Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19867
Title: | การอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ในพระราชวังพญาไท |
Other Titles: | Conservation historic buildings in Phyathai Palace |
Authors: | นิตยา โพธิ์ทอง |
Advisors: | ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | พระราชวังพญาไท อาคารประวัติศาสตร์ -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา อาคารประวัติศาสตร์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ Historic buildings -- Conservation and restoration Historic buildings -- Thailand -- Bangkok Phaya Thai Palace |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พระราชวังพญาไทเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญของชาติ ซึ่งประกอบด้วยอาคารประวัติศาสตร์หลายอาคาร และในปี พ.ศ. 2540 ได้รับการอนุรักษ์แล้วในบางส่วน สำหรับการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ในพระราชวังพญาไท ในส่วนที่ได้รับการอนุรักษ์แล้วกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการอนุรักษ์ดีเด่น ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขององค์การยูเนสโก การวิจัยครั้งนี้ศึกษาวิธีและขั้นตอนการอนุรักษ์ที่ร่วมกันดำเนินการโดยคณะกรรมการโครงการ และบริษัท เดียบอร์น สตรีท ดีไซน์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด บริษัทสถาปนิกที่ปรึกษาของโครงการ ซึ่งพบว่าขั้นตอนการอนุรักษ์นั้นเริ่มด้วยการรวบรวมข้อมูลอาคารจากการสำรวจสภาพของอาคาร และการสืบค้นข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสำหรับใช้วิเคราะห์คุณค่าและสภาพปัญหาของอาคาร จากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมาใช้วางแผนการอนุรักษ์ ซึ่งในการอนุรักษ์ครั้งนี้ได้เลือกวิธีการอนุรักษ์แบบการบูรณะซ่อมแซม (restoration) ในส่วนที่อาคารชำรุดเสียหาย และการปรับปรุงอาคาร (renovation) ในส่วนเพิ่มงานระบบหรือองค์ประกอบอื่นที่มีความจำเป็นกับอาคาร และในระหว่างการดำเนินการบริษัทสถาปนิกที่ปรึกษาของโครงการ ได้มีการบันทึกข้อมูลและถ่ายภาพขั้นตอนการอนุรักษ์จัดทำเป็นรายงานการก่อสร้างของทุกเดือน จากนั้นเมื่อทำการอนุรักษ์แล้วพบว่า พระราชวังพญาไทได้เป็นสถานที่ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์แก่สาธารณชน เป็นสถานที่พักผ่อนใจให้แก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลและผู้คนทั่วไป รวมถึงเป็นสถานที่สำหรับสร้างรายได้เป็นเงินทุนสนับสนุนมูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท เพื่อการอนุรักษ์และดูแลรักษาพระราชวังพญาไทในอนาคต จากนั้นจึงศึกษาหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการอนุรักษ์ดีเด่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขององค์การยูเนสโก ซึ่งมีทั้งหมด 11 หลักเกณฑ์ เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาโครงการอนุรักษ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่สมควรได้รับการยกย่อง โดยพิจารณาถึงความดีเด่นในทุกๆ ด้านของการอนุรักษ์ตั้งแต่การพยายามรักษาคุณค่า และสื่อความหมายของอาคาร เทคนิควิธีและขั้นตอนการอนุรักษ์ การใช้งาน ตลอดจนการจัดการและการดูแลรักษาอาคารภายหลังการอนุรักษ์ และเนื่องจากเป็นหลักเกณฑ์ที่ครอบคลุมทุกด้านของการอนุรักษ์อาคาร จึงเห็นสมควรเลือกหลักเกณฑ์นี้มาเป็นแนวทางในการประเมินผลการอนุรักษ์ของกรณีศึกษา เมื่อทำการประเมินผลการอนุรักษ์ในพระราชวังพญาไทกับหลักเกณฑ์ยูเนสโกแล้วพบว่า การอนุรักษ์ในพระราชวังพญาไทมีการดำเนินการครบถ้วนในทุกหลักเกณฑ์ การอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ของพระราชวังพญาไทในครั้งนี้ จึงเป็นโครงการอนุรักษ์ที่สมควรได้รับการยกย่อง และผลการอนุรักษ์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง การอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ของพระราชวังพญาไท ในส่วนที่ยังไม่ได้ทำการอนุรักษ์ และเป็นตัวอย่างในการอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ประเภทเดียวกันในอนาคตต่อไปได้ |
Other Abstract: | Phyathai Palace is an important national historic monument consists of groups of historic buildings. In 1997 some parts of the palace was conserved and maintained. The purpose of this thesis is to carry out a comparative study between the conservation work done on the renovated part of Phyathai Palace and the criteria for UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards for Cultural Heritage Conservation practice. The research starts from the study of methods and procedures which are jointly carried out by the Phyathai Palace Conservation Project Committee and Dearborn Street Design International Co. Ltd., an architecture consulting company. The conservation procedure begins with collecting the information of all historic buildings in order to investigate their physical condition and researching into other historical evidences which are used for analyzing buildings’ values and their problems. After analyzing all the data, the objectives for conservation are chosen. Restoration is used on damaged buildings while renovation is used on mechanical works and other important architectural elements. During conservation, the consulting firm has made data and photo graphic recording of the process with a monthly report of construction process. After completion of conservation work, Phyathai Palace has become a place where community can learn about history and the public can use as a leisured space. The palace can also generate an amount of income to support the maintenance of its property in the future. The criteria for UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards for Cultural Heritage conservation practice are analyzed to be used as the framework for comparative study. There are eleven criteria that involves the whole conservation process including the preservation and interpretation of building values, technique and process of conservation, appropriate building usage, management and building maintenance. After comparing Phyathal Palace conservation project with UNESCO criteria, it can be concluded that Phyathai Palace conservation project is an exemplar of good conservation practice. Its conservation process can be apply to other un-renovated historic buildings within the palace compound as well as other historic buildings with similar problems in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19867 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1812 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1812 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nittaya_ph.pdf | 9.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.