Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19947
Title: | การจำแนกพยาธิแส้ม้าของคนและสุนัขโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส |
Other Titles: | Polymerase chain reaction-based differentiation of human and dog whipworms |
Authors: | ปัณณทัต อารีกุล |
Advisors: | จตุรงค์ พุทธพรทิพย์ สมชาย จงวุฒิเวศย์ ประเสริฐ สิทธิเจริญชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] [email protected] |
Subjects: | พยาธิแส้ม้า -- การจำแนก ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส Trichuriasis -- Classification Polymerase chain reaction |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคพยาธิแส้ม้ามาโรคพยาธิแส้ม้าเป็นโรคติดเชื้อปรสิตที่สำคัญของคนซึ่งมีสาเหตุมาจากหนอนพยาธิ Trichuris trichiura พบรายงานการติดเชื้อประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรโลก มีความชุกของโรคสูงในเขตภูมิอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น นอกจากนี้ T. vulpis ซึ่งเป็นพยาธิแส้ม้าชนิดที่จำเพาะต่อสุนัข ได้มีรายงานพบการติดเชื้อในคนเช่นกัน ทั้งนี้เป็นผลจากการวินิจฉัยโดยความแตกต่างทางรูปร่างลักษณะของไข่พยาธิทั้งสองชนิดที่พบในอุจจาระผู้ป่วย อย่างไรก็ตามพบว่ามีไข่พยาธิแส้ม้าทั้งสองชนิดที่มีความใกล้เคียงหรือเหลื่อมล้ำกันในขนาดและรูปร่าง จนอาจนำไปสู่การวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของพยาธิแส้ม้าทั้งสองชนิดโดยการหาและเปรียบเทียบรูปแบบของลำดับนิวคลิโอไทด์ในยีนสำหรับไรโบโซมหน่วยย่อยขนาดเล็กเพื่อพัฒนาวิธีการปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสสำหรับวินิจฉัยพยาธิแส้ม้าทั้งสองชนิดจากไข่พยาธิที่พบในอุจจาระผู้ป่วยและนำวิธีการที่พัฒนาได้ไปศึกษาในกลุ่มประชากรในเขตชุมชนบ้านท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำการสุ่มเก็บอุจจาระนักเรียน 80 คน เป็นชาย 36 คน หญิง 44 คน อุจจาระสุนัขในชุมชน 59 ตัว และอุจจาระจากสุนัขจรจัดในเขตกรุงเทพฯ 20 ตัว ผลการศึกษาพบว่าความไวของการทดสอบประสิทธิภาพปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสเปรียบเทียบกับการดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ให้ผลบวก 44% เมื่อสกัดดีเอ็นเอโดยกระแทกไข่พยาธิด้วยเม็ดแก้ว ในขณะที่การบดไข่พยาธิให้แตกโดยตรงด้วยปลายปิเปตต์ให้ผลบวก 95.9% โดยสามารถให้ผลบวกจากไข่พยาธิแม้เพียงหนึ่งใบ และพบการติดเชื้อร่วมกันของ T. trichiura และ T. vulpis จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 56 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 10.7 แสดงให้เห็นถึงการติดเชื้อ T. vulpis ในคนซึ่งมีได้ไม่บ่อยในเขตชุมชนนี้ และที่สำคัญคือสามารถตรวจพบไข่ T. trichiura จากอุจจาระสุนัขในเขตพื้นที่เดียวกัน ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปได้ในการเป็นโฮสต์กักตุนของสุนัขและสามารถส่งผ่านสู่คนได้ ดังนั้นการติดโรคพยาธิแส้ม้า T. trichiura ของประชากรในชุมชนนี้จึงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากคนโดยตรงและสุนัข |
Other Abstract: | Trichuriasis is an important soil-transmitted helminth infection caused by Trichuris trichiura accounting for about one-tenth of the world population. Incidentally, T. vulpis or dog whipworm has been reported to infect humans based on the egg size. However, an overlapping egg dimension occurs between T. trichiura and T. vulpis leading to the potential for misdiagnosis. Herein, we determined and compared the small subunit ribosomal RNA sequences of both species of whipworms for developing species-specific PCR diagnosis. After validation of the method, we conducted a cross-sectional survey at Ta Song Yang District in Tak Province, northwestern Thailand in 2008. Stool samples were randomly recruited from 80 schoolchildren (36 males, 44 females) and 59 semi-domesticated dogs in this community and 20 strayed dogs in Bangkok. Results have shown that the sensitivity, comparing with microscopic examination of stool samples using formalin-ether sedimentation method, was 44% when DNA was extracted by the glass-bead beating method. However, the sensitivity reached 95.9% when DNA was extracted from individual eggs disrupted by directly pressing on them with pipette tips and single eggs could be detected by this method. Co-infections of T. trichiura and T. vulpis were found in 6 of 56 Trichuris-positive cases (10.7%), suggesting that human infection with T. vulpis was not uncommon in this region. Importantly, T. trichiura eggs were detected in dog stool samples from the same community, suggesting the potential reservoir role of dogs in the transmission of human whipworm. Therefore, human acquisition of T. trichiura infection in this community could involve both anthroponotic and zoonotic transmission cycles. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19947 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2179 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.2179 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pannatat_ar.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.