Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19268
Title: การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของการรักษามะเร็งปอดระยะท้ายระหว่างยาต้านไทโรซีนกับยาโดซิแทกเซล
Other Titles: Cost analysis between tyrosine kinase inhibitor versus docetaxel in advanced non-small cell lung cancer
Authors: ณัฐพงศ์ โตพิบูลย์พงศ์
Advisors: วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ปอด -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา
ยาต้านไทโรซีน
ค่าใช้จ่าย
ปอด -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา -- ค่าใช้จ่าย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาของงานวิจัย : ในปัจจุบันมีการรักษามะเร็งปอดระยะท้ายด้วยยาต้านไทโรซีนมากขึ้น แต่การศึกษาด้านความคุ้มค่าของการใช้ยากลุ่มนี้มีน้อยโดยเฉพาะในไทย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความคุ้มค่าของยาต้านไทโรซีน เทียบกับยาเคมีบำบัดที่เป็นมาตรฐานในมุมมองของผู้ให้บริการและในลักษณะของเวชปฏิบัติที่ไม่ได้อยู่ในงานวิจัยที่มีการควบคุมทางคลินิก วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างยาต้านไทโรซีนกับยาโดซิแทกเซล ที่ใช้รักษามะเร็งปอดระยะท้ายหลังจากที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมาก่อน วิธีการดำเนินการ : คณะผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะท้ายที่ผ่านการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมาแล้ว 1 สูตร ที่เข้ารับการรักษาในเวชปฏิบัติที่ไม่ได้เป็นการศึกษาวิจัยทางคลินิกอื่นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วยยาต้านไทโรซีน และยาโดซิแทกเซลระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2552 โดยทำการรวบรวมผู้ป่วยทุกคนที่ผ่านเกณฑ์เพื่อเก็บข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายที่ประกอบด้วย ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการและรังสีวินิจฉัย และค่าบริการพื้นฐาน ข้อมูลด้านประสิทธิภาพและผลแทรกซ้อนจากการรักษา โดยจะติดตามจนผู้ป่วยเสียชีวิต ผลการศึกษา : รวบรวมผู้ป่วยได้ 24 คน เป็นกลุ่มยาโดซิแทกเซล 15 คน และกลุ่มยาต้านไทโรซีน 9 คน ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไทโรซีนมีระยะเวลาควบคุมโรคและระยะเวลารอดชีวิตนานกว่ากลุ่มที่ได้รับยาโดซิแทกเซล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.83 เดือน เทียบกับ 2.71 เดือน p = 0.001 และ 10.56 เดือน เทียบกับ 6.63 เดือน p = 0.037 ตามลาดับ) การรักษาด้วยยาต้านไทโรซีนมีผลแทรกซ้อนจากการรักษาน้อยกว่ายกเว้นผลแทรกซ้อนเรื่องผื่น ผิวแห้ง และตาแห้งที่มีมากกว่ายาโดซิแทกเซล การรักษาด้วยยาต้านไทโรซีนมีต้นทุนรวม ต้นทุนรวมต่อเดือน และต้นทุนต่อระยะเวลาในการรอดชีวิต 1 ปี สูงกว่ายาโดซิแทกเซล โดยมีต้นทุนสูงกว่า 451,071.08 บาท 37,017.55 บาท/เดือน และ631,426.01 บาทต่อระยะเวลารอดชีวิต 1 ปีตามลำดับ แต่การรักษาด้วยยาต้านไทโรซีนมีต้นทุนค่ารักษาผลแทรกซ้อนน้อยกว่ายาโดซิแทกเซล 11,893.90 บาทต่อคน สรุป : ในการรักษามะเร็งปอดระยะท้ายในเวชปฏิบัติโรงพยาบาลตติยภูมิด้วยยาต้านไทโรซีนมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้นานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยาโดซิแทกเซล แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า อย่างไรก็ตามการศึกษานี้มีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นการศึกษาที่มีจานวนประชากรน้อย ข้อมูลที่ได้อาจมีประโยชน์ในการตัดสินใจในการเลือกวิธีการรักษาบนพื้นฐานของความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่กว้างขวางมากขึ้นเพื่อที่สามารถนำไปใช้กาหนดนโยบายทางการสาธารณสุขได้
Other Abstract: Background: Currently, epidermal growth factor receptor tyrosine kinase inhibitor (EGFR-TKI) have been increasingly used for treating metastatic non-small cell lung cancer (mNSCLC) patients, who failed their first-line chemotherapy. However, the cost-benefit data of using these drugs is quite limited, particularly in Thai patients. Thus, we conducted a cost analysis between an EGFR-TKI, and standard second-line chemotherapy, Docetaxel, in the perspective of healthcare providers in clinical practice. Objective: To analyze the cost-effectiveness of an EGFR-TKI and Docetaxel in treating mNSCLC Thai patients who failed the first-line chemotherapy. Method: We enrolled mNSCLC patients who had been receiving the second-line treatment with Docetaxel or an EGFR-TKI (Erlotinib or Gefitinib), at the Medical Oncology Unit, the King Chulalongkorn Memorial Hospital, between January and December 2009. The data was collected from all eligible patients' medical records, in term of the cost of drugs and medical supplies, the cost of laboratory and imaging tests, routine-service cost, effective results and adverse events. All patients were followed up until their death. Results: 24 patients (15 patients received Docetaxel and 9 patients received an EGFR-TKI) were enrolled into this study. Progression free survival (PFS) and overall survival (OS) were significant longer in EGFR-TKI-treated patients were longer than those of Docetaxel-treated patients, 7.83 months vs 2.71 months and 10.56 months vs 6.63 months respectively. There were more female, adenocarcinoma and nonsmoker receiving EGFR-TKI treatment. Generally, treatment-related adverse reactions less frequently occurred in EGFR-TKI-treated patients, except rash, dry skin, dry eye and aphthous ulcer. Considering the cost, total treatment cost, monthly total treatment cost and the cost per a life year gain in EGFR-TKI-treated patients was 451,071.08, 37,017.55 and 631,426.01 Bath higher than that in Docetaxel-treated patients, respectively. In contrast, the cost of complication treatment in EGFR-TKI-treated patients was 11,893.90 Baht less than the cost in Docetaxel-treated patients. Conclusion: From our study, although EGFR-TKI treatment provides a longer period of disease control in treating mNSCLC patients in the tertiary-level hospital, it is demonstrated to be less cost-effective in comparison with Docetaxel treatment. Considering only direct treatment cost our results are also expected to be useful for considering the treatment options for these patients, particularly in the basis of economic benefits. Nevertheless, as this study has a limitation of small sample-size, larger studies are needed to further confirm the results, in order to be able to present the treatment policy on public heath care.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19268
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.503
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.503
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttapong_To.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.