Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19721
Title: ประสบการณ์การปฎิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพภายใต้สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Working experiences of professional nurses under violent situation in southern border province
Authors: สุรัสวดี ไมตรีกุล
Advisors: สุชาดา รัชชุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความรุนแรง -- ไทย (ภาคใต้)
พยาบาล
ประสบการณ์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฎการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจบริบทและประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพภายใต้สถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์ยะลาซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูล เป็นพยาบาลวิชาชีพที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ยะลา 2 ปี ขึ้นไป จำนวน 16 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้ ภายใต้สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ทำให้พยาบาลวิชาชีพมองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปรากฎการณ์นี้ว่าเปรียบเสมือนอยู่ในภาวะสงคราม บรรยากาศการอยู่ร่วมกันของผู้คนเป็นไปอย่างไร้ความสุขและเต็มไปด้วยความสับสนโดยเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ในความหวาดกลัวรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและต้องระมัดระวังตัวตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีแต่ปัญหาการบาดเจ็บและล้มตายของคนรอบตัวจากการถูกระเบิด ดังนั้นการปฏิบัติงานของพยาบาลจึงเครียดมากขึ้นเพราะการที่พยาบาลต้องปฏิบัติงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยกับชีวิตทำให้รู้สึกเครียดทั้งงานและเครียดกับความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเองเพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อไปรวมทั้งต้องหาวิธีการจัดการกับความเครียด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีการหันเหความสนใจและปรับตัวโดยการยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใจ สำหรับการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยแบ่งเป็นการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ปกติ ด้านการให้บริการพยาบาล ด้านการบริหาร และด้านวิชาการที่ต้องปฏิบัติคงเดิม ส่วนบทบาทหน้าที่ใหม่ที่เพิ่มขึ้นคือการปฏิบัติการช่วยเหลือในอุบัติภัยหมู่ คำแนะนำด้านสุขภาพที่ต้องมุ่งเน้นการให้คำแนะนำในการมาโรงพยาบาลอย่างปลอดภัย สำหรับการปฏิบัติงานที่ลดน้อยลงคือการบริการส่งเสริมสุขภาพ งานฟื้นฟูสุขภาพทำได้ยากขึ้นและการเยี่ยมบ้านต้องหยุดชะงักลง งานบริการการส่งต่อผู้ป่วยที่รูปแบบการบริการเปลี่ยนไปโดยเฉพาะงานรับผู้ป่วยที่จุดเกิดเหตุดำเนินการน้อยลงเนื่องจากเกรงความไม่ปลอดภัย สำหรับเหตุผลที่ทำให้พยาบาลสามารถคงอยู่ปฏิบัติงานท่ามกลางความไม่ปลอดภัยคือ 1) ได้รับขวัญกำลังใจจากหน่วยราชการ 2) ความรักและความผูกพันที่มีต่อถิ่นเกิด 3) รู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพพยาบาลที่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ผลการศึกษาที่ได้แม้พยาบาลวิชาชีพจะยังคงปฏิบัติงานท่ามกลางความไม่ปลอดภัยต่อไปได้แต่ผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารทางการพยาบาลควรมีการกำหนดนโยบายเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และต้องหาวิธีการต่างๆในการสนับสนุนและส่งเสริมขวัญและกำลังใจตลอดจนหามาตรการสร้างความปลอดภัยในชีวิตพยาบาลด้วย
Other Abstract: The purpose of this study was to understand working context and experiences of professional nurses under the violent situations in the southern border province of Thailand. A phenomenology was applied as a qualitative methodology of this study. The study was conducted at the tertiary Yala hospital. The sixteen participants were registered nurses working in the hospital at least 2 years. Data were collected by in-depth interviews and analyzed by content analysis. The results of the study found that amidst violence situations, the nurses viewed the situations as they were living in the war. Their lifestyles were changed, they always felt confused, unhappy, and insecure because a bomb was exploded at the living area. The nurses were more stressful in working and concerned about their safety. They had to change their lifestyles in order to continue working. They reduced their stress by not paying attention and used the religion to support their mind. Changing roles of nurses included services, administrations and academic aspects. Their new roles of mass casualty rescue and role of suggesting people to come to the hospital safely were increasing. The decreasing role was health promotion. Rehabilitation role was difficult to implement. Home visit was interrupted. In addition, Referral service role was changing in terms of reducing the numbers of picking up the patients on the scene care. The reasons of retaining in their job included governmental support, native land engagement, and pride in their nursing profession that could rescue injured patients. This study suggested that although the nurses were still working in the area, senior administrators of Ministry of Public Health should be proactive in the policy of resolving nurse insufficient problems in the southern border area, support their morale, and enhance their security measures.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19721
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.512
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.512
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suratwadee_m.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.