Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิดานันท์ มลิทอง-
dc.contributor.authorโสภาค เจริญสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-25T07:40:59Z-
dc.date.available2012-04-25T07:40:59Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19204-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ของนิสิตระดับ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแบ่งปัจจัยเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพทั่วไปของผู้เรียน, สภาพแวดล้อมของสื่อและสถานศึกษา และปัจจัยภายใน ได้แก่ ทัศนคติต่อความมีวินัย, นิสัยการเรียน, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, ความเชื่ออำนาจในตน และทัศนคติต่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม รุ่นที่ 1 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2548 จำนวน 56 คน ซึ่งเป็นนิสิตที่เรียนจบในภาควิชาการอย่างน้อยร้อยละ 50 และกลุ่มตัวอย่างยังอยู่ในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งถือตามเกณฑ์พัฒนาการทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม ของ Kohlberg ถือว่ามีพัฒนาการทางด้านคุณธรรมจริยธรรม คงที่แล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบบสอบถามประกอบด้วย แบบวัดทัศนคติต่อความมีวินัย, แบบวัดนิสัยการเรียน, แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, แบบวัดความเชื่ออำนาจในตน, แบบวัดทัศนคติต่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และแบบวัดความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ สถิติค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ไคแสควร์ (Pearson Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยภายนอก ด้านสภาพทั่วไปของผู้เรียน และสภาพแวดล้อมที่ใช้ในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ 1.1 ปัจจัยด้านความรู้และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ในเรื่องของการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งมีระดับนัยสำคัญอยู่ที่ 0.01 1.2 ปัจจัยด้านสื่อ และสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 1.3 ปัจจัยด้านการวางแผนในการเรียน มีระดับนัยสำคัญอยู่ที่ 0.05 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายนอกด้านอื่น 8 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านเพศ, อายุ, จำนวนวิชาที่เคยเรียนออนไลน์, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน, ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต, ประสบการณ์ในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์, การมีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน และเวลาที่ใช้ในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 2. ปัจจัยภายใน ที่ส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ 2.1 ทัศนคติต่อพฤติกรรมความมีวินัยส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.01 2.2 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.01 2.3 นิสัยในการเรียนส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.01 อย่างไรก็ตาม ทัศนคติที่มีต่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และความเชื่อในอำนาจตนเอง ไม่ส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้เรียนให้ความสำคัญในเรื่องของความมีวินัยเป็นอันดับต้น เนื่องจากเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จทั้งในด้านการงาน และการเรียน, ในด้านนิสัยการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้ทำงานเป็นระบบ ขั้นตอน ,ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ผู้เรียนมีแรงจูงใจในเรื่องของความภาคภูมิใจที่ได้จบจากมหาวิทยาลัยมีชื่อ และเป็นผลให้สังคมยอมรับในความสามารถของผู้เรียน, ด้านทัศนคติต่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เรียนเห็นประโยชน์ในด้านของการเปิดโอกาสทางการศึกษา และลดค่าใช้จ่าย และด้านความเชื่อในอำนาจตนเอง ผู้เรียนเห็นว่า เป็นการไม่เกินความสามารถของผู้เรียนที่จะเรียนให้จบตามหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยได้วางแผนไว้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the factors affecting to e-learning disciplinary of master’s degree students in Cultural Management program, Chulalongkorn University. There two factors in this research are the External factors : Student background, Media and Study environment; and the Internal factors : Attitude in discipline, Learning Behavior, Reinforcement, Self-Efficacy, Attitude in e-learning. Subjects in this research are 56 students in academic year 2006 who pass 50% of coursework program and these subjects are adults who already passed standard in Morality Improvement of Kohlberg. The tools in the research are questionnaires and interview. The questionnaires are consisted of attitude of discipline, learning Behavior, reinforcement, self-efficacy, attitude in e-learning and e-learning disciplinary. Pearson Chi-Square correlation is used for evaluation. The research findings are summarized as follows: 1. The External factors about student background and environment that affected to e-learning disciplinary are 1.1 Factor in Knowledge and Skill in Computer and Internet used affects at the 0.01 level of significance. 1.2 Factor in Media and Study environment affect to e-learning disciplinary at the 0.01 level of significance. 1.3 Factor in Learner Planning affects at 0.05 level of significance. However, Eight factors (sex, age, online course that ever signed, income, experience in computer and internet used, experience in e-learning, owner computer and times to used in e-learning does not affect to e-learning disciplinary at level of significance. 2. Internal factors that affected to e-learning disciplinary such as 2.1 Attitude in Discipline affects at 0.01 level of significance. 2.2 Learning Behavior affects at 0.01 level of significance. 2.3 Reinforcement affects at 0.01 level of significance. However, Attitude in e-learning and Self-Efficacy does not affect to e-learning disciplinary at level of significance. In the interview, Learners mentioned Attitude in Discipline as the primary importance because it is the factors to succeed in working and studying. In the Learning Behavior factor, learners have systematic system in working step by step. In the Reinforcement factor, learners think that if they succeed in this program it means they have competency to graduate form high quality university. In the factor of Attitude in e-learning , learners view that e-learning can help them to save money and give the opportunity in education. In Self-Efficacy factor, learners think that they have competency to succeed in this program.en
dc.format.extent2227484 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1200-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์en
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษามหาบัณฑิต -- วินัยen
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ของนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeFactors affecting disciplines in e-learning of master's degree students in Cultural Management Program, Chulalongkorn Universityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1200-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sopark.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.