Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19363
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ | - |
dc.contributor.author | สรศักดิ์ ชิตชลธาร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-01T13:29:33Z | - |
dc.date.available | 2012-05-01T13:29:33Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19363 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของเมืองที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ ศึกษารูปแบบการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ วิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยาน เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน และเสนอแนวทางการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับโครงข่ายคมนาคมและความต้องการของประชาชน ตลอดจนเสนอมาตรการต่างๆ ที่สนับสนุนการเดินทางด้วยจักรยานในพื้นที่เทศบาลนครตรัง ในการศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมของเมือง รวมถึงรูปแบบการเดินทางของประชาชน ระบบคมนาคมขนส่งและโครงข่ายถนนในเทศบาลนครตรัง โดยศึกษารูปแบบและการวางแผนการเดินทางด้วยจักรยานจากประสบการณ์การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในต่างประเทศ ศึกษาแหล่งกำเนิดการเดินทางที่สำคัญในพื้นที่ และศึกษาข้อมูลภาคสนามของผู้สัญจร โดยวิธีการวิจัยใช้แบบสอบถามข้อมูลลักษณะการเดินทางของประชาชนในพื้นที่จำนวน 156 ชุด แล้ววิเคราะห์ศักยภาพของเส้นทางที่ได้จากข้อมูลลักษณะการเดินทางด้วยจักรยานและความต้องการใช้จักรยาน โดยพิจารณาจากเกณฑ์มาตรฐานในการออกแบบเส้นทางจักรยาน แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงพื้นที่ถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยาน และสรุปผลที่ได้นำมาเสนอแนวทางการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งเสนอมาตรการต่างๆ ที่สนับสนุนการเดินทางด้วยจักรยาน และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในเทศบาลนครตรัง จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเทศบาลนครตรัง พบว่า สภาพพื้นที่เทศบาลนครตรังในปัจจุบันมีขนาดเล็ก เป็นชุมชนหนาแน่น มีการใช้ที่ดินหลากหลาย ถนนส่วนใหญ่กว้าง และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นราบ ระยะทางระหว่างสถานที่สำคัญอยู่ในระยะที่ไม่ไกลจากกันมากนัก การเดินทางของประชาชนส่วนใหญ่จึงเป็นการเดินทางในระยะสั้น ส่งผลให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางได้หลากหลาย รูปแบบการเดินทางของประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครตรังในปี 2553 จากการศึกษา พบว่า มีผู้ใช้จักรยานในการเดินทาง (21.2%) และส่วนใหญ่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ (4-5วันต่อสัปดาห์) (41.7%) โดยมีเหตุผลที่พบมากที่สุด คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย (60.6%) โดยมีผู้พบปัญหาในการเดินทาง 66.7% ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ การไม่มีที่จอดจักรยานที่ปลอดภัย (60.6%) จากการศึกษาทัศนคติการมีทางจักรยานในเทศบาลนครตรัง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีทางจักรยานในเทศบาลนครตรัง (82.7%) โดยเหตุผลที่พบมากที่สุดคือ จะเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้จักรยาน (55.8%) และถ้ามีทางจักรยานในเทศบาลนครตรังแล้ว ประชาชนทั่วไปจะสนใจใช้จักรยานในเทศบาลนครตรัง (76.9%) เหตุผลที่พบมากที่สุด คือ จะใช้จักรยานได้ปลอดภัยขึ้น (60.8%) การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเทศบาลนครตรัง ได้พิจารณาจากข้อมูลการวิเคราะห์ศักยภาพของเส้นทางร่วมกับข้อมูลการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยาน และได้เสนอแนวทางการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยาน โดยในระยะแรกเริ่มจากเส้นทางที่มีความพร้อมมากที่สุด คือ เสนอเส้นทางที่มีคะแนนความเหมาะสมด้านกายภาพมาก และมากที่สุด ซึ่งไม่มีอุปสรรคในเส้นทาง และเป็นเส้นทางที่มีความนิยมในการใช้จักรยานมากที่สุด ได้แก่ ถนนรัษฎา ถนนเจิมปัญญา ถนนพระราม 6 โดยทั้งหมดจะเสนอให้เป็นเส้นทางจักรยานตลอดสาย ในระยะที่ 2 เสนอเส้นทางที่มีคะแนนความเหมาะสมด้านกายภาพมากและมากที่สุด แต่มีอุปสรรคทางแคบ หรือทางลาดชันในบางช่วง ได้แก่ ถนนท่ากลาง ถนนรักษ์จันทน์ ถนนราชดำเนิน ถนนเพลินพิทักษ์ ถนนเวียนกะพัง และถนนห้วยยอด และเส้นทางที่เหลือซึ่งมีคะแนนความเหมาะสมด้านกายภาพปานกลาง และมีอุปสรรคทางแคบหรือทางลาดชันในบางช่วงเป็นเส้นทางจักรยานระยะที่ 3 และรับฟังความเห็นจากประชาชนถึงผลกระทบ หรือข้อควรปรับปรุง และสอบถามความต้องการทางจักรยานในเส้นทางอื่นๆ และถ้ามีความต้องการเส้นทางจักรยานมากขึ้น จะเสนอเส้นทางที่มีความพร้อมทางด้านกายภาพที่จะพัฒนาเป็นเส้นทางจักรยานต่อไป โดยให้สอดคล้องกับการเดินทางของประชาชน โครงข่ายทางคมนาคม และลักษณะทางกายภาพและศักยภาพของเมือง และได้เสนอมาตรการต่างๆ ที่สนับสนุนการเดินทางด้วยจักรยาน และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในเทศบาลนครตรัง | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this thesis are to study the physical characteristics of the city which have influences on transportation pattern of the people inside the area, to study the transportation pattern of them, to analyse potentiality in development of cycling network as an alternative of their transportation, and to propose measures in order to support cycling transportation in Nakhon Trang