Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19234
Title: | การทำแห้งเยือกแข็งกลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 และความสามารถในการสลายไพรีนและฟีแนนทรีน |
Other Titles: | Freeze-dying of bacterial consortium RRM-V3 and its ability to degrade pyrene and phenanthrene |
Authors: | ประภัสสร ปานมีทรัพย์ |
Advisors: | กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์ กาญจณา จันทองจีน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การทำแห้งแบบเยือกแข็ง แบคทีเรีย |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการทำแห้งเยือกแข็งกลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 โดย ใช้สารป้องกันความเย็น 3 ชนิดคือ 12% ซูโครส 10% นมปลอดมันเนย และ 5% ไดเมธิลซัลฟอกไซด์ หลังการทำแห้งเยือกแข็งกลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 โดยมี 12% ซูโครสเป็นสารป้องกันความเย็นพบว่ากลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 รอดชีวิต 99.54% และสามารถย่อยสลายไพรีนและฟีแนนทรีน 0.05 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จนหมดภายในเวลา 7 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษากลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 หลังการทำแห้งเยือกแข็งคือ -20 องศาเซลเซียส ในขณะที่ซิลิกาเจลไม่มีผลต่อการเก็บรักษา กลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 ที่ผ่านการทำแห้งเยือกแข็งสามารถเก็บที่ -20 องศาเซลเซียส ได้นานถึง 6 เดือน โดยจะมีชีวิตรอด 83.38% และสามารถย่อยสลายสาร PAHs ทั้งสองชนิดได้หมดภายในเวลา 14 วัน กลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 ที่ผ่านการทำแห้งเยือกแข็งโดยใช้ 12% ซูโครสและเก็บรักษาที่ -20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 เดือน จะสามารถย่อยสลายไพรีนและฟีแนนทรีน 0.05 มิลลิกรัมต่อกรัม ในดิน โดยเมื่อสิ้นสุดการทดลองในวันที่ 21 พบปริมาณไพรีนและฟีแนนทรีนเหลือ 12.68 และ 7.68 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งดีกว่าการใช้กลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 ที่เตรียมสด การทำแห้งเยือกแข็งจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในการเก็บรักษากลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 เป็นเวลานาน |
Other Abstract: | The objective of this study is to preserve bacterial consortium RRM-V3 by freeze-drying along with three cryoprotective agents including 12% sucrose, 10% skim milk and 5% dimethylsulfoxide. After freeze-drying bacterial consortium RRM-V3 with 12% sucrose as cryoprotectant, the maximum viability of 99.54%, was archieved and the freeze-dried cell could degrade pyrene and phenanthrene of 0.05 mg/ml within 7 days. The optimum storage temperature of freeze-dried RRM-V3-consortium was -20 ํC whereas silica gel had no effect during storage. Freeze-dried RRM-V3 could be kept at -20 ํC for 6 months with viability of 83.38% and could degrade both PAHs within 14 days. After 1 month preservation, at -20 ํC, the freeze-dried RRMV3 consortium with 12% sucrose as cryoprotectant could degrade pyrene and phenanthrene 0.05 mg/g soil in soil to 12.68 and 7.68 % respectively after 21 days which were better than those of freshly cultivated cell. Therefore, freeze-drying could be a suitable method for long term preservation of bacterial consortium RRM-V3. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19234 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.394 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.394 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
prapassorn_pa.pdf | 2.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.