other Titles: | A comparison of statistical properties of the indices for detecting answer copying |
Authors: | กฤษฎา ถิระโสภณ |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การทุจริต (การศึกษา) การวัดผลทางการศึกษา |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณสมบัติทางสถิติซึ่งได้แก่ ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการตรวจจับการลอกข้อสอบของดัชนีตรวจจับการลอกข้อสอบ อันประกอบด้วยดัชนี K[subscript 2], ดัชนี S[subscript 1], ดัชนี S[subscript 2] และดัชนี [omega] ภายใต้สถานการณ์จำลองซึ่งแตกต่างในเงื่อนไขของตัวแปรต้นด้านความยาวของแบบสอบ จำนวนผู้สอบ ระดับความสามารถของผู้ให้ลอก ร้อยละของจำนวนข้อสอบที่ถูกลอก ร้อยละของจำนวนผู้ลอก และวิธีการลอก รวม 128 สถานการณ์ ในการดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงทดลอง โดยนำข้อมูลผลการตอบข้อสอบปลายภาค ประจำรายวิชา 2702303 ของนิสิตที่เข้าสอบจำนวนทั้งสิ้น 250 คน มาจัดกระทำด้วยวิธี การจำลองสถานการณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ TAP, MULTILOG และ S-Plus ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้เขียนคำสั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ในโปรแกรม S-Plus เพื่อวิเคราะห์หาค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการตรวจจับการลอกข้อสอบของดัชนีตรวจจับการลอกข้อสอบ ผลการวิจัยพบว่า ดัชนี K[subscript 2] และ S[subscript 1] สามารถควบคุมระดับค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทุกสถานการณ์ โดยดัชนี S[subscript 1] เป็นดัชนีที่มีระดับค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ต่ำที่สุดในเกือบทุกสถานการณ์ ดัชนี S[subscript 2] สามารถควบคุมค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในสถานการณ์ที่ตัวแปรความยาวของแบบสอบเป็น 65 ข้อ และ ดัชนี [omega] สามารถควบคุมระดับค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในสถานการณ์ที่ตัวแปรความยาวของแบบสอบเป็น 35 ข้อ ตัวแปรความยาวของแบบสอบที่เพิ่มขึ้นมีอิทธิพลทำให้ค่าอำนาจการตรวจจับการลอกข้อสอบของดัชนี [omega] เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีอิทธิพลต่อค่าอำนาจการตรวจจับการลอกข้อสอบของดัชนี K[subscript 2], ดัชนี S[subscript 1] และดัชนี S[subscript 2] ตัวแปรจำนวนผู้สอบและตัวแปรร้อยละของจำนวนผู้ลอกไม่มีอิทธิพลต่อค่าอำนาจของการตรวจจับการลอกข้อสอบของดัชนีตรวจจับการลอกข้อสอบทั้งสี่ ตัวแปรระดับความสามารถของผู้ให้ลอกมีอิทธิพลต่อค่าอำนาจการตรวจจับการลอกข้อสอบของดัชนีตรวจจับการลอกข้อสอบทั้งสี่แต่ไม่สามารถระบุแนวโน้มของอิทธิพลที่ชัดเจนได้ ตัวแปรวิธีการลอกแบบลอกข้อสอบเฉพาะข้อยากและตัวแปรร้อยละของจำนวนข้อสอบที่ถูกลอกที่เพิ่มขึ้นมีอิทธิพลทำให้ค่าอำนาจการตรวจจับการลอกข้อสอบของดัชนีตรวจจับการลอกข้อสอบทั้งสี่เพิ่มขึ้น และโดยในเกือบทุกสถานการณ์ ดัชนี S[subscript 1] เป็นดัชนีตรวจจับการลอกข้อสอบที่มีค่าอำนาจการตรวจจับการลอกข้อสอบต่ำที่สุด |
Other Abstract: | The purposes of this study were to investigate and to compare the type I error rate and the detection rate of copying indices which were K[subscript 2] index, S[subscript 1] index, S[subscript 2] index and [omega] statistic for the conditions of 35-and 65-item tests, 100 and 250 sample sizes, 90[superscript th] and 60[superscript th] percentile rank-sources, 5% and 10% of copiers, random-and difficulty weighted-copying and 10%, 20%, 30% and 40% answer copying. Experimental Research was employed in answer copying simulation from 2702303 final examination test responses of 250 examinees. The TAP, MULTILOG and S-plus computer programs were employed in analysis processes. The programs in S-plus which were written and developed by researcher were used to analyze the type I error rate and the detection rate of copying indices. Results showed that K[subscript 2] index and S[subscript 1] index were able to control the type I error rates for all simulated situations. The S[subscript 2] index was able to control the type I error rates for 65-item test. The [omega] statistic was able to control the type I error rates for 35-item test. S[subscript 1] index was the most conservative copying index. Results also showed that the detection rate of [omega] increased with test length but not for K[subscript 2] index, S[subscript 1] index and S[subscript 2] index. The sample size and the percentage of copiers didn't affect the detection rates of the four copying indices. The ability levels of sources slightly affect the detection rates of the indices with no clear tendency. The detection rate of the indices slightly increased with difficulty weighted-copying. The detection rate of the indices increased if the percentage of copied items was higher. It was also found that the S[subscript 1] index had the lowest detection rate. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19161 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1077 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1077 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kridsada_th.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.