Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19241
Title: อิทธิพลของกลยุทธ์ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการถ่ายโอนความรู้ที่มีต่อความสำเร็จของการร่วมมือรวมพลังระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงเรียนด้านการวิจัยและพัฒนา
Other Titles: Influences of strategies, knowledge sharing and knowledge transfer on the success of university-school collaboration in research and development
Authors: สุภาพร โกเฮงกุล
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
[email protected]
Subjects: ความร่วมมือทางการศึกษา
การแลกเปลี่ยนทางการศึกษา
การศึกษา -- วิจัย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการร่วมมือรวมพลังระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จของการร่วมมือรวมพลังระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา และ 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านกลยุทธ์ การแลกเปลี่ยน และการถ่ายโอนความรู้ที่มีต่อความสำเร็จของการร่วมมือรวมพลังระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา กรอบแนวคิดในการวิจัยคือโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จของการร่วมมือรวมพลังพัฒนาขึ้นจากโมเดลเชิงสาเหตุของ การแลกเปลี่ยนความรู้ของ Dyer และ Powell, ผสมผสานกับแนวคิดกลยุทธ์การร่วมมือรวมพลังของ Wu และคณะ, การถ่ายโอนความรู้ของ Daniel, Hempel และ Srinivasan และความแตกต่างด้านวัฒนธรรมการทำงานของ Brookhart และ Loadman โดยใช้แนวคิดการแลกเปลี่ยนความรู้ของ Dyer และ Powell เป็นฐานกลุ่มตัวอย่างเป็นครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นโรงเรียนนำร่องในโครงการเร่งสร้างคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย จำนวน 569 คน ผู้บริหารสถานศึกษาดังกล่าวจำนวน 38 คนจาก 18 โรงเรียน และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 632 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ชุด สำหรับครู ผู้บริหารสถานศึกษา และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย แต่ละฉบับมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ 0.985ม 0.978 และ 0.965 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วยโปรแกรม SPSS 11.5 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยที่สำคัญ 1) สภาพการร่วมมือรวมพลังระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาแต่ละแห่งเป็นการทำงานร่วมกันโดยมีงบประมาณสนับสนุนระหว่างนักวิจัยพี่เลี้ยง 1-2 คนกับครูแกนนำประมาณ 5-20 คน ซึ่งมีบริบทต่างกันด้านวัฒนธรรมการทำงาน มุ่งทำงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน กิจกรรมสำคัญเป็นการแลกเปลี่ยนและถ่ายโอนความรู้โดยผ่านการประชุมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการอย่างต่อเนื่องตลอดภาคการศึกษา 2) โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จของการร่วมมือรวมพลังที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า chi-square = 268.493, df = 24, p = 0.166, GFI = 0.969, AGFI = 0.942, RMR = 0.044 3) อิทธิพลของกลยุทธ์ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการถ่ายโอนความรู้มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสำเร็จของการร่วมมือรวมพลังด้านการวิจัยและพัฒนาเท่ากับ -0.002ม 0.147 และ 0.099 ตามลำดับ โดยส่งผ่านตัวแปรความพึงพอใจ ความไว้วางใจและความผูกพัน ลักษณะของอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรความผูกพันมีอิทธิพลต่อการร่วมมือรวมพลังสูงสุดเท่ากับ 0.256
Other Abstract: This research aimed at 1) studying the situation of the university-school collaboration in research and development 2) developing and validating the success model of the university-school collaboration in research and development and 3) studying the influences of strategies factor, knowledge sharing and knowledge transfer on the success of the university-school collaboration in research and development. The research conceptual framework was the success of collaboration causal model which was developed based on Dyer and Powell's causal model of knowledge sharing, integrated with Wu and other's concept on collaboration strategies, Daniel, Hempel and Srinivasan's knowledge transfer concept, and Brookhart and Loadman's concept on different in working culture. The sample group consisted of 569 teachers and 38 school administrators from 18 basic education schools participated in the pilot project for accelerating the cultivation of desirable characteristics of Thai children and youths and 25 university researchers. The total 632 samples were drawn by multi-stage sampling. The research instruments were 3 set of questionnaires for teachers, school administrators, and university researchers, each of which had reliability of 0.985, 0.978 and 0.965 respectively. Data were analysed by descriptive statistics, analysis of variance using SPSS 11.5 program, confirmatory factor analysis and the analysis of structural equation model using LISREL 8.72 program. The analysis of qualitative data used the content analysis. The major research findings were 1) the university-school collaboration for each school was a financial supported collaboration between 1 - 2 mentor researchers from the university and 5 – 20 school core teacher, having different work culture aiming to achieve the mutual goal. The significant activities were knowledge sharing and transfer through continuous, formal and informal meeting for the whole semester. 2) The causal model of success in collaboration was fit to the empirical data with chi-square = 268.493, df = 24, p = 0.166, GFI = 0.969, AGFI = 0.942, RMR = 0.044. 3) Strategies, knowledge sharing and knowledge transfer has indirect effects of -0.002, 0.147, 0.099 respectively on success of research collaboration via satisfaction, trust and commitment. Commitment had the strongest direct effect of 0.256 on success of collaboration.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19241
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.230
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.230
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supaporn_k.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.