Municipality. The scope of this study covers physical, economical, and social characteristics of the city. It also includes transportation pattern of people, and transportation and road system in Nakhon Trang Municipality, by studying the pattern and cycling transportation plans from experiences of cycling network development in foreign countries, the important original points of transportation in the area and field data from passerby. The method of the research is by collecting data of transportation characteristics of people in the area from 156 sets of questionaires. Then, potentiality of routes will be analysed from the data of cycling transportation and usage demand, by considering standards in cycling route design. After that, the result would be used in spatial analysis for feasibility study of cycling network development, also it was summarized for further proposal of cycling network and facilities development and further supportive measures of cycling transportation and network in Nakhon Trang Municipality. From studying physical characteristics of Nakhon Trang Municipality nowadays, it was found that Nakhon Trang Municipality is a small area, but populated. There is a variety of land usage. Most of the roads are wide and flat. The distance between landmarks is not too much far away from each other, so transportation of people is normally a short distance. Therefore, people will have a variety of choices for transportation. The transportation patterns of people in the area of Nakhon Trang Municipality in the year 2010 indicated that there were people who used cycling transportation (21%) and most of them did it on a regular basis (4-5 days per a week). (41.7%). The most reason is an economical reason (60.6%). There were people who encountered problems in cycling transportation usage (66.7%). The most problem occurred is none of a secured parking place for bicycles (60.6%). By studying attitudes about having cycling path in Nakhon Trang Municipality, most people in the area agree with this (82.7%) with the most common reason of safety increasing for the users (55.8%). If there was a cycling path in the area of Nakhon Trang Municipality, people would be more interested in using bicycle for transportation within this area (76.9%). The most reason found was people would feel safer (60.8%). Development of cycling network and facilities in Nakhon Trang Municipality was considered from the data by analysing potentiality of routes, along with the data from spatial analysis for feasibility in cycling network development. The first phase of cycling network development scheme was proposed by starting at the most appropriate routes in physically which obtain high and highest scores, none of obstacle in the way, and must be the most popular routes for cycling such as Rassada Road, Jermpunya Road, and Rama 6 Road, all will be suggested to have a cycling path along the whole roads. The second phase will be proposed for the most appropriate routes in physically which obtain high and highest scores as well, but have some obstacles like narrowness and steepness during some parts of the roads, for examples, Tha Klang Road, Rak Chan Road, Rajdamnern Road, Phloen Phithak Road, Wien Ka Phang Road, and Huai Yot Road. The rest roads which obtain moderate scores in physical appropriation and there are some obstacles like narrowness and steepness during some parts of the roads will be proposed as the third phase by attending to public comments for the impacts or improvements. If there is more cycling path demanding, the appropriate routes in physically will be proposed for further development of cycling paths by complying with transportation of people, transportation network, and physical characteristics and potentiality of the city as well. Besides, there should be some measures to support cycling transportation and development in Nakhon Trang Municipality. | - |
dc.format.extent | 9989090 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.217 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ทางจักรยาน -- การออกแบบ | - |
dc.subject | ทางจักรยาน -- ไทย -- เทศบาลนครตรัง | - |
dc.subject | การขี่จักรยาน -- ไทย -- เทศบาลนครตรัง | - |
dc.subject | Bicycle trails -- Design | - |
dc.subject | Bicycle trails -- Thailand -- Nakhon Trang Municipality | - |
dc.subject | Cycling -- Thailand -- Nakhon Trang Municipality | - |
dc.title | การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในเทศบาลนครตรัง | en |
dc.title.alternative | The development of cycling network in Nakhon Trang municipapity | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.217 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sorasak_ch.pdf | 9.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.