Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19442
Title: | ปัญหากฎหมายของ "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (ฉบับที่..) พ.ศ....." |
Other Titles: | Legal problems of "Draft act on private participation in state undertaking (No...) B.E...." |
Authors: | วีรวัตร จำเริญเลิศ |
Advisors: | ชยันติ ไกรกาญจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สัญญาของรัฐ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา กิจการร่วมค้า -- ไทย การร่วมลงทุน -- ไทย |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ว่าหากมีการใช้บังคับร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่แล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายและจะสามารถอุดช่องว่างทางกฎหมายของพระราชบัญญัติฉบับเดิมได้หรือไม่เพียงใด และจะมีแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่อย่างไรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ยังคงมีความไม่ชัดเจนของกฎหมาย และไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรืออุดช่องว่างทางกฎหมายที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่ากระทรวงการคลังควรที่จะต้องเร่งทำการศึกษาและปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวอีก ตลอดจนกฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะมีการนำร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ประกาศใช้บังคับต่อไป โดยมีแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ดังนี้ 1) ในเรื่องของบทนิยามศัพท์ ควรที่จะยกเลิกบทนิยามศัพท์ของคำว่า “กิจการของรัฐ” “โครงการ” และ “ร่วมงานหรือดำเนินการ” ดังกล่าวที่คลุมเครือและขาดความชัดเจนซึ่งทำให้เกิดปัญหาการตีความ โดยบัญญัติลักษณะของโครงการที่เข้าข่ายจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้แทนเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าโครงการประเภทใดบ้างที่เข้าข่ายจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ 2) จำนวนมูลค่าขั้นต่ำของโครงการที่เข้าข่ายจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดนั้น ควรที่จะกำหนดจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาทเพราะปัจจุบันมูลค่าของโครงการที่มีการให้เอกชนเข้าร่วมงานส่วนใหญ่จะมีมูลค่าเกินกว่าที่กฎหมายฉบับเดิมกำหนดและเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและการลงทุนในปัจจุบัน 3) การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการในการคิดคำนวณมูลค่าการลงทุนในโครงการ โดยการใช้หลักการ Market Approach หลักการ Cost Approach และหลักการ Income Approach ประกอบกันเพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นที่ยอมรับของทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ 4) ควรที่จะต้องมีการกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่าจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้เอกชนที่เข้ามาร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐสามารถที่จะวางแผนงานการดำเนินธุรกิจล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งฝ่ายภาครัฐและภาคเอกชน 5) กำหนดถึงผลของสัญญาร่วมงานที่มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ให้ถูกต้องตามที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนด โดยให้ถือว่าไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาเฉพาะส่วนหรือเฉพาะการดำเนินการที่มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งหากเมื่อตรวจพบก็อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการเฉพาะที่แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินโครงการนั้นต่อไป |
Other Abstract: | This thesis aims to study Draft Act on Private Participation in State Undertaking (No ..) B.E. ... comparing with Act on Private Participation in State Undertaking B.E. 2535 whether an enforcement of a new Act will solve all problems and fill all legal gaps arising from the previous Act or not. Moreover, this thesis focuses on how to improve the Draft Act to be more clarified and suitable in its application. From the study, it can be seen that the Draft Act is still ambiguous in many aspects. Consequently, it can not solve all the problems and fill all legal gaps. Therefore, I propose that relevant organizations should progress in improving such Draft Act together with related Ministerial Regulations and Rules as follows; 1) The definitions of “State Undertaking”, “Project” and “Participate” should be repealed due to the fact that such terms are ambiguous and lack of clarity which may, later, cause translational problems. Instead, specific provision which indicates types of projects falling under the scope of this Act should be added. 2) The stated mimimum value of the projects which have to comply with the Act should be more than 3,000 millions Bath due to the fact that nowadays, most of the projects, that private sectors are participating, have value more than what was stated in the previous Act. Moreover, the stated minimum value should be adjusted in order to be consistent with the present economy. 3) Rules, conditions and methods used to calculate the total value of the project should base on Market Approach, Cost Approach and Income Approach so as to create a standard assessment regime which widely accepted by both Thai and foreign organizations. 4)There should be time frame for the relevant governmental organization to fulfill their duties within a reasonable period. In this regard, private sectors participating in state undertaking can plan their businesses in advance so as to efficiently comply with all procedures under the Act. 5.The status of the private participation agreement which is not pursuant to the procedures under the Act shoud be clearty indicated that such agreement does not bind parties only with respect to the violated part which can later be cured through the consideration of Special Committee. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19442 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1753 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1753 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
werawat_ch.pdf | 5.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.