Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19229
Title: การพัฒนาคู่มือคุณภาพโดยใช้แนวคิดเครื่องมือควบคุมคุณภาพใหม่เจ็ดแบบ : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Development of a quality manual using the seven new quality control tools approach : a case study of Aquatic Resources Research Institute, Chulalongkorn University
Authors: สุมามาลย์ วิเศษสุข
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การควบคุมคุณภาพ
ประกันคุณภาพ -- คู่มือ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ -- การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือคุณภาพโดยใช้แนวคิดเครื่องมือควบคุมคุณภาพใหม่เจ็ดแบบของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อประเมินคุณภาพของคู่มือคุณภาพหลังการใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพใหม่เจ็ดแบบ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของบุคลากรหลังการใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพใหม่เจ็ดแบบ ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการพัฒนาคู่มือคุณภาพที่ประกอบไปด้วยคู่มือวิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่จะใช้สำหรับการประกันคุณภาพของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น และในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร นักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 42 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องการประกันคุณภาพ และแบบประเมินคู่มือคุณภาพ การอบรมเชิงปฏิบัติการและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยาย การใช้สถิติอ้างอิงโดยใช้สถิติทดสอบที (T-Test) ด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือคุณภาพที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้มาจากการระดมความคิดร่วมกันของผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำทุกคน โดยใช้แนวคิดเครื่องมือควบคุมคุณภาพใหม่เจ็ดแบบ ซึ่งคู่มือคุณภาพจะประกอบด้วย คู่มือวิธีการดำเนินการ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยจะครอบคลุมทุกข้อกำหนดภายใต้ CU – QA 84.2 สำหรับหน่วยงานด้านการวิจัย โดยคู่มือคุณภาพฉบับใหม่นี้ นอกจากจะมีข้อแตกต่างในเรื่องของผู้รับผิดชอบ และกิจกรรมที่รับผิดชอบในแต่ละข้อกำหนดที่มีความครอบคลุมและละเอียดมากขึ้นแล้ว ในส่วนของเอกสารอ้างอิงก็นับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ที่นำคู่มือคุณภาพไปใช้สามารถเข้าใจในรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น โดยในเอกสารอ้างอิงได้นำเครื่องมือควบคุมคุณภาพใหม่เจ็ดแบบ เช่น แผนผังลูกศร ตารางเมทริกซ์ และPDPC มาประยุกต์ใช้ในการทำเอกสารอ้างอิงเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติต่อไป 2) การประเมินคู่มือคุณภาพที่พัฒนาขึ้นหลังการใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพใหม่ 7 แบบ ซึ่งทำการประเมินโดยคณะกรรมการระบบการประกันคุณภาพของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน พบว่า การประเมินคู่มือคุณภาพในส่วนของความครบถ้วนสมบูรณ์ของคู่มือคุณภาพทั้งฉบับอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.97 และในส่วนของการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือคุณภาพฉบับใหม่ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 3) การประเมินความรู้ความเข้าใจ เจตคติ สภาพการปฏิบัติการ และทักษะความสามารถ ก่อนและหลังการใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพใหม่ 7 แบบ พบว่า ในส่วนองค์ประกอบของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ที่ประกอบไปด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ความรู้ด้านการประเมินคุณภาพ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันคุณภาพของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือควบคุมคุณภาพ ก่อนและหลังการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบเจตคติต่อการประกันคุณภาพของบุคลากร ที่ประกอบด้วย เจตคติระดับบุคคล เจตคติระดับสถาบันฯ และเจตคติระดับมหาวิทยาลัย ก่อนและหลังการอบรม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบของสภาพการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพของบุคลากร ที่ประกอบด้วยการวางแผน การดำเนินตามแผน การประเมินคุณภาพ และการนำผลมาปรับปรุง ก่อนและหลังการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบของทักษะความสามารถในการดำเนินการประกันคุณภาพของบุคลากร ที่ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินตามแผน การประเมินคุณภาพ และการนำผลมาปรับปรุง ระดับความสามารถจริงและความสามารถที่ควรจะมี ก่อนและหลังการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this research were to develop the quality manual using the seven new quality control tools approach of Aquatic Resources Research Institute, Chulalongkorn University, for the evaluation of quality manual after using the seven new quality control tools and to evaluate the efficiency of the application process of staff after using the seven new quality control tools. This research was the development of a quality manual consisting of an operation manual and steps for the quality assurance of the Aquatic Resources Research Institute, Chulalongkorn University only. In this study, the research methodology was R&D. The population includes executives, researchers and staff of the Aquatic Resources Research Institute, Chulalongkorn University, 42 persons in total. The research tools were questionnaires about the quality assurance and the evaluation form of a quality manual, workshop and focus group. The data were analyzed by the content analysis and T-Test via SPSS. The research results were as follows: 1) The quality manual was developed by the brainstorming of all executives and staff of the Aquatic Resources Research Institute, by using the seven new quality control tools approach. The quality manual was composed of an operation manual and steps which cover all restrictions under CU-QA84.2 for the research institute. This quality manual was distinctive in terms of the designated persons and activities in each detailed restriction. The references are also important in that the manual users could use them much easier. For example, there were arrow charts, matrix and PDPC for using in the production of references so that they were easy to understand and implement. 2) The evaluation of the quality manual after using the seven new quality control tools was assessed by eight committee members of the quality assurance system of the Aquatic Resources Research Institute, Chulalongkorn University. It found out that means of satisfaction (M = 3.52, SD = 0.97) on the quality manual in term of its whole completion was rated ‘good’ and its standard deviation (SD) (M = 3.52, SD = 0.97). 3) For the evaluation of the efficiency of the staff’s operation process after using the seven new quality control tools, it found out that understanding the quality assurance and staff’s operation had increased significantly and all skills and abilities after using the seven new quality control tools had been significantly developed. For the evaluation of knowledge/understanding, state of operation, attitude and skills/abilities before and after the use of the seven new quality control tools, it found out that there was a difference significantly at the level of .05. In the component of knowledge/understanding concerning the quality assurance. There was no difference significantly at the level of .05. in the component of the attitude towards the quality assurance of the personnel. There was a difference significantly at the level of .05 in the component of state of operation concerning personnel quality assurance. There was a difference significantly at the level of .05 in the component of skills/abilities in the operation of the personnel quality assurance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19229
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.911
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.911
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sumamarn_vi.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.