Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19917
Title: | การใช้เยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสเอกพันธุ์ชนิดสดและชนิดเก็บถนอมเพื่อทดแทนกระเพาะปัสสาวะบางส่วนในสุนัข |
Other Titles: | The use of fresh and preserved tunica vaginalis allografts for partial substitution of urinary bladder in dogs |
Authors: | พรไพลิน ชลปราณี |
Advisors: | จุรี ปรมัตถ์วินัย มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Subjects: | กระเพาะปัสสาวะ -- ศัลยกรรม สุนัข |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาการใช้เยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสจากสุนัขต่างตัวชนิดสดและชนิดเก็บถนอมทดแทนผนังกระเพาะปัสสาวะบางส่วนในสุนัขทดลองเพศผู้ 8 ตัวและเพศเมีย 7 ตัว โดยแบ่งสุนัขเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ประกอบด้วยสุนัข 3 ตัวเป็นเพศผู้ 2 ตัวและเพศเมีย 1 ตัว เป็นกลุ่มที่ได้รับการตัดผนังกระเพาะปัสสาวะบริเวณปลายกระพุ้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตรออกแล้วเย็บกลับคืนที่เดิมก่อนคลุมด้วยเยื่อแขวนกระเพาะอาหาร กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยสุนัข 6 ตัวเป็นสุนัขเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 3 ตัว เป็นกลุ่มที่ได้รับการทดแทนผนังกระเพาะปัสสาวะที่ตัดออกด้วยเยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสชนิดสดที่มีขนาดเดียวกัน และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยสุนัข 6 ตัวเป็นสุนัขเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 3 ตัว เป็นกลุ่มที่ได้รับการทดแทนด้วยเยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสที่แช่ใน 0.1% peracetic acid เป็นเวลา 10 นาทีแล้วเก็บถนอมในน้ำเกลือที่อุณหภูมิ 4-8 o ซ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสที่เตรียมได้จากสุนัขตัวให้แต่ละตัวจะถูกแบ่งเป็นชนิดสดและชนิดเก็บถนอมเพื่อนำไปใช้กับสุนัขกลุ่ม 2 และ 3 ที่เป็นเพศเดียวกัน ประเมินผลจากลักษณะทางมหัพภาคและจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะ ในบริเวณที่ทดแทนที่ 2, 6 และ 10 สัปดาห์ ในสุนัขกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 จำนวน 1, 2 และ 2 ตัวตามลำดับ พบเยื่อบุ ชั้นใต้เยื่อบุ ชั้นกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผนังกระเพาะปัสสาวะเจริญเต็มบริเวณที่ทดแทนด้วยเยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสทั้งชนิดสดและชนิดเก็บถนอมภายใน 6 สัปดาห์ การวิเคราะห์อาการแทรกซ้อนจากการตรวจเนื้อเยื่อ ค่าทางโลหิตวิทยา ค่าเคมีในเลือด และการตรวจน้ำปัสสาวะหลังศัลยกรรมที่ 1, 2, 6 และ 10 สัปดาห์ พบกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังในสุนัขทุกตัวที่ได้รับเนื้อเยื่อทดแทนและการสร้างกระดูกในผนังกระเพาะปัสสาวะที่เจริญในส่วนทดแทนของสุนัขเพศผู้ 2 ตัวในกลุ่มที่ 2 ที่ได้รับเนื้อเยื่อชนิดสดและชนิดเก็บถนอมจากตัวให้เดียวกัน และสุนัขเพศผู้ 1 ตัวในกลุ่มที่ 3 โดยไม่พบการสร้างกระดูกดังกล่าวในสุนัขเพศเมีย จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าเยื่อ ทูนิกาวาจัยนาลิสสามารถทำหน้าที่เป็นโครงให้มีการเจริญของผนังกระเพาะปัสสาวะได้ อย่างไรก็ตามการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะปัสสาวะ และการสร้างกระดูกในผนังกระเพาะปัสสาวะ ในส่วนทดแทนเป็นอาการแทรกซ้อนที่สำคัญ |
Other Abstract: | The use of fresh and preserved tunica vaginalis allografts for partial substitution of urinary bladder wall were studied in 15 experimental mongrel dogs. The dogs were divided into group 1, 2 and 3 that had 3 (2 males and 1 female), 6 (3 males and 3 females) and 6 (3 males and 3 females) dogs, respectively. In group 1 (control group), the urinary bladder wall of each dog was excised approximately 3 centimeters in diameter at the apex and sutured back into its place before being covered with the omentum. The excised bladder wall of group 2 was substituted with the same size and shape of fresh tunica vaginalis while the excised wall of group 3 was substituted with the tunica vaginalis preserved in normal saline at 4-8 oC for 2 weeks after 10 minutes submerged in 0.1% peracetic acid. Tunica vaginalis harvested from each donor was divided into fresh and preserved grafts for being transplanted in dogs of the same gender in group 2 and 3. The substituted sites were assessed macroscopically and histopathologically at 2, 6 and 10 weeks after the operations in 1, 2 and 2 dogs of group 1, 2 and 3, respectively. The examination revealed transitional epithelial, submucosa, muscular and serosal layers regenerating within the substituted area by 6 weeks. Complications were evaluated from the macroscopic and histopathological examinations, hematology, blood chemistry, and urinalysis profiles at 1, 2, 6 and 10 weeks after surgery. Chronic cystitis was found in all dogs receiving allografts. Bone metaplasia in the substituted bladder wall was observed in 2 males of group 2 receiving grafts from the same donor and 1 male of group 3. There was no bone metaplasia seen in any female dog. In conclusion, tunica vaginalis could serve as a template for urinary bladder wall regeneration. However, chronic cystitis and bone metaplasia in the substituted wall were the important complications. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19917 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1316 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1316 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornpailin_Ch.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.