Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20014
Title: การประเมินประสิทธิภาพการใช้แสงสว่างในหอศิลป์ : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
Other Titles: Evaluation of lighting efficiency in art gallery : case study for Thai Contemporary Art Museum
Authors: วรากุล ตันทนะเทวินทร์
Advisors: พรรณชลัท สุริโยธิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
หอศิลป์ -- แสงสว่าง
การให้แสงทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง
Museum of Contemporary Art
Art museums -- Lighting
Lighting, Architectural and decorative
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการออกแบบแสงสว่างในหอศิลป์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแสงสว่างในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่างๆ อันเป็นอันตรายต่อชิ้นงาน ซึ่งประกอบด้วยประเภทของแสงที่นำมาใช้ในการจัดแสดง (Mode of lighting) การประสานแสงสว่างกับสถาปัตยกรรม (Architectural integration) การให้แสงสว่างในหอศิลป์ (Gallery lighting) การใช้พลังงานของแหล่งกำเนิดแสง (Lighting power density) และความร้อน (Heat) เป็นต้น อีกทั้งอ้างอิงกับมาตรฐานและข้อกำหนดในการออกแบบระบบแสงสว่างจากหน่วยงานนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ Illuminating Engineering Society of North America (IESNA) และ Chartered Institution of Building Services Engineers (CIBSE) โดยการจำลองสถานการณ์ของแสงสว่างในหอศิลป์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ DIALux4.8 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแสงสว่างตามแบบที่ผู้ออกแบบแสงสว่างกำหนด การประเมินประสิทธิภาพของแสงสว่างในการศึกษาวิจัยนี้ มุ่งเน้นปัจจัยที่สำคัญในการส่องสว่างซึ่งประกอบด้วย ปริมาณค่าความส่องสว่าง (Illuminance) ที่เหมาะสมตามประเภทวัสดุชิ้นงานที่แสงสว่างส่งผลกระทบสูง ปานกลาง และต่ำ คือ 50 lux, 200 lux และไม่ระบุค่า ตามลำดับ ปริมาณค่าความส่องสว่างสะสมที่ชิ้นงาน (Accumulated illuminance level) คือ 50,000-150,000 lux-hr/year, 480,000-600,000 l lux-hr/year และไม่ระบุค่า ตามลำดับ ค่าความเปรียบต่างระหว่างชิ้นงานและพื้นภาพ (Contrast) ที่ทำให้มองเห็นความต่างระหว่างชิ้นงานและพื้นภาพอย่างน้อย 2 : 1 ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของพื้นผิววัสดุ (Reflectance) ที่ทำให้ห้องค่อนข้างสว่าง มีอัตราส่วนระหว่างฝ้าเพดาน : ผนัง : พื้น คือ 0.7 : 0.5 : 0.3 ความเหมาะสมสำหรับการให้แสงสว่างทั่วไป (Ambient lighting) แสงเงา (Shade and shadow) ชนิดชิ้นงานจัดแสดง (Type of object) กำลังไฟฟ้าเพื่อการส่องสว่าง (Lighting power density) ที่กำหนดตาม พ.ร.บ. อนุรักษ์พลังงานปี 2535 สำหรับอาคารชุมนุมคน คือ 18 watt/sq.m. รวมถึงมาตรฐานและข้อกำหนดของ ASHRAE ที่กำหนดสำหรับการจัดแสดง คือ 11 watt/sq.m. และความปลอดภัย (Safety) พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยที่เป็นอาคารกรณีศึกษานั้น มีศักยภาพเป็นหอศิลป์ชั้นนำที่มีรูปแบบการจัดแสดง และแนวความคิดในการจัดแสดงเฉพาะที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ การศึกษาห้องจัดแสดงจำนวน 4 ห้อง ได้แก่ โถงประติมากรรม อ.ศิลป์ พีระศรี ห้องจัดเเสดงชั้น 3 ห้องเเสดงงานภาพเขียนชิ้นเด่นของ อ.ถวัลย์ ดัชนี และห้องวิคตอเรียน ซึ่งห้องจัดแสดงทั้งหมดมีรายละเอียดการให้แสงสว่าง องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และชิ้นงานจัดแสดงที่แตกต่างกัน จากการจำลองสถานการณ์ของแสงสว่างในหอศิลป์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ DIALux4.8 นั้น ทำให้ทราบค่าปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่กล่าวในข้างต้น ซึ่งพบลักษณะแสงสว่างภายใน และพบข้อบกพร่องด้านแสงสว่างในห้องจัดแสดงทั้ง 4 ห้อง จึงได้เสนอแนวทางเลือกในการปรับปรุงข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ เช่น การปรับหรี่แสงของหลอดไฟตามความเหมาะสมกับการจัดแสดง การเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุช่องแสงด้วยการติดฟิล์มกรองแสง