Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19171
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยฤทธิ์ สัตยาประเสริฐ | - |
dc.contributor.advisor | สุรเทพ เขียวหอม | - |
dc.contributor.author | ณัฐพิรา เนตรสว่าง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-23T09:09:21Z | - |
dc.date.available | 2012-04-23T09:09:21Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19171 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ประเมินวัฏจักรชีวิตของการสังเคราะห์นาโนซิงค์ออกไซด์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ โดยแบ่งผลกระทบออกเป็น 3 กลุ่มหลักคือ ผลกระทบต่อมนุษย์, ระบบนิเวศน์ และการใช้ทรัพยากร โดยใช้โปรแกรม SimaPro 6.0 และใช้ดัชนีวัดกลุ่มผลกระทบ Eco-indicator 99 ในการพิจารณาวิธีที่เหมาะสมในการสังเคราะห์และวิธีที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งจะพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดจากสารตั้งต้นที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ และยังรวมไปถึงสารพิษและโลหะหนักที่ถูกปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการสังเคราะห์ ดังนั้นงานวิจัยนี้แบ่งการประเมินวิธีการสังเคราะห์นาโนซิงค์ ออกไซด์ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือการะประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยวิธี Pyrolysis, Sol-gel, Precursor process และ Organochemical route โดยนาโนซิงค์ออกไซด์ที่สังเคราะห์ได้มีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 20-70 นาโนเมตร ซึ่งนำไปใช้เป็นสารเติมแต่ง จากผลการประเมินพบว่าวิธี Organochemical route ส่งผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากรแร่น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น แต่ส่งผลกระทบสูงในด้านอื่นๆ ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลกระทบสูงเนื่องมาจากเอทิลีนไกลคอลที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ ในขณะที่การสังเคราะห์ด้วยวิธี Pyrolysis ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าวิธีอื่นในด้านปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากการสังเคราะห์ด้วยวิธีนี้จะมีคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการสังเคราะห์น้อยที่สุด และส่วนที่สองของงานวิจัยนี้เป็นการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการสังเคราะห์นาโนซิงค์ออกไซด์ด้วยวิธี Solvothermal ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิกส์ โดยผลการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากตัวทำละลายสามกลุ่ม ได้แก่ อะโรมาติก, แอลกอฮอล์และไกลคอล พบว่าการใช้ตัวทำละลายแอลกอฮอล์และไกลคอลก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง | en |
dc.description.abstractalternative | This paper presents the Life Cycle Assessment (LCA) of ZnO nanoparticles synthesis in various different methods in order to compare the impact of the synthesis processes to the environment. The impacts have been classified into three groups including impact on the human, environment and mineral depletion. By using SimaPro 6.0 program and Eco-indicator99 index, we can identify the best practice and avoid the synthesizing methods that have high environmental impacts. To do this, we have looked into the effect of the input in the synthesis and the waste released during the process. This assessment separately considers two groups of synthesizing method categorized by the applications of ZnO nanoparticles produced. In the first part, the environmental impact of Pyrolysis, Sol-gel, Precursor process and Organochemical routh method are considered. These methods can obtain 20 to 70 nanometer ZnO. The results show that the Organochemical route method has the least environment impact in terms of mineral depletion because the reactants required do not use minerals as raw materials. Unfortunately, it affects the environment significantly in other way due to the use of ethylene glycol as an input. The Pyrolysis method has a minimum environmental impact of climate change because this method has the least carbon dioxide emission. The second part of the assessment is the environmental impact assessment of the nano ZnO synthesized by solvothermal method in the electronics industry. By studying the impact of three solvents – aromatic, alcohol and glycol, we have found out that the alcohol and glycol have high environmental impacts. | en |
dc.format.extent | 6648311 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1369 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สังกะสีออกไซด์ | en |
dc.subject | อนุภาคนาโน | en |
dc.title | การประเมินวัฏจักรชีวิตของกระบวนการผลิตนาโนซิงค์ออกไซด์ | en |
dc.title.alternative | Life cycle assessment of zinc oxide nanoparticles production | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเคมี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1369 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Natpira.pdf | 6.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.