Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19806
Title: การศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด ต่อการบริการการพยาบาลในโครงการบัตรสุขภาพ
Other Titles: A study of actual situation and expectation of Roi-Et Province people toward nursing service in health card program
Authors: กาญจนา บุตรชน
Advisors: พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล -- ไทย -- ร้อยเอ็ด
โครงการบัตรสุขภาพ
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ดต่อการบริการการพยาบาลในโครงการบัตรสุขภาพโดยศึกษาราคาและความคุ้มค่าของบัตรสุขภาพเงื่อนไขของบัตรสุขภาพ การบริการพยาบาลในโครงการบัตรสุขภาพและรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการในโครงการบัตรสุขภาพ ในเรื่องการบริการ การพยาบาลในโครงการบัตรสุขภาพ ราคา และความคุ้มค่าของบัตรสุขภาพ และเงื่อนไขของบัตรสุขภาพ ผลการวิจัย 1.สภาพปัจจุบันของการบริกการการพยาบาลในโครงการบัตรสุขภาพรวมทุกระดับสถานพยาบาล คือ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุชนโรงพยาบาลทั่วไป มีความแตกต่างกับความคาดหวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคาดหวังสูงกว่าสภาพปัจจุบัน 2.สภาพปัจจุบันของการบริการพยาบาลในโครงการบัตรสุขภาพในแต่ละระดับสถานพยาบาล มีความแตกต่างกับความคาดหวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคดหวังสูงกว่าสภาพปัจจุบัน โดย สถานีอนามัย และโรงพยาบาลชุมชน มีความคาดหวังในระดับต้องการให้มีมาก สะภาพปัจจุบันในระดับพอใช้ และโรงพยาบาลทั่วไป มีความคาดหวังในระดับต้องการให้มีมาก สภาพปัจจุบันในระดับดี 3.ประชาชนมากกว่า ร้อยละ 50 เห็นด้วยกับ ราคา และความคุ้มค่าของบัตรสุขภาพ เมื่อเทียบกับ ราคาบัตรสุขภาพ 300 บาท 4.ประชาชนมากกว่า ร้อย 50 เห็นด้วยกับเงื่อนไข 11 ข้อ ของบัตรสุขภาพโดยเห็นด้วยมากที่สุดในเรื่อง “การคุ้มครองสมาชิกทุกคนในครอบครัว” แต่ไม่เห็นด้วยในเงื่อนไข 4 ข้อ คือ”การให้สิทธิรักษาพยาบาลฟรี 6 ครั้งต่อปี “การกำหนดวงเงินในการักษาพยาบาล 2,000 บาทต่อครั้ง” “การให้จ่ายเงินเองและลดให้ร้อยละ 10 เมื่อค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงินที่กำหนด” และ “การรับบริการฟรีต้องมีใบส่งตัวทุกครั้ง” 5.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ราคาและเงื่อนไขของบัตรสุขภาพมีดังนี้ ต้องการให้ “ใช้ สิทธิรักษาพยาบาลฟรีตลอดปี “ให้รักษาพยาบาลฟรี ทั้งหมดเมื่อค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงินที่กำหนด” และ “ไม่จำกัดวงเงินในการรักษาพยาบาล” 6.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริการพยาบาลในโครงการบัตรสุขภาพ ในระดับสถานีอนามัยต้องการให้ “มีวัสดุ ครุภัณฑ์ให้เพียงพอ” “มีเจ้าหน้าที่ให้บริการเพิ่มขึ้น” และ “มีเวชภัณฑ์เพียงพอ” ในระดับโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลทั่วไปเหมือนกัน คือ “ต้องการให้บริการรวดเร็วขึ้น” และ “เจ้าหน้าที่พูดเพราะ”
Other Abstract: The purposes of this research were to study actual situation and expectation of ROI-ET province people toward nursing service in Health Card Program, cost and benefit of health Card, and condition of Health Card. The study was also to explore recommendations on administrative of Health Car Program toward nursing service in health Card Program, cost and benefit of health Card, and condition of Health Card. The major findings 1.There was an statistical significant difference at 0.05 level between actual situation and expectation of nursing service in Health Cad Program at the combine health station levels health centers, community hospitals and provincial hospital. The expectation mean score were higher than the actual situation mean score. 2.There were an statistical significant difference at 0.05 level between actual situation and expectation at each health station level. The expectation mean score were higher than the actual situation mean score. At the health centers and the community hospitals, the expectation mean score were at the ‘eked level’ white the actual situation mean score were at the ‘fair level. At the provincial hospital, the actual situation and the expectation mean score were at the ‘good level. 3.More than 50% of samples agreed with cost and benefit of Health Card at 300 Baht per card. 4.More than 50% of samples agreed with 11 Conditions of Health Card. The condition that they highly agree with was “cover all person in family.” However they didn’t agree with 4 conditions, the could use free medical treatment for 6 times per year” “limit cost of free medical treatment at 2,000 Baht per visit” “if the cost of medical treatment over the limit they must pay for the 10% discount” and “they must showed the referral card in order to obtain free medical treatment” 5.The recommendations cost and benefit of Health Card were “they could use free medical treatment around the year” “ they could obtain free medical treatment if the cost beyond the limit” and “don’t limit the cost of free medical treatment” 6.The recommendations on nursing service in Health Card Program at the and health centers were “adequate supply and equipment” “increase health workers ” and “ adequate drug and health supply”. At both community and provincial hospitals, the recommendations were the same, “faster services” and “health workers speak nicely”
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19806
ISBN: 9745833584
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanjana_Bo_front.pdf480.82 kBAdobe PDFView/Open
Kanjana_Bo_ch1.pdf579.9 kBAdobe PDFView/Open
Kanjana_Bo_ch2.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_Bo_ch3.pdf431.39 kBAdobe PDFView/Open
Kanjana_Bo_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_Bo_ch5.pdf689.21 kBAdobe PDFView/Open
Kanjana_Bo_back.pdf989.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.