Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19888
Title: | การพัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด |
Other Titles: | Development of a health learning center system for provincial hospitals |
Authors: | รัชนีวรรณ ตั้งภักดี |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง ชัยยงค์ พรหมวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected], [email protected] |
Subjects: | โรงพยาบาล -- บริการส่งเสริมสุขภาพ การเรียนรู้ -- สุขภาพ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับ โรงพยาบาลระดับจังหวัด มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด โดยสำรวจสภาพและปัญหาการดำเนินงานในปัจจุบันของศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด จำนวน 4 แห่ง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก 2)สร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด แล้วตรวจสอบต้นแบบระบบโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานเทคโนโลยีสื่อสารด้านสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 9 คน 3) ทดลองใช้ระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัดในโรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ (1) โรงพยาบาลตรัง (2) โรงพยาบาลมหาสารคาม และ (3)โรงพยาบาลอุทัยธานี โดยผู้วิจัยติดตามผลการใช้ต้นแบบระบบด้วยเทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและศึกษาผลการใช้ต้นแบบระบบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนคณะทำงานศูนย์การเรียนรู้สุขภาพของโรงพยาบาลทดลอง 4) รับรองและนำเสนอระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด ผู้วิจัยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มตัวแทนคณะทำงานศูนย์การเรียนรู้จากโรงพยาบาลระดับจังหวัด 5 แห่ง จำนวน19 คน ในการรับรองระบบแล้วจึงนำเสนอระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสังเกต ผลการวิจัยพบว่า ระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 4 ระบบหลัก และ 6 ระบบย่อย ดังนี้ 1. ระบบจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาความต้องการการพัฒนาศูนย์ฯ 2) จัดเตรียมความพร้อมในการพัฒนาศูนย์ฯ 3) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและ/หรือคณะทำงานศูนย์ฯ 4) จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์ฯ และ 5) ดำเนินงานตามแผนงานในโครงการพัฒนาศูนย์ฯ 2. ระบบวางแผนการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ศูนย์ฯ 2) เลือก/จัดลำดับการพัฒนาระบบย่อย 3) จัดทำโครงการ และแผนดำเนินงาน พัฒนาระบบย่อยของศูนย์ฯ 4) จัดประชุมชี้แจงแผนงานในโครงการพัฒนาศูนย์ฯแก่ คณะกรรมการบริหารและคณะทำงานศูนย์ฯของโรงพยาบาล 5) ปฏิบัติตามแผนดำเนินงานพัฒนาระบบย่อย ของศูนย์ฯ และ 6) พิจารณาปรับปรุงแผนดำเนินงานพัฒนาระบบงานย่อยของศูนย์ฯ 3. ระบบดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 6 ระบบย่อย ได้แก่ (1) ระบบพัฒนามุมความรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (มี 9 ขั้นตอน) (2) ระบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (มี11 ขั้นตอน) (3) ระบบสนับสนุนเครือข่ายการเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (มี10 ขั้นตอน) (4) ระบบจัดหาและผลิตสื่อสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (มี11 ขั้นตอน) (5) ระบบจัดเก็บข้อมูลความรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ(มี 9 ขั้นตอน) และ (6)ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานด้านสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ( มี 8 ขั้นตอน) 4. ระบบประเมินการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระบุงานและบุคคลที่จะประเมิน 2) กำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน 3) สร้างเกณฑ์การประเมิน 4) กำหนดวิธีการและสร้างเครื่องมือในการประเมิน 5) ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการและเกณฑ์การประเมินให้ผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน 6) ดำเนินการประเมิน และ 7) รายงานและทบทวนผลการประเมินร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน |
Other Abstract: | The purpose of this research is to develop a Health Learning Center System (HLCS) for provincial hospitals. The methodology of this study consisted of four steps: (1) studying the factors relating to the problems and states of existing HLCS in four selected provincial hospitals through in-depth interviews, (2) developing a HLCS prototype from obtained information and validating the prototype by nine experts in educational technology and information and communication technology using a focus group approach, (3) implementing the HLCS prototype in three provincial hospitals; namely Mahasarakam Hospital, Trang Hospital and Uthaithani Hospital. The participatory observation and in-depth interview were used to collect qualitative data during the evaluation and follow-up step of the HLCS implementation, and (4) certifying the HLCS using the focus group approach with 19 representatives from the Health Learning Centers staff in five provincial hospitals and proposing the final HLCS. Qualitative instruments included a reflection log, a semi-structure interview guide and an observation guide. The research findings revealed that the HLCS for provincial hospitals comprises four main systems with six sub-systems. Details of the main and sub-systems are as followings: 1. HLC Establishing System: including five steps; (1) determining and assessing needs and scope; (2) preparing requirements and resources; (3) establishing committees (administrative board and/or staff); (4) developing a project plan, and (5) executing approved projects. 2. HLC Planning System: including six steps: (1) developing a HLC strategic plan; (2) establishing the priority for sub-system adoption; (3) documenting sub-system project and action plan for administrative board approval; (4) setting up HLC committees meeting (advisory board and staff) to clarify and communicate responsibilities for project action plan; (5) implementing sub-systems action plan; and (6) monitoring the implementation of plans and if require making proper amendments. 3. HLC Operating System: including six sub-systems: (1) knowledge corner development sub-system (with nine steps), (2) health learning activity sub-system (with 11steps), (3) health education and behaviors network supporting sub-system (with 10 steps), (4) production and procurement of educational media sub-system (with 11steps), (5) health knowledge database sub-system (with nine steps), and (6) health information management sub-system (with eight steps). 4. HLC Evaluation System: including seven steps: (1) identifying target of the evaluation and evaluators; (2) defining objectives of the evaluation; (3) selecting criteria and indicator for evaluation; (4) determining data collection methods and construct instruments; (5) setting up the meeting to communicate methods and criteria to all stakeholders; (6) implementing the evaluation and gathering of data as planned, and (7) reporting findings and making recommendations for improvement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19888 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.672 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.672 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratchaneewan_ta.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.