และการปรับปรุงช่องแสงให้แสงธรรมชาติเข้ามาในลักษณะแสงสะท้อน ในลักษณะที่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งทำให้ปริมาณค่าความส่องสว่าง ปริมาณค่าความส่องสว่างสะสมที่ชิ้นงาน ค่าความเปรียบต่างระหว่างชิ้นงานและพื้นภาพ ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของพื้นผิววัสดุ ความเหมาะสมสำหรับการให้แสงสว่างทั่วไป แสงเงาและกำลังไฟฟ้าเพื่อการส่องสว่างมีค่าเหมาะสมตามที่เกณฑ์กำหนดดังที่กล่าวในข้างต้น อีกทั้งจำลองแนวทางในการปรับปรุงข้อบกพร่องเปรียบเทียบกับ แบบติดตั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพการส่องสว่างที่เพิ่มขึ้นด้วย
Other Abstract: To study the lighting design of art galleries in order to evaluate its efficiency both quantitatively and qualitatively. This study examined the factors which may negatively affect the exhibits, such as modes of lighting, gallery lighting, architectural integration, lighting power density, and heat. These lighting design criteria were based on the international standards and practices of Illuminating Engineering Society of North America (IESNA) and Chartered Institution of Building Service Engineers (CIBSE). DIALux4.8 program was employed to artificially recreate the lighting conditions in an art gallery according to the specifications of the lighting designer. The lighting efficiency then was evaluated in terms of accumulated luminance levels, contrast value between object and background, reflectance value of surfaces, general ambient lighting, shade and shadow, types of objects, lighting power density, and safety. In terms of degrees of luminance, the design was evaluated as to whether it reflected appropriate lighting onto the object on display. The contrast value between object and background was expected at the ratio of 2:1 while the reflectance value was anticipated at 0.7:0.5:0.3 (ceiling: wall: floor) ratio. As for power density, the lighting conditions in the art gallery was evaluated as to whether it conformed to the 1992 Energy Conservation Act which specified the power density of 18 watts per square meter for buildings in populated areas and whether it observed the ASHRAE’s regulations of 11 watts per square meter for exhibitions. The Thai Contemporary Art Museum was selected as the case study in this research because of its variety of lighting designs and interesting lighting concepts. Four exhibition halls which contained different architectural elements, lighting details, and displays were examined. These were Silpa Bhirasri sculpture hall, third floor exhibition room, Thawan Duchanee masterpiece display, and Victorian room. The simulation of lighting conditions of the four exhibition halls in DIALux4.8 revealed the characteristics of current internal lighting and its flaws. The researcher recommended some options for correcting these flaws such as dimming the lights to suit the specific display, installing tinting films, and creating an opening for natural light. These recommendations will bring about lighting conditions which are appropriate for an art gallery, as standardized by IESNA and CIBSE mentioned above. Through the simulation program, this study also compared the efficiency of lighting conditions based on the researcher’s recommendations with those of the original design.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20014
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1867
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1867
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
warakul_ta.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.