Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19385
Title: | การสร้างสรรค์เรื่องแนวนาฏกรรมระทึกขวัญ ของเอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน |
Other Titles: | Creation of drama-thriller of M. Night Shyamalan |
Authors: | ศิลป์สิริ ประภาวงศ์ |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภูมิหลังและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานของเอ็ม.ไนท์ ชยามาลาน (2) ศึกษาวิธีการสร้างสรรค์เรื่องแนวนาฏกรรมระทึกขวัญของเอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ตัวบทจากผลงานแนวนาฏกรรมระทึกขวัญของเอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน ทั้งสิ้น 6 เรื่อง ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง The Sixth Sense (พ.ศ.2542), Unbreakable (พ.ศ.2543), Signs (พ.ศ.2545), The Village (พ.ศ.2547), Lady in the Water (พ.ศ.2549) และ The Happening (พ.ศ.2551) รวมถึงการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์พบว่า เอ็ม. ไนท์ ชยามาลานในฐานะผู้เขียนบทและผู้กำกับเชื้อสายอินเดีย ในโลกภาพยนตร์ฮอลลีวูด เป็นนักสร้างสรรค์ที่ใช้ส่วนผสมของความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ จากการผสมผสานของวัฒนธรรมอินเดียและอเมริกัน เขาตั้งใจจะเป็นนักสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่ยังเด็กและมีปณิธานในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อคนหมู่มาก โดยหวังว่าจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโลกใบนี้ในระยะยาว ผลงานของเขาล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากการผสมผสานของวัฒนธรรมอินเดียและอเมริกัน การได้รับการปลูกฝังเรื่องวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก การมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติ เรื่องราวที่มาจากความชอบส่วนตัว การได้เรียนรู้จากการเข้าศึกษาด้านศิลปศาสตร์ วิชาเอกภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์คและความชื่นชอบในผลงานผู้กำกับคนอื่นๆ ซึ่งได้แก่ สตีเว่น สปีลเบิร์ก จอร์จ ลูคัสและอัลเฟรด ฮิทช์ค็อค เอ็ม. ไนท์ ชยามาลานมีวิธีการนำเสนอและการสร้างสรรค์ด้านเทคนิคในภาพยนตร์สำหรับเรื่องแนวนาฏกรรมระทึกขวัญในแบบเฉพาะตัว โดยการวางเส้นเรื่องไว้ 2 เส้น ซึ่งจะถึงจุดวิกฤตในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน การใช้ความขัดแย้งกับสิ่งเหนือธรรมชาติ มีแก่นความคิดประจำที่ว่าคนเราทุกคนเกิดมาเพื่อจุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่บางอย่าง การถ่ายทำและการใช้ฉากในผลงานทุกเรื่องเป็นเมืองฟิลาเดลเฟีย การใช้มุมมองการเล่าเรื่องผ่านสายตา”ผู้ไม่รู้” เขามักใช้สัญลักษณ์ที่กระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของคนดูได้โดยไม่รู้ตัวและการใช้สีหม่นมัวในภาพรวม แต่ใช้สีจัดจ้านกับตัวแทนของความดีและความชั่ว ซึ่งสามารถสื่อความหมายได้อย่างแนบเนียนและลึกซึ้งในผลงานทุกเรื่องของเขา |
Other Abstract: | The purposes of the current study were to: (1) study M. Night Shyamalan’s background and motivation of making Drama-Thriller works (2) study creation of Drama-Thriller in M. Night Shyamalan’s works. Through the using of qualitative research method by textual analysis 6 Drama-Thriller works of M. Night Shyamalan which are The Sixth Sense (1999), Unbreakable (2000), Signs (2002), The Village (2004), Lady in the Water (2006) and The Happening (2008) accompanied with in-depth interview with 5 experts. The results found that M. Night Shyamalan, the Indian screen-play writer and director in Hollywood has mixture of supernatural beliefs and scientific background from blending of Indian and American cultures. He’s intended to be a film maker since he was young and needs to create films for mass audience to make changes to the world in long term. All of his Drama-Thriller works are inspired by the mixture of Indian and American cultures, indoctrination with science matters since he was young, his own experience about supernatural cases, stories from his personal interests, studying in Film department in New York University and admiration of other film makers such as Steven Spielberg, George Lucas and Alfred Hitchcock. M. Night Shyamalan has unique technical styles of presenting and creating Drama-Thriller works. He always creates 2 story lines with 2 climaxes to cause more impact on his audience. He usually plays with supernatural conflict. His theme always tells the audience that everyone was born with great destiny to be accomplished. He always works and creates the movies’ set in Philadelphia. Usually, he communicates by main character’s point of view who doesn’t know the truth. He’s talented in using symbolic and colors that are in unhappy tone with bright colors for goodness and badness which communicates with audience subtly and emotionally. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สื่อสารการแสดง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19385 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Synsiri_pr.pdf | 4.